โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดผลศึกษา “ความเหลื่อมล้ำ” ของไทย จน-รวย ห่างกัน 10.3 เท่า

ไทยรัฐออนไลน์ - Economics

อัพเดต 11 ธ.ค. 2562 เวลา 01.14 น. • เผยแพร่ 11 ธ.ค. 2562 เวลา 01.20 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ธปท.เปิดผลการศึกษา “ความเหลื่อมล้ำ” ประเทศไทย 10 ปีที่ผ่านมา ความเหลื่อมล้ำโดยรวมดีขึ้น แต่ยังสูงเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน คนจนสุด มีรายได้ต่ำกว่าคนรวยสุด 10.3 เท่า ขณะที่ความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ยังสูงมาก และมีโอกาสสูงขึ้นจากเศรษฐกิจที่โตกระจุกใน กทม.และปริมณฑล
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำรายงานเรื่อง “ความเหลื่อมล้ำประเทศไทย ทำไมไม่เท่าเทียม” ซึ่งเป็นงานศึกษาด้านโครงสร้างเศรษฐกิจไทย (Thematic studies) โดยสายนโยบายการเงิน พบว่า ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยมีหลายมิติ และเป็นหนึ่งในความท้าทายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย ทั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 งานศึกษา งานแรก คือภาพความเหลื่อมล้ำของไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพบว่า แม้ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้จะดีขึ้นเล็กน้อยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในระดับสูง และมีหลายมิติ เช่น ทรัพย์สินเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งความเหลื่อมล้ำด้านการสร้างรายได้ ด้านโอกาส ด้านคุณภาพชีวิต ยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นกัน
ในรายงานของ World Economic Forum ปี 61 ชี้ว่าระดับ ความไม่เสมอภาคของไทยสูงเป็นอันดับที่ 25 จาก 107 ประเทศทั่วโลก สูงกว่าเวียดนาม ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 29 สิงคโปร์ อันดับที่ 36 อาร์เจนตินา อันดับที่ 45 ญี่ปุ่น อันดับที่ 87 อีกทั้งความแตกต่างของรายได้เฉลี่ยระหว่างกลุ่มประชากรหัวแถว 20% ที่มีรายได้สูงที่สุด และประชากรท้ายแถว 20% มีรายได้ต่ำสูงแตกต่างกันถึง 10.3 เท่าในปี 58 และหากพิจารณาในมิติของจำนวนคนจนพบว่า มากกว่า 50% ของคนจนทั้งประเทศอยู่ในภาคเกษตร ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นมากนัก

งานศึกษาที่ 2 ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้เชิงพื้นที่ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ปี 61 พบว่า ในหลายภูมิภาคมีรายได้ต่อหัวที่ต่ำกว่ากรุงเทพฯมาก โดยเฉพาะภาคอีสานที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าถึง 9 เท่า และระยะยาวจะส่งผลต่อความเข้มแข็งในการเติบโตทางเศรษฐกิจเนื่องจากเชื่อมโยงถึงงบประมาณ โครงสร้างการบริหารราชการ การเมือง ที่น่าเป็นห่วงคือ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างกระจุกตัวในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นหลักทำให้โอกาสสร้างรายได้ในภูมิภาคอื่นยิ่งเหลื่อมล้ำสูงขึ้น เป็นต้น งานศึกษาที่ 3 ด้านรายได้ในมิติอาชีพ ภายใต้แนวคิดที่ว่า ถ้ารัฐบาลมีงบจำกัดแล้ว กลุ่มอาชีพที่ควรได้รับความสนใจเป็นอันดับแรกคือ ครัวเรือนเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ 16,000 บาทต่อเดือน แต่ความเป็นจริง 60% มีรายได้สุทธิต่อเดือนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอาชีพ.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0