โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

"ทีดีอาร์ไอ" เผยยอดคนตกงานพุ่งสูงยันปี 63

TNN ช่อง16

อัพเดต 17 พ.ย. 2562 เวลา 10.47 น. • เผยแพร่ 17 พ.ย. 2562 เวลา 10.47 น. • TNN Thailand
นักวิชาการ “ทีดีอาร์ไอ” เผยจำนวนคนตกงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีหน้า หากเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้อง แนะรัฐทำโครงการจ้างบัณฑิตใหม่ 6 เดือน

วันนี้ ( 17 พ.ย. 62 )รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ที่มีแนวโน้มขยายตัวไม่ถึง 3% ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการส่งออกที่ติดลบ เนื่องจากผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ไม่สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ตามที่คาดหวัง ได้ส่งผลให้จำนวนผู้ว่างงานของไทยเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง 

โดยเห็นได้จากจำนวนผู้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเดือนม.ค.61 ผู้รับสิทธิอยู่ที่ 1.3 แสนคน และเพิ่มเป็น 1.5 แสนคน ณ สิ้นปี 61 หรือเพิ่มขึ้น 15% ขณะที่ในช่วง 8 เดือนของปี 62 (ม.ค.-ส.ค.62) จำนวนผู้ขอรับสิทธิเพิ่มเป็นเดือนละ 1.9 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้รับสิทธิจะเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นปีและต่อเนื่องไปจนถึงปี 2563 หรืออาจจะยืดยาวไปกว่านั้น หากเศรษฐกิจไม่กระเตื้อง

รศ.ดร.ยงยุทธ เสนอว่า เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน หน่วยงานภาครัฐควรใช้มาตรการการคลังและมาตรการการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวที่อย่างน้อย 3.5-4% ในปีหน้า รวมถึงมีมาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งและคู่ค้าเกินไป เพื่อพยุงการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหัวใจหรือรายได้หลักเข้าประเทศที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ต่อไป 

นอกจากนี้ ภาครัฐต้องเฝ้าระวังบรรดา SMEs หลายแสนราย ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะปิดกิจการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากจากเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ การจัดโครงการจ้างงานผู้จบสายอาชีพและบัณฑิตที่น่าจะตกงานมากขึ้นในปีหน้าเป็นเวลา 6 เดือน และควรขอความร่วมมือจากภาคเอกชนให้ชะลอนำเข้าแรงงานต่างด้าวหรืองดการต่อสัญญาแรงงานต่างด้าวทักษะปานกลาง และเพิ่มโควต้าจ้างคนไทยอย่างจริงจังอีกครั้ง เป็นต้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0