โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำไมพายุไต้ฝุ่น ถึงมีชื่อว่า มังคุด แล้วมีชื่อพายุแบบไทยๆ ชื่ออื่นอีกไหม?

Thaiware

อัพเดต 18 ก.ย 2561 เวลา 05.55 น. • เผยแพร่ 18 ก.ย 2561 เวลา 00.40 น. • เคนชิน
ทำไมพายุไต้ฝุ่น ถึงมีชื่อว่า มังคุด แล้วมีชื่อพายุแบบไทยๆ ชื่ออื่นอีกไหม?
เคยสงสัยไหม ทำไมพายุถึงชื่อ มังคุด แล้วทำไมเราต้องตั้งชื่อให้กับพายุด้วย ในบทความนี้มีทุกคำตอบที่สงสัย

ข่าวคราวความเคลื่อนไหวล่าสุดของพายุไต้ฝุ่นที่มีชื่อน่ารักแบบไทยๆ ว่า "มังคุด" แต่พิษสงของมันนั้นไม่ได้น่ารักเหมือนชื่อแต่อย่างใด เพราะมันได้คร่าชีวิตของชาวฟิลิปปินส์ไปแล้วอย่างน้อย 64 ราย และเข้าสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนในฮ่องกง และทำให้เกิดพายุฝนกระหน่ำทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรวดเร็ว มีคลื่นซัดฝั่งสูง 3 เมตรเลย ต่อเหตุการณ์นี้ เชื่อว่าคงมีคนไม่น้อยที่สงสัยว่าทำไม พายุไต้ฝุ่นลูกนี้ถึงมีชื่อแบบไทยๆ ว่ามังคุด และยังมีชื่อแบบไทยๆ ชื่ออื่นๆ อีกไหมที่มีการนำไปตั้งเป็นชื่อพายุ? เราจะมาหาคำตอบกันนะ

โดยตามข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้แบ่งความรุนแรงของพายุเขตร้อนเป็น 3 ระดับคือ

  • พายุดีเปรสชั่น (Depression) เป็นพายุกำลังอ่อน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 33 น๊อต (62 กม./ชม.) 
  • พายุโซนร้อน (Tropical Storm) พายุปานกลาง มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 34-63 น๊อต (63-117 กม./ชม.)
  • พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นพายุที่รุนแรงที่สุด มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 64 น๊อตขึ้นไป (118 กม./ชม.)

โดยพายุ 2 รูปแบบที่จะได้รับการตั้งชื่อคือ พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น

ทำไมพายุไต้ฝุ่น ถึงมีชื่อว่า มังคุด แล้วมีชื่อพายุแบบไทยๆ ชื่ออื่นอีกไหม?
ทำไมพายุไต้ฝุ่น ถึงมีชื่อว่า มังคุด แล้วมีชื่อพายุแบบไทยๆ ชื่ออื่นอีกไหม?

แล้วทำไมถึงต้องมีการตั้งชื่อพายุ?

เพราะการตั้งชื่อให้กับพายุนั้น จะทำให้เกิดความสะดวกในการสื่อสาร การรายงานข่าว และช่วยลดความสับสน ในกรณีที่เกิดพายุขึ้นมาสองลูก หรือมากกว่าสองลูกในเวลาเดียวกันนั่นเองครับ ลองคิดดูว่าถ้ามีพายุไต้ฝุ่นสองลูก เกิดในเวลาเดียวกัน พายุลูกที่หนึ่งขึ้นฝั่งที่ประเทศหนึ่ง อีกลูกหนึ่งก็ขึ้นฝั่งอีกประเทศหนึ่ง การรายงานข่าวคงสับสนน่าดู ถ้าเราไม่ตั้งชื่อให้กับพายุทั้ง 2 ลูก

มีชื่อพายุแบบไทยๆ กี่ชื่อ และมีชื่อว่าอะไรบ้าง?

ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ทำให้เราได้ร่วมกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอีก 13 ประเทศ ในการตั้งชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ซึ่งลำดับการตั้งชื่อพายุ จะเรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศ โดยชื่อพายุจากประเทศ กัมพูชา (Cambodia) อยู่ในอันดับ 1 และเวียดนาม (Vietnam) อยู่ในอันดับสุดท้าย โดยรายชื่อทั้ง 14 ประเทศ ที่ได้ร่วมกันตั้งชื่อให้กับ พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบไปด้วยรายชื่อดังนี้

  • ราชอาณาจักรกัมพูชา
  • สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
  • เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
  • ญี่ปุ่น
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  • เขตบริหารพิเศษมาเก๊า
  • มาเลเซีย
  • สาธารณรัฐสหพันธ์ไมโครนีเซีย
  • ฟิลิปปินส์
  • สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
  • ไทย
  • สหรัฐอเมริกา
  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

โดยไทยได้ร่วมตั้งชื่อให้กับ พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ รวม 10 รายชื่อได้แก่

ชื่อพายุ ความหมาย PRAPIROON     พระพิรุณ ชื่อเทพเจ้าแห่งฝน MANGKHUT มังคุด ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง WIPHA วิภา ชื่อของผู้หญิง BUALOI บัวลอย ขนมชนิดหนึ่ง MEKKHALA เมขลา ชื่อเทพธิดาประจําสมุทรในเทพนิยายไทย ATSANI อัสนี สายฟ้า NIDA นิดา ชื่อของผู้หญิง CHABA ชบา ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง KULAP กุหลาบ ชื่อดอกไม้ชนิดหนึ่ง KHANUN ขนุน ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่งของไทย

***หมายเหตุ รายชื่อพายุนี้แก้ไขปรับปรุงในการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 49 ณ นครโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2560

 

นอกจากนี้ ไทยยังได้รับสิทธิให้ร่วมกับประเทศอื่นๆ อีก 7 ประเทศในการตั้งชื่อให้กับพายุ ไซโคลน ที่ใช้ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอาหรับ โดยประเทศทั้ง 8 ประเทศก็มี

  • บังคลาเทศ
  • อินเดีย
  • มัลดีฟส์
  • เมียนมา
  • โอมาน
  • ปากีสถาน
  • ศรีลังกา
  • ไทย

โดยไทยได้ร่วมตั้งชื่อให้กับ พายุไซโคลนที่ใช้ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอาหรับ รวม 8 รายชื่อ โดยทุกชื่อเป็นชื่อของอัญมณีทั้งสิ้นได้แก่

  • Mukda (มุกดา)
  • Khai Muk (ไข่มุก)
  • Phet (เพชร)
  • Phailin (ไพลิน)
  • Komen (โกเมน)
  • Mora (โมรา)
  • Phethai (เพทาย)
  • Amphan (อําพัน)

***หมายเหตุ รายชื่อพายุไซโคลนที่ใช้ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอาหรับ อัพเดทปี พ.ศ. 2557

ทำไมพายุไต้ฝุ่น ถึงมีชื่อว่า มังคุด แล้วมีชื่อพายุแบบไทยๆ ชื่ออื่นอีกไหม?
ทำไมพายุไต้ฝุ่น ถึงมีชื่อว่า มังคุด แล้วมีชื่อพายุแบบไทยๆ ชื่ออื่นอีกไหม?

ชื่อของพายุนำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือเปล่า?

โดยปกติแล้ว ชื่อของพายุที่ถูกใช้ไปแล้วในปีนี้ จะถูกนำกลับมาใช้ได้ใหม่ในปีถัดๆ ไป แต่ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก NATIONAL HURRICANE CENTER หรือศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า มันมีกรณียกเว้นอยู่เหมือนกันที่ชื่อพายุที่ถูกใช้ไปแล้ว จะไม่ถูกนำกลับใช้ซ้ำอีก ซึ่งในกรณีนั้นคือ พายุที่ลูกที่สร้างความเสียหายเป็นประวัติการณ์ หรือทำให้คนตายเป็นจำนวนมาก ชื่อที่ถูกนำไปใช้ก็จะอุทิศให้กับพายุลูกนั้นไปเลย จะไม่มีการนำชื่อไปใช้ซ้ำกับพายุลูกอื่นอีกต่อไป (เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับพายุชื่อดังในอดีต) โดยในแต่ละปี จะมีการประชุมกันเพื่อตั้งชื่อพายุใหม่ขึ้นมา เพื่อแทนที่ชื่อที่อุทิศให้กับพายุที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงไปแล้ว
***เฮอริเคน เป็นพายุที่รุนแรงที่สุด ความเร็วลมเทียบเท่า พายุไต้ฝุ่น และพายุไซโคลน   โดยเฮอริเคน ที่จุดกำเนิดอยู่แถบมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ 

ซึ่งรายชื่อมากมาย ที่ได้ถูกอุทิศให้กับพายุเฮอริเคนที่มีพลังทำลายล้างสูงในช่วงอดีตที่ผ่านมา โดยตัวอย่างของรายชื่อมีดังนี้ (รายชื่อเรียงตามลำดับตัวอักษร)
 

ชื่อพายุ ปีที่เกิดพายุ Agnes 1972 Bob 1991 Cesar 1996 Diana 1990 Erika 2015 Flora 1963 Gloria  1985 Harvey 2017 Irene 2011 Joaquin   2015 Katrina  2005 Lili 2002 Matthew 2016 Nate 2017 Otto 2016 Paloma 2008 Roxanne 1995 Sandy 2012 Tomas 2010 Wilma 2005

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0