โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ธปท. มั่นใจ ค่าธรรมเนียมบัตรชิปการ์ดไม่แพง ชี้หลัง 15 มกราคมปีหน้า บัตรเอทีเอ็มแถบแม่เหล็กใช้ไม่ได้

THE STANDARD

อัพเดต 17 ก.ย 2562 เวลา 09.45 น. • เผยแพร่ 17 ก.ย 2562 เวลา 09.45 น. • thestandard.co
ธปท. มั่นใจ ค่าธรรมเนียมบัตรชิปการ์ดไม่แพง ชี้หลัง 15 มกราคมปีหน้า บัตรเอทีเอ็มแถบแม่เหล็กใช้ไม่ได้
ธปท. มั่นใจ ค่าธรรมเนียมบัตรชิปการ์ดไม่แพง ชี้หลัง 15 มกราคมปีหน้า บัตรเอทีเอ็มแถบแม่เหล็กใช้ไม่ได้

ในยุคดิจิทัล การโอนเงิน-ถอนเงินผ่าน Mobile Banking ใช้ง่ายขึ้น แต่ยังไม่ได้ง่ายสำหรับทุกกลุ่ม ปัจจุบันจึงมีคนที่ใช้บัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มกว่า 62 ล้านใบ

 

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศว่าหลังวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กจะใช้กับตู้เอทีเอ็มและเครื่อง EDC (เครื่องรูดบัตร) ไม่ได้แล้ว  

 

ธนาคารแห่งประเทศไทยปักธง 16 มกราคม 2563 คนไทยใช้บัตรชิปการ์ด

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ​ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ​ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศว่าหลังจากวันที่ 15 มกราคม 2563 บัตรแบบแถบแม่เหล็กจะใช้ถอนเงิน โอนเงิน จ่ายบิลกับตู้เอทีเอ็มและเครื่อง EDC ไม่ได้แล้ว แม้ว่าตัวบัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มแบบแถบแม่เหล็กจะยังไม่หมดอายุก็ใช้ไม่ได้แล้ว โดยต้องเปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ด

 

ทั้งนี้การเปลี่ยนบัตรเป็นชิปการ์ดเพื่อแก้ปัญหาการใช้บัตรแบบแถบแม่เหล็กที่เกิดกรณี Skimming หรือการคัดลอกข้อมูลมาทำบัตรปลอมได้ง่ายกว่าการใช้บัตรชิปการ์ด

 

 

 

ปัจจุบันในประเทศไทยมีบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มรวม 62 ล้านใบ โดยมีบัตร 47 ล้านใบที่เปลี่ยนเป็นแบบชิปการ์ดแล้ว (ส่วนใหญ่จะปรับเป็นบัตรเดบิตโดยอัตโนมัติ) ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ผลักดันให้ประชาชนเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดอย่างต่อเนื่อง

 

ดังนั้นก่อนสิ้นปี 2562 ประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนบัตรปัจจุบันแบบแถบแม่เหล็กเป็นชิปการ์ดจะไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีเพิ่มเติม

 

“ตอนนี้เราทำกระบวนการให้ง่ายแล้ว โดยประชาชนสามารถเปลี่ยนบัตรแบบแถบแม่เหล็กที่สาขาใดก็ได้ พกบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดิม และสมุดบัญชี ไปเปลี่ยนที่สาขาธนาคารได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมเท่าเดิม ภายในสิ้นปี 2562”

 

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ​ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ​ธนาคารแห่งประเทศไทย 

 

ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิตในปัจจุบันแพงเกินไปไหม 

จากปัญหาการพ่วงขายบริการอื่นๆ ในบัตรเดบิตและเอทีเอ็ม ทำให้ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรสูงขึ้น สิริธิดากล่าวว่าปัจจุบันค่าธรรมเนียมการออกและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิตสะท้อนต้นทุนที่เหมาะสมแล้วและเป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กำหนดเกณฑ์ค่าธรรมเนียม นอกจากนี้บริการเพิ่มเติมบนบัตรเป็นส่วนที่ลูกค้าสามารถเลือกใช้หรือไม่ใช้บริการก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

 

ปัจจุบันบัตรแบบแถบแม่เหล็กในไทยมีอยู่ราว 20 ล้านใบ แบ่งเป็นกรุงเทพ 30% และต่างจังหวัดอีก 70% ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหรือ ซึ่งจะประสานงานกับธนาคารต่างๆ ให้ประชาชนเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดที่ใช้ได้ ตอนนี้ตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศทั้ง 67,000 ตู้สามารถรับชิปการ์ดได้แล้ว 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0