โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธุรกิจทีวีดิจิทัลยังเป็นเสือลำบาก คาด4ช่องคืนใบอนุญาต

Money2Know

เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 04.57 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ธุรกิจทีวีดิจิทัลยังเป็นเสือลำบาก คาด4ช่องคืนใบอนุญาต

อีไอซี ประเมินว่าหลังกสทช. มีมติเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง700MHz จะมีผู้ประกอบการคืนใบอนุญาต 4 ราย ขณะที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่อยู่ในอุตสาหกรรมยังคงเผชิญกับความผันผวนจากเศรษฐกิจและกฎเกณฑ์ คาดในระยะข้างหน้าทีวีดิจิทัลหันมาบริการแบบ Omni-channel และขายลิขสิทธิ์เพื่อความอยู่รอดมากขึ้น

ทีวีดิจิทัล
ทีวีดิจิทัล

อีไอซีประเมินว่าอัตรากำไรของธุรกิจทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มลดต่ำลง

บทวิเคราะห์ “ทิศทางทีวีดิจิทัลจะเป็นอย่างไรหลังกสทช. เปิดโอกาสคืนใบอนุญาต?” ของอีไอซี มองว่าอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลกำลังเผชิญกับแรงกดดันทางด้านรายได้และต้นทุนส่งผลให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานของผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะลดลงต่อเนื่องในปัจจุบันอุตสาหกรรมโทรทัศน์มีการออกอากาศในระบบดิจิทัลจำนวนทั้งหมด22 ช่องโดยแบ่งเป็น4 หมวดได้แก่ 1.เด็กและครอบครัว 2.ข่าว 3.Standard Definition (SD) และ 4.High Definition (HD)

โดยช่องทีวีดิจิทัลมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณาอย่างไรก็ตามภาพรวมตลาดทีวีดิจิทัลในช่วง5 ปีที่ผ่านมายังอยู่ในสภาวะไม่ดีนักสะท้อนได้จากรายได้รวมมีการหดตัวลงจาก 1.24 แสนล้านบาทในปี2014 มาอยู่ที่ 1.19 แสนล้านบาทในปี2018 (-6%CAGR)

โดยมีสาเหตุจากเศรษฐกิจที่ผันผวนและการชะลอตัวของกำลังซื้อประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการมีช่องโทรทัศน์ทางเลือกและสื่อออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ทำให้บริษัทและเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆปรับลดงบโฆษณาในช่องทางทีวีลงตามไปด้วยขณะที่ในระยะกลาง(2019-2021)

อีไอซีประเมินว่าอัตรากำไรของธุรกิจทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มลดต่ำลงถึงแม้ว่ารายได้โฆษณาของธุรกิจทีวีดิจิทัลจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น5% CAGR จากการฟื้นตัวสภาพเศรษฐกิจแต่การแข่งขันระหว่างช่องทีวีและสื่อออนไลน์ที่รุนแรงผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลจึงต้องมีเนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ชมซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้นและส่งผลให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานปรับตัวลงเล็กน้อยจากราว10% ในปี2019 เป็น8.8% ในปี2021

ทีวีดิจิทัล
ทีวีดิจิทัล

กสทช. มีมติเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง700MHz

ขณะที่กสทช. มีมติเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง700MHz ที่ใช้ในกิจการทีวีเพื่อนำไปพัฒนา5G (ในเดือนมกราคม2019) โดยมีข้อเสนอให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล2 ทางเลือก ได้แก่

1) ผู้ประกอบการสามารถย้ายไปดำเนินการที่ช่วงคลื่นที่กำหนด หรือ
2) ผู้ประกอบการสามารถคืนใบอนุญาตและยุติการดำเนินการนอกจากด้านการใช้คลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัลแล้วคลื่นความถี่ยังถูกนำไปใช้ในการส่งสัญญาณโทรคมนาคมซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก4G สู่5G

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) จึงมีมติเรียกคืนช่วงคลื่น700MHz ที่ถือเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนา5G โดยเป็นการเรียกคืนช่วงคลื่นก่อนใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลหมดอายุในปี2029 (ในอีก10 ปีข้างหน้า) และกำหนดให้ใช้ช่วงคลื่น470-510MHz สำหรับกิจการทีวีดิจิทัล

ทั้งนี้ การย้ายช่วงคลื่น700MHz ของกิจการทีวีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี5G เป็นแนวทางเดียวกันกับต่างประเทศเช่นสเปนเบลเยียมอังกฤษมาเลเซียเป็นต้นโดยกสทช. ได้ยื่นข้อเสนอให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล 2 ทางเลือกได้แก่

1) ผู้ประกอบการย้ายไปดำเนินการที่ช่วงคลื่น470-510MHz และจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดสุดท้ายของราคาประมูลขั้นต่ำและ2 งวดสุดท้ายของราคาที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำค่าใช้จ่ายในการเช่าบริการโครงข่ายทีวีระบบดิจิทัล(MUX) ตลอดระยะเวลาใบอนุญาตที่เหลืออยู่ค่าใช้จ่ายในการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดจากการเรียกคืนคลื่นความถี่

หรือ 2) ผู้ประกอบการสามารถยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงขอคืนใบอนุญาตการประกอบกิจการทีวีดิจิทัลเพื่อยุติการดำเนินธุรกิจโดยได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เหลือเช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่ย้ายไปดำเนินการที่ช่วงคลื่น470-510MHZ รวมถึงค่าชดเชยที่คาดว่าจะได้รับตามกรอบการพิจารณาของกสทช.

ทีวีดิจิทัล
ทีวีดิจิทัล

4 ช่องทีวีที่มีแนวโน้มในการคืนใบอนุญาต

จากปัจจัยข้างต้นอีไอซีประเมินว่ามี 4 ช่องทีวีที่มีแนวโน้มในการคืนใบอนุญาต 3 ช่องอยู่ในหมวดข่าวและอีก 1 ช่องอยู่ในหมวดเด็กและครอบครัว โดยพบว่าปัจจัยที่สำคัญในการคืนใบอนุญาตนั้นมาจากรูปแบบและการนำเสนอรายการที่ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่จึงส่งผลให้เรตติ้งต่ำกว่าช่องอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ซึ่งสะท้อนถึงรายได้และอัตรากำไรจากการดำเนินงานที่ลดลงต่อเนื่องนอกจากนี้สำหรับผู้เล่นบางรายที่ถือใบอนุญาตมากกว่า1 ใบการคืนใบอนุญาตบางส่วนอาจส่งผลบวกมากกว่าผู้เล่นรายอื่นทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง พร้อมทั้งการได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมของใบอนุญาตที่เหลือส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรในอนาคตเพิ่มขึ้น

การคืนใบอนุญาตจะไม่ส่งผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรมและผู้บริโภคมากนักโดยรายได้จากการโฆษณาของทั้ง4 ช่องที่คืนใบอนุญาตคิดเป็นเพียง2% ของมูลค่าโฆษณาทีวีทั้งหมดคาดว่าจะตกอยู่ที่ช่องที่เหลือและสื่อออนไลน์ส่วนผู้บริโภคยังมีทางเลือกอื่นทดแทนช่องที่ปิดตัวกระบวนการคืนใบอนุญาต

จะเกิดขึ้นในช่วงกุมภาพันธ์2020 ถึงธันวาคม2020 ดังนั้นผลกระทบของการคืนใบอนุญาตจะเริ่มเกิดขึ้นในปี2021 โดยอีไอซีประเมินว่ารายได้จากการโฆษณาของทั้ง4 ช่องทีวีดิจิทัลที่มีแนวโน้มคืนใบอนุญาตจะอยู่ที่ราว 1.2 พันล้านบาทหรือเพียง 2% ของมูลค่าโฆษณารวมในตลาดทีวีดิจิทัล

ดังนั้นการคืนใบอนุญาตจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรทัศน์มากนัก ขณะที่อานิสงค์ของรายได้จากการโฆษณาส่วนนี้จะไปตกอยู่ที่ช่องที่เหลือและสื่อออนไลน์โดยเฉพาะช่องที่มีผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของเดียวกับรายที่คืนใบอนุญาต(กรณีที่ผู้ประกอบการ1 รายมีช่องทีวีดิจิทัลมากกว่า1 ช่อง) และช่องที่มีเนื้อหาและกลุ่มคนดูใกล้เคียงกันรวมถึงการให้บริการสื่อวิดีโอหรือโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือOver-the-Top platform (OTT) ยังคงมีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของผู้บริโภคการคืนใบอนุญาตและยุติการดำเนินการจะไม่ส่งผลกระทบมากนักเนื่องจากความนิยมของช่องที่มีแนวโน้มคืนใบอนุญาตอยู่ในระดับที่ไม่สูงอย่างไรก็ตามการมีจำนวนช่องหมวดข่าวและหมวดเด็กและครอบครัวลดลงอาจมีนัยต่อความหลากหลายของการรับชมสื่อทำให้ต้องติดตามทิศทางในอนาคตของสื่อต่อไป

ความท้าทายของทีวีดิจิทัลในอนาคต

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ยังอยู่ในอุตสาหกรรมคงต้องเผชิญกับความท้าทาย 3 ประการหลัก ได้แก่ ความผันผวนทางเศรษฐกิจนโยบายกฎระเบียบและการควบคุมของกสทช. และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

จากการศึกษาของอีไอซีพบว่า 1) สภาพเศรษฐกิจมีค่าสหสัมพันธ์(correlation) กับงบโฆษณาสูงถึง70% โดยหากเศรษฐกิจมีการชะลอตัวจะทำให้บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ปรับงบประมาณด้านโฆษณาลดลงทำให้รายได้จากการโฆษณาของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลน้อยลงตามไปด้วย 

2) การเปลี่ยนแปลงหรือออกนโยบายหรือกฎระเบียบใหม่โดยกสทช. ส่งผลโดยตรงต่อรายได้และกำไรของผู้ประกอบการเช่น  การลดจำนวนนาทีโฆษณาให้น้อยกว่า12 นาทีต่อชั่วโมงในช่วงไพร์มไทม์และกำหนดให้มีการโฆษณาเฉลี่ยไม่เกิน10 นาทีต่อชั่วโมงต่อวันส่งผลให้รายได้ของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มลดลง

และ3) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคการมีช่องทางการรับชมสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มขึ้นส่งผลให้พฤติกรรมการรับชมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากสาเหตุเหล่านี้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลจึงต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวให้ทันต่อสภาวะการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ในระยะข้างหน้า Omni-channel การขายลิขสิทธิ์รายการทีวีและHome Shopping ถือเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างรายได้และเพิ่มความสามารถการแข่งขันของช่องทีวีดิจิทัลในปัจจุบันอีไอซีได้เห็นเทรนด์เหล่านี้ของผู้ประกอบการบางรายแล้ว 

โดยนอกจากความสำคัญของ Content ที่ต้องมีคุณภาพและตรงต่อกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายการศึกษาของMcKinsey and EY ยังพบว่า Omni-channel หรือการเชื่อมโยงช่องทางต่างๆทั้งออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันแบบSeamless จะเป็นการสร้าง Ecosystem ของธุรกิจสื่อทั้งหมดและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เพิ่มขึ้น

เช่น อมรินทร์ทีวี ที่ผสานกลยุทธ์กับอีก4 ช่องทางในมือ ได้แก่สื่อออนไลน์สิ่งพิมพ์อีเวนต์และกิจกรรมให้กับแบรนด์สินค้าต่างๆเพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและนำเสนอขายแพ็คเกจโฆษณาผ่าน5 ช่องทางดังกล่าวในด้านการขายลิขสิทธิ์รายการทีวีBEC ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับJKN ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายContent ร่วม70 เรื่องในต่างประเทศเช่นตลาดตะวันออกกลางลาตินอเมริกาทำให้รายได้จากการขายลิขสิทธิ์รายการทีวีของBEC ในปี2018 เพิ่มขึ้น300%YOY

ขณะที่ RS ได้ปรับกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นธุรกิจ “สุขภาพ-ความงาม” มากขึ้น โดยใช้ช่อง8 และสื่ออื่นในมือโฆษณาสินค้าที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตนผ่านรายการHome shopping “Shop1781” ซึ่งสร้างรายได้ให้กับRS ถึง2.1 พันล้านบาทในปี2018 หรือราว60% ของรายได้ทั้งหมดทั้งนี้เทรนด์การสร้างรายได้ทั้ง3 รูปแบบจะเป็นช่องทางใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและต่อยอดในการทำธุรกิจในระยะข้างหน้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0