โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"ธนาคารจะส่งข้อมูลการเงินเรา" ให้กรมสรรพากรตรวจจริงดิ?

aomMONEY

อัพเดต 18 เม.ย. 2562 เวลา 14.06 น. • เผยแพร่ 22 มี.ค. 2562 เวลา 07.05 น. • ภาษีง่ายพร่องส์
“ธนาคารจะส่งข้อมูลการเงินเรา” ให้กรมสรรพากรตรวจจริงดิ?

ถ้าขี้เกียจอ่านกดดูคลิปด้านบนได้เลยครับ…
สำหรับวันนี้เป็นเรื่องยอดฮิตอย่าง ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีเราให้กับสรรพากร จนหลายคนเข้าใจผิดลามไปถึงเรื่องการขายของออนไลน์ กระจายบัญชีกันไปหมดครับผม แต่ความจริงแล้วต้องดูให้ชัดก่อนว่าหลักการของร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นแบบไหนยังไง
เริ่มจากความเข้าใจแบบนี้ครับผม…

1. ธนาคารจะต้องส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร "จริง" 
2. แต่การส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรนั้น ต้องเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

🏧 มียอดรับโอน ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
🏧 มียอดรับโอน ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีและยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป

จำนวนยอดรับโอนหมายถึง ยอดเงินเข้าบัญชีทั้งหมด นับเป็นรายปี และนับเป็นรายธนาคารหรือรายสถาบันการเงิน (ทุกบัญชีในธนาคารนั้นๆรวมกัน) ครับ 

เน้นว่า!! ไม่ได้แค่คนขายของออนไลน์ แต่ถ้าใครมีธุรกรรมตามนี้ก็จะถูกส่งข้อมูลทั้งหมด ถ้าหากเข้าตามเงื่อนไขที่กฎหมายฉบับนี้กำหนด

ลองมาดูตัวอย่างกันต่อดีกว่า…

ยกตัวอย่างเช่น นาย A มียอดเงินเข้าทุกบัญชีในธนาคาร ABC จำนวน 200 ครั้ง ยอดเงินรวมทั้งหมด 10 ล้านบาท แบบนี้ถือว่าไม่เข้าเงื่อนไขที่จะถูกส่ง เพราะเกินแค่จำนวนเงิน แต่ไม่เกินจำนวนครั้ง 

แต่ถ้านาย B มียอดเงินเข้าทุกบัญชีในธนาคาร ABC จำนวน 400 ครั้ง ยอดเงินรวมทั้งหมด 10 ล้านบาท แบบนี้จะถูกส่ง เพราะว่าเข้าทั้ง 2 เงื่อนไข ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้เลยจ้า

หรือถ้านาย C มียอดเงินเข้าทุกบัญชีในธนาคาร CDE จำนวน 5,000 ครั้ง อันนี้ไม่ต้องดูจำนวนเงินเลย เพราะว่ามันเข้าเงื่อนไข 3,000 ครั้งไปแล้ว แบบนี้ครับผม

ดังนั้นเช็คให้ดีก่อนว่า เราเป็นแบบไหน? และเรามีบัญชีไว้ทั้งหมดกี่ธนาคาร แต่ละธนาคารเข้าเงื่อนไขไหม? เพราะบางทีเราก็อาจจะไม่ได้เข้าเงื่อนไขที่จะถูกส่งก็ได้ครับ

หลักการที่สำคัญอีกข้อคือ ธนาคารส่งข้อมูลเราเฉยๆนะ ไม่ได้แปลว่าต้องเสียภาษี เพราะข้อมูลที่ส่งมีแค่ ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน จำนวนครั้ง และจำนวนเงิน ให้กับสรรพากรเท่านั้น ซึ่งสรรพากรก็จะเอาไปวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันกับข้อมูลอื่นๆอีกทีหนึ่ง 

ขอสรุปอีกที… 

1. มีรายได้ ต้องเสียภาษี เป็นหน้าที่ของคนทุกคน
2. กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการเสียภาษีเพิ่ม เป็นการนำข้อมูลไปตรวจสอบต่อ
3. ถ้าไม่ได้ถูกส่่งข้อมูล ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ถูกตรวจสอบภาษี มันคนละเรื่องกันนะ

ยังงงอยู่ไหม ถ้างงอยู่ ดูรูปนี้อีกที เอ้า…

หลายคนเข้าใจผิดว่าเราต้องใส่ใจเรื่องกฎหมายตัวนี้เพื่อให้ปลอดภัย แต่สิ่งสำคัญจริงคือ เราต้องใส่ใจหาความรุ้เรื่องวิธีการคำนวณภาษี การจัดการการเงินต่างๆ เพื่อจัดการให้ถูกต้องต่างหากครับผม

สุดท้ายขอฝากไว้ใ้ห้คิดกัน … 

เลี่ยงภาษีวันนี้ อาจมีความสุขวันนี้ แต่ถ้าเลี่ยงภาษีแล้วติดคุก เราก็มีความสุขในคุกได้เหมือนกัน เพราะความสุขอยู่กับเราได้ทุกที่ครับผม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0