โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทำความรู้จักวัณโรคหลังโพรงจมูก รู้ไว้ก่อนสายไป!!

Spiceee.net

เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 16.00 น. • Sujate Wanchat
www.thairath.co.th
www.thairath.co.th

สวัสดีเพื่อนๆชาว Spice ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับเรื่องราวสาระด้านสุขภาพที่น่าสนใจ ช่วงนี้ดาราป่วยเป็นโรคร้ายเเรงเเปลกกันหลายคนนะจ้ะ เเละล่าสุดที่เราต้องขอเเสดงความเสียใจก็คือการจากไปของน้องน้ำตาล ดารานักเเสดงดาวรุ่งอายุน้อยชาวไทยที่ต้องมาจากไปด้วย "วัณโรคหลังโพรงจมูก" โรคที่โอกาสเป็นกันน้อย เเต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี ความน่ากลัวของมันอยู่ที่เป็นเเล้วจะไม่เเสดงอาการ เเต่สามารถติดต่อสู้คนใกล้ชิดผ่านทางอากาศได้ จึงเหมือนเป็นภายเงียบที่เเสนน่ากลัวที่วันนี้เราจะขอพาเพื่อนๆมารู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นหน่อยเเล้ว เพื่อคุณจะได้เอาไว้ป้องกันตัวเอง

img.kapook.com
img.kapook.com

#1. วัณโรคคืออะไร ?

www.thairath.co.th
www.thairath.co.th

ก่อนที่เราจะไปดูวัณโรคหลังโพรงจมูก เราจำเป็นต้องรู้จักวัณโรคทั่วไปก่อน ซึ่งจริงๆเเล้ว วัณโรค ก็คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปจะติดต่อจากการสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่ฟุ้งกระจายปนอยู่ในเสมหะที่ผู้ป่วยไอออกมาทำให้ส่วนมากจะเกิดการอักเสบของปอดนั่นเอง ดังนั้นเราจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากต้องอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด

สำหรับอาการของวัณโรคปอดจะมีลำดับขั้นการพัฒนาโดยเริ่มต้นจากการ ไอเรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ เเละเป็นการไอที่มีเสมหะปนเลือด จากนั้นจะค่อยๆผอมลง น้ำหนักลด มีไข้ เเละอ่อนเพลีย อย่างไรก็ตามเชื้อวัณโรคไม่ได้เป็นที่ปอดที่เดียวเท่านั้น เพราะเชื้อวัณโรคสามารถฝังตัวลงยังอวัยละส่วนอื่นๆได้เช่นกัน โดยเชื้อที่ฝังตัวอยู่มักจะไม่เเสดงอาการจนกว่าจะเป็นมากเเล้ว เเละในระยะที่เป็นมากเเล้วก็สามารถติดต่อสู่คนใกล้ชิดได้

#2. เชื้อวัณโรคหู คอ จมูก

www.bangkokhospital.com
www.bangkokhospital.com

ต่อมาเราจะมาเข้าประเด็นของ วัณโรคหลังโพรงจมูก กันเเล้ว โดยวัณโรคหลังโพรงจมูกจัดเป็นหนึงในโรควัณโรคหู คอ จมูก ซึ่งโอกาสเกิดขึ้นมีน้อยมาก การตรวจบริเวณโพรงหลังจมูกนั้นก็ค่อนข้างลำบาก เพราะแพทย์จะต้องใช้กระจกส่องตรวจผ่านทางลำคอ หรือใช้กล้องส่องผ่านทางจมูกเข้าไปตรวจดู ซึ่งอาจพบลักษณะเป็นก้อนหรือแผล การตัดชิ้นเนื้อเล็กๆ ออกมาตรวจให้เเพทย์สามารถหาข้อสรุปได้ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเชื้อวัณโรคจะเข้าไปฝังตัวอยู่ที่บริเวณด้านหลังโพรงจมูกจะมีเส้นเลือดฝอยปริมาณมาก และอยู่ตื้น ทำให้ผู้ป่วยมีเเผล เเละมีอาการของเลือดกำเดาไหลหรือไอเป็นเลือดได้

#3. ใครที่มีความเสี่ยงจะได้รับเชื้อวัณโรคบ้าง

bizfocusmagazine.com
bizfocusmagazine.com

เเม้ว่าวัณโรคจะเป็นโรคที่น่ากลัว เเต่ก็สามารถรักษาได้ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานกว่าแบคทีเรียชนิดอื่นๆ เเต่อย่างไรเสียก็คงไม่มีใครต้องการเเม้เเต่จะคิดว่าตัวเองจะเป็นวัณโรคใช่มั้ยล่ะ ดังนั้นป้องกันไว้จะเป็นการดีที่สุด เเต่ก่อนจะไปดูวิธีป้องกัน เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าใครที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อวัณโรคบ้าง

1) ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค เช่น ญาติ, บุคลากรทางการแพทย์
2) ผู้ที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ, ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์, ผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด, ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ผู้ป่วยหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV, ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ

#4. การป้องกันตัวเองจากวัณโรค

newstellme.com
newstellme.com

มาถึงประเด็นที่ทุกคนอยากรู้ที่สุดกันเเล้วว่า เราจะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อวัณโรคได้อย่างไร ซึ่งคุณสามารถทำตามคำเเนะนำเหล่านี้ได้เลยเเล้วจะห่างไกลจากวัณโรค

1) ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
2) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3) ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
4) ถ้าจำเป็นต้องเข้าไปอยู่ในบริเวณพื้นที่แออัด ควรใส่หน้ากากอนามัย
5) การฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคกำหนดให้ใช้เพียงเข็มเดียว โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังในเด็กแรกคลอด หรือคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ส่วนการฉีดในเด็กให้ผลป้องกันได้ดีกว่าผู้ใหญ่

หมายเหตุ หลังฉีดจะเกิดแผลพุพองบริเวณที่ฉีดและหายไปภายใน 1 เดือน โดยภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นประมาณ 2 เดือนหลังฉีด

static.posttoday.com
static.posttoday.com

*เป็นอย่างไรกันบ้าง หลังจากที่ได้อ่านจบไป เพื่อนๆคงรู้จักเเละมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคหลังโพรงจมูกกันมากขึ้นเเล้วใช่มั้ยล่ะ โดยเฉพาะเเนวทางการป้องกันที่หลายคนอยากรู้เหลือเกิน สุดท้ายนี้เราก็หวังว่าบทความเเละคำเเนะนำนี้จะมีประโยชน์สำหรับคุณให้สามารถเอาตัวรอดในโลกทุกวันนี้ที่เต็มไปด้วยโรคร้ายเเรงเเปลกๆได้ *

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0