โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

นายกฯ ย้ำจำเป็นออก พ.ร.ก.กู้เงิน ช่วยเยียวยา-ฟื้นฟู ผลกระทบ COVID-19

Thai PBS

อัพเดต 27 พ.ค. 2563 เวลา 05.10 น. • เผยแพร่ 27 พ.ค. 2563 เวลา 05.09 น. • Thai PBS
นายกฯ  ย้ำจำเป็นออก พ.ร.ก.กู้เงิน ช่วยเยียวยา-ฟื้นฟู ผลกระทบ COVID-19

วันนี้ (27 พ.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1) เพื่อพิจารณากฎหมายว่าด้วยการเงิน 4 ฉบับ รวมวงเงิน 1.98 ล้านล้านบาท กำหนดประชุมตั้งแต่ 27-31 พ.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท) พร้อมอธิบายถึงความจำเป็นเร่งด่วน ดังนี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในการแก้ไขวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รัฐบาลพยายามทำในทุกวิถีทางในการบริการจัดการแหล่งเงินภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ความจำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถทำตามวิธีการตามปกติได้ เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจึงตรา พ.ร.ก.ให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินจำนวน 1 ล้านล้านบาท ยืนยันคำนึงกรอบวินัยการเงินการคลัง โดยให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท

2.ดำเนินการตามแผนงาน 4 ด้านคือ 2.1ใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ในแผนงานทางการแพทย์ วงเงิน 45,000 ล้านบาท 2.2แผนงานช่วยเหลือเยียวยาประชาชน เกษตรกรวงเงิน 555,000 ล้านบาท 2.3แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาท กรณีจำเป็นอาจปรับกรอบวงเงินได้ 3.กำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ และ 4.ดำเนินการตามระเบียบ และ พ.ร.ก.กู้เงิน และ 5.ให้กระทรวงการคลัง รายงานผลการกู้เงินภายใน 90 วัน เพื่อให้สภาฯรับทราบ

ขณะที่มาตรการเยียวยาผลกระทบต่อ COVID-19 ใน 3 ระยะ 1.เน้นการลดภาระหนี้และบรรเทาผลกระทบให้ประชาชน 2.ชะลอการจ่ายภาษีสำหรับบุคคลทั่วไปและนิติบุคคล ระยะที่ 3.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และ ตราพ.ร.ก. 3 ฉบับ ครอบคลุม 4 มิติคือ มิติด้านการสาธารณสุข วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท 2.มิติด้านสภาพคล่อง เพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ วงเงิน 5.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.Soft Loan 3. มิติด้านการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เช่น ตรา พ.ร.ก. BSF และ 4.มิติด้านการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการตรา พ.ร.ก.กู้เงิน (เพื่อฟื้นฟู)และรองรับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การกู้เงินวงเงิน 1 ล้านล้านบาทจะไม่กระทบกับภาระหนี้สาธารณะและจะเน้นการกู้เงินจากสถาบันภายในประเทศเป็นหลัก ขณะที่การชำระหนี้จะยังอยู่ในสถานการณ์ที่รัฐบาลดูแลได้ และให้ความสำคัญกับกระบวนการกลั่นกรองโดยคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์เท่านั้น

พล.อ.ประยุทธ์ ยังระบุว่า การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข การช่วยเหลือเยีววยาวประชาชนกุล่มต่าง ๆ และฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 เป็นกรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นเหตุผลในการออก พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับ ดังนี้

1) พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท)

2) พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563

3) พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 โดยมีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนรวมขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0