โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำไมคนเราต้องรักษาศีล

LINE TODAY

เผยแพร่ 02 มี.ค. 2561 เวลา 10.02 น. • Pimpayod

“ทำไมคนเราต้องรักษาศีล” น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย อาจเพราะไม่เชื่อว่าการรักษาศีลทำให้เกิดอานิสงส์ได้มากมายก็เป็นได้

ศีล คือเจตนา คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกาย และวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

ในเมื่อศีลคือเจตนาดี เพราะฉะนั้นคนเราก็ควรที่จะรักษาศีล โดยเริ่มจากง่าย ๆ ที่ศีล 5 

เชื่อว่าเราทุกคนรู้จักและเข้าใจศีล 5 อย่างถ่องแท้กันดีอยู่แล้วว่าศีล 5 คือศีลพื้นฐานที่มนุษย์เราทุกคนควรจะรักษาไว้ให้ได้ เพราะการไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด และไม่เสพสุรายาเมานั้น เป็นข้อปฏิบัติสำหรับการควบคุมกาย วาจา และใจ ไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ให้ตั้งมั่นอยู่ในความเป็นคนที่มีมนุษยธรรม 

นอกจากนี้ ศีลยังมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมด้วย เพราะหากทุกคนไม่มีศีล การอยู่ร่วมกันก็จะไร้มนุษยธรรมทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เนื่องจากศีลเป็นระบบการควบคุมและขัดเกลาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต มีผลต่อทุกการกระทำของผู้คนในสังคม เป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญต่อการประพฤติปฏิบัติของชาวพุทธตามหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเริ่มจากศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งถ้าหากไม่มีศีลก็ยากที่จะมีสมาธิจนทำให้เกิดปัญญาได้

การรักษาศีลยังช่วยยกระดับจิตใจและก่อให้เกิดอานิสงส์ขึ้นอีกมากมาย โดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้กล่าวไว้ว่าผู้ที่รักษาศีล 5 ได้นั้นจะทำให้ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน หากมีทรัพย์สมบัติก็จะปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ไม่มีใครมาเบียดเบียนทำลายได้ พูดอะไรก็มีแต่คนเคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์ด้วยสัตย์ด้วยศีล มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด ผู้มีศีลเป็นผู้ปลูกและส่งเสริมความสุขให้คนอื่น มีแต่ความอบอุ่นไม่ระแวงสงสัย หากมีครอบครัวก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่มีใครจ้องจะทำร้ายทำลายได้

เบื้องต้นนี้เป็นแค่อานิสงส์ของการรักษาศีล 5 ข้อเท่านั้น แต่หากตั้งจิตมั่นเพื่อให้รักษาศีลให้ได้มากขึ้น จนเกิดเป็นสมาธิและปัญญาก็จะได้รับอานิสงส์ที่มากมายมหาศาลจากการบำรงตนอยู่ในศีลในธรรม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0