โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

นายกฯ ประกาศเร่งปลดล็อคอุปสรรคหนุน "สตาร์ตอัพไทย" รักษาอธิปไตยเศรษฐกิจประเทศ

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 09 ต.ค. 2562 เวลา 14.00 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 13.59 น.
26556

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 – 17.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมประชุม กับ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  และนายณัฐพล    นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และผู้แทนภาคเอกชน เกี่ยวกับ “แนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่ ASEAN Digital Hub” และมอบนโยบายให้กับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมรับฟังความเห็นจากกว่า 100 สตาร์ตอัพ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า สิ่งสำคัญของการพัฒนาประเทศในขณะนี้คือ ส่งเสริมสตาร์ตอัพ และผู้ประกอบการ SME ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ  โดยสตาร์ตอัพคือ อนาคตของประเทศ เพราะทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะให้ผู้ใหญ่มานั่งคิดเปลี่ยนแปลงก็จะไม่ทัน ก็หวังว่า คนรุ่นใหม่จะคิดใหม่คิดได้เร็ว แต่ก็ขอให้คนรุ่นใหม่ร่วมกันศึกษานโยบายรัฐบาล และหาแนวทางเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้วย อาทิ  โครงการ EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่จะรองรับการเติบโตของประเทศต่อไปในอนาคต

พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรียังได้รับฟังข้อเสนอจากสตาร์ตอัพ เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคที่ขัดขวางการเติบโต และแนวคิดในการส่งเสริมภาคธุรกิจต่างๆ  โดยสตาร์ตอัพต้องการให้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรค อาทิ  การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องของการซื้อขายหุ้นของบริษัท  การให้หุ้นของบริษัทกับพนักงาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องการให้สตาร์ตอัพที่เข้าร่วมลงทุนไปจดทะเบียนบริษัทที่สิงคโปร์ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม

โดยนายกรัฐมนตรีระบุว่า ปัญหาเรื่องกฎหมายสามารถแก้ไขได้ แต่จะต้องเป็นไปตามขั้นตอน และยืนยันว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับสตาร์ตอัพ เพราะคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่มีศักยภาพ  ส่วนกลุ่มสตาร์ตอัพจากต่างชาติ รัฐบาลจะไม่ให้เกิดการใช้ช่องว่างทางกฎหมายของไทยเพื่อเอาเปรียบผู้ประกอบการไทย อาทิ การเลี่ยงภาษี เพื่อรักษาอธิปไตยด้านเศรษฐกิจของชาติ

“ขอให้เชื่อลุงบ้าง เชื่อไม่หมดก็ไม่เป็นไร บางครั้งอาจจะพูดเยอะ เพราะต้องการให้เข้าใจตรงกัน บางคนก็หาว่าพูดโดยไม่รู้เรื่อง จะไม่รู้เรื่องได้อย่างไร บริหารมา 5 ปีแล้ว ถึงจะบอกว่าธุรกิจไม่ดี แต่ก็ไม่ได้เลวจนมากมาย ไม่ใช่หรือ แล้ววันนี้ดัชนีการค้าเยอะหรือไม่ การค้าส่งออก เขาหาตลาดกันอยู่แล้ว และหามากขึ้นกว่าเดิมด้วย แต่ปัญหาเราคือต้นทุนสูงก็แข่งขันกับเขาไม่ได้ หลายอย่างมีปัญหาลึกซึ้ง สังคมเราต้องปรับเปลี่ยนในทางที่ดีให้ได้ แบบ Stronger Together ต้องไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0