โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำไมการศึกษาไทย ไม่เดินไปข้างหน้า ?

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2562 เวลา 23.45 น.

จากคำถามที่ว่า"ทำไมการศึกษาไทยไม่เดินไปข้างหน้า?"ธานินทร์ เอื้ออภิธร ผู้บริหารโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเอ็นคอนเส็ปท์ ให้ความเห็นว่าที่ผ่านมา มีการตั้งคำถามถึงประเด็นนี้เอาไว้มากมายจากหลากมุมมอง ข้อคิด ข้อเสนอแนะ หลั่งไหลอย่างต่อเนื่องในรอบ 10-20 ปีมานี้ ที่สุดแล้วทุกอย่างก็ยังหยุดนิ่ง ณ จุดเดิมมองในด้านร้ายอาจถึงขั้นถอยหลังด้วยซ้ำตัวชี้วัดที่บอกได้ดีว่าการศึกษาไทย "ไม่เดินไปข้างหน้า" สักทีเมื่อเทียบกับการศึกษาของเพื่อนบ้านในแถบเอเชียด้วยกันเอง และไกลกว่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่าปัญหาเกิดขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ

ด้านปริมาณ บัณฑิตที่ผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ส่วน ด้านคุณภาพเสียงสะท้อนพุ่งไปที่ว่าทักษะความสามารถไม่ตรงหรือไม่ถึงระดับที่ต้องการใช้งานปัจจุบันมีบัณฑิตจบใหม่จากทุกมหาวิทยาลัยมากกว่า 1 แสนคนต่อปี อัตราการว่างงานอยู่ที่ 27% ของจำนวนบัณฑิตจบใหม่ซึ่งมีไม่น้อยที่ออกไปทำอาชีพอิสระ ศึกษาต่อและเลือกทำงานที่ไม่ตรงหรือต่ำกว่าวุฒิการศึกษาวันนี้ ลองมองออกไปข้างนอก หาโมเดลที่ใช่เพื่อความหวังว่าการศึกษาไทยจะถึงเวลาเปลี่ยนสักที

โดยหนึ่งในแนวคิดและกระบวนการทำงานที่ ประเทศเยอรมนี ทำให้เห็นว่าขอแค่เพียงตั้งใจในทุก ๆ การทำงานด้านการศึกษา "ผลลัพธ์"ที่ได้จะมากด้วยคุณค่าเสมอเส้นทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเยอรมนีกำหนดเอาไว้ชัดถึงการเดินไปสู่ The journey for professionalมืออาชีพที่สร้างขึ้นนี้เกิดขึ้นได้ในหลายสายอาชีพอยู่ที่เยาวชนจะตัดสินใจเลือกเดินไปในเส้นทางไหนโดยวางโมเดลถึงการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมที่ร่วมกันพัฒนาทักษะให้กับบุคลากรและแน่นอนว่าการพัฒนานั้นต้องสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในภาพรวมด้วยการจัดการศึกษาในประเทศเยอรมนีให้ความสำคัญกับการฟังเสียงของเยาวชนคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0