โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ทำไมผู้หญิงอายุน้อย จึงเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น

Health Addict

อัพเดต 22 มี.ค. 2562 เวลา 03.57 น. • เผยแพร่ 22 มี.ค. 2562 เวลา 03.57 น. • Health Addict
ภาพจำของหลายๆ คนเกี่ยวกับโรคหัวใจ คือเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและเกิดกับผู้สูงวัย แต่ล่าสุดมีการพบว่าผู้หญิงอายุน้อยๆ ก็ป่วยเป็นโรคนี้ แถมอาการยังไม่เหมือนที่เราคิดไว้ซะด้วย… มีอะไรบ้าง มาดูกัน
ภาพจำของหลายๆ คนเกี่ยวกับโรคหัวใจ คือเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและเกิดกับผู้สูงวัย แต่ล่าสุดมีการพบว่าผู้หญิงอายุน้อยๆ ก็ป่วยเป็นโรคนี้ แถมอาการยังไม่เหมือนที่เราคิดไว้ซะด้วย… มีอะไรบ้าง มาดูกัน

พูดถึง "โรคหัวใจ" แล้ว หลายคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวเพราะคิดว่ามักเกิดกับผู้สูงวัยหรือคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีเท่านั้น แต่ผลการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาที่เผยแพร่ในวารสาร Circulation เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อาจทำให้ต้องคิดใหม่ เพราะมีการพบว่าอายุของผู้ป่วยลดลงมาอยู่ระหว่าง 35-54 ปี แถมส่วนใหญ่ยังเป็น "ผู้หญิง" ซะด้วย
โดยจำนวนผู้ป่วยเพศหญิง เพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 31% ขณะที่จำนวนผู้ป่วยเพศชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง… ซึ่งข้อสันนิษฐานหนึ่งคือผู้หญิงมีโอกาสเข้าถึงการรักษาและป้องกันโรคนี้น้อยกว่า แม้จะมีความเข้าใจในตัวโรคที่มากขึ้น ตัวยาใหม่ๆ รวมทั้งเทคนิคการผ่าตัดที่ก้าวหน้าไปมาก

Photo by Jimmy Chang on Unsplash
• ไม่ตระหนักถึงความเสี่ยง จึงป่วยกันมากขึ้น
สาเหตุที่ผู้หญิงอายุน้อยป่วยเป็นโรคหัวใจมากขึ้นนั้นยังไม่แน่ชัดเท่าใดนัก แต่ก็มีการพบว่าตั้งแต่ปี 2558 มีอัตราการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้น 
Melissa Caughey หนึ่งในทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ ม.นอร์ทแคโรไลนา บอกว่า อัตราการเกิดโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงผิวดำจะมีอัตราการป่วยมากกว่าผู้ชายผิวดำ และยังพบอีกว่าผู้หญิงอายุน้อยมีการเข้าถึงการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง หรือเส้นเลือดในสมอง น้อยกว่าผู้ชาย
เมื่อไม่ได้ตระหนักว่าผู้หญิงอายุน้อยมีความเสี่ยง จึงไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม ผลคือป่วยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย
• ถูกมองข้าม เพราะอาการ
ความท้าทายอีกอย่างคือ "อาการ" ของโรคหัวใจที่แสดงออกในผู้หญิง ต่างจากที่แสดงออกในผู้ชาย จนแพทย์เองก็อาจไม่ตระหนักถึง
David Goff แพทย์ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา บอกว่า คนส่วนใหญ่คิดว่าอาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นเฉียบพลัน ขณะที่ผู้หญิงจะมีอาการที่คนนึกไม่ถึงว่าเป็นโรคหัวใจ เช่น ปวดหลัง คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ เหงื่อออก มีปัญหาการนอน และอาการคล้ายคนเป็นไข้ ที่น่าเศร้าคือแพทย์อาจไม่คิดว่าเป็นโรคหัวใจ
• ใครบ้าง เสี่ยงมากกว่า
หญิงที่มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น มักเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (Posttraumatic Stress Disorder หรือ PTSD) ที่มีระดับความเครียดสูง มีรายได้และการศึกษาไม่สูงมาก นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) ภาวะพร่องฮอร์โมน และครรภ์เป็นพิษ ยังมีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนอื่น
สาวๆ คนไหนที่กังวล ก็ป้องกันได้ด้วยการปรับ-เปลี่ยนพฤติกรรม โดย David Goff เน้นย้ำว่า เราสามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่และเลี่ยงควันบุหรี่มือสอง ที่ขาดไม่ได้คือการตรวจเช็คร่างกายและหัวใจเป็นประจำทุกปี
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0