โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

ทำความรู้จักค่า SPF กับ PA ในครีมกันแดดคืออะไร และทำไมต้องมีเครื่องหมาย +

LINE TODAY

เผยแพร่ 26 พ.ค. 2563 เวลา 20.06 น. • pimphicha
ภาพจาก <a href=
Retha Ferguson | peels.com">
ภาพจาก Retha Ferguson | peels.com

ซันสกรีน (sunscreen) , ซันบล็อก (sunblock) หรือที่เราภาษาไทยเราเรียก “ครีมกันแดด” นั้นปัจจุบันเป็นของที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กเล็กหรือโตเป็นผู้ใหญ่ล้วน ‘ควร’ ต้องใช้ครีมกันแดดกันทั้งนั้น เพราะทุกวันนี้นอกจากมลภาวะจะเป็นตัวการทำร้ายผิว แสงแดดก็มีอานุภาพรุนแรงขึ้นทุกวัน จึงควรปกป้องผิวจากแสงแดดเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับรังสียูวีกันก่อน อย่างที่ทราบกันว่ารังสียูวีไม่ได้มีแค่ในแสงแดด แต่มีอยู่แม้ในที่ร่มอย่างบ้าน ที่ทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ และเกือบทุกที่ ทีนี้รู้กันหรือไม่ว่า รังสียูวีนั้นมีกี่ประเภท

รังสี UVA: เป็นรังสีที่สามารถแทรกซึมลึกเข้าไปในชั้นผิวหนังและอาจนำไปสู่การแก่ก่อนวัยผิวและมะเร็งผิวหนัง (จำง่ายๆว่า A คือ Aging ที่หมายถึงความแก่)

รังสี UVB: เป็นรังสีที่จะเปลี่ยนสีผิวของคุณหลังจากใช้เวลากลางแจ้ง - ผิวสีแทนหรือผิวไหม้จากแสงแดดเป็นผลโดยตรงจากรังสี UVB (จำง่ายๆ ว่า B หมายถึง Burn ซึ่งหมายถึงความไหม้เกรียมของผิวได้)

รังสี UVC: สีประเภทนี้จะถูกดูดซับไว้อย่างสมบูรณ์ในชั้นบรรยากาศของโลก จึงไม่อาจมากล้ำกรายงผิวหนังของคุณได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวล

และนั่นทำให้เป้าหมายสูงสุดของครีมกันแดดที่ดีคือปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB นี่เอง

ภาพจาก <a href=
Moose Photo | pexels.com">
ภาพจาก Moose Photo | pexels.com

ปัจจุบันครีมกันแดดมีหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น สเปรย์, เจล, ขี้ผึ้ง, โลชั่น, และในรูปแบบผงแป้ง (ซึ่งเป็นแบบที่สาวๆ นิยมใช้มากที่สุด โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดประกอบด้วยส่วนผสมของสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์

สารเคมีอนินทรีย์ (Inorganic chemicals) ซึ่งหมายรวมถึงแร่ธาตุเช่น zinc oxide หรือ titanium dioxide ซึ่งใช้ในครีมกันแดดเพื่อทำหน้าที่ ‘สะท้อน’ รังสียูวี สมัยก่อนคงเคยเห็นภาพถ่ายที่ใช้แฟลชแล้วผิวมีความขาวผิดปกติสะท้อนในรูปนั่นแหละคือผลที่ได้จากการใช้ครรีมกันแดด ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย​​ทำให้อนุภาคเหล่านี้มีขนาดเล็กลงดังนั้นจนเราแทบไม่เห็นใครหน้าขาวเว่อร์ตอนถ่ายรูปกันแล้ว

สารเคมีอินทรีย์(Organic chemicals) ซึ่งก็คือส่วนผสมเช่น oxybenzone หรือ avobenzone ส่วนผสมเหล่านี้ทำหน้าที่ดูดซับรังสี UV จากนั้นปล่อยออกมาจากร่างกายระบายเป็นความร้อน

ภาพจาก <a href=
OpenClipart-Vectors | pixabay.com">
ภาพจาก OpenClipart-Vectors | pixabay.com

หนึ่งในป้ายที่คุ้นเคยที่สุดก็คือ ‘SPF’ หรือ Sun Protection Factor นี่หมายถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UVB) โดยพื้นฐานแล้วหมายเลข SPF จะบ่งบอกว่า จะใช้เวลานานเท่าใดในการเผาผิวไหม้หนังเมื่อสัมผัสกับแสงแดด ซึ่งโดยทั่วไปผิวของคนจะเริ่มไหม้หลังจากโดนแดดประมาณ 10 ถึง 20 นาที ผลิตภัณฑ์ SPF 20 จะช่วยปกป้องผิวจากการไหม้นานกว่าประมาณ 20 เท่า ก็คือประมาณ 200 ถึง 400 นาที ซึ่งปัจจุบันนี้ค่า SPF ที่สูงสุดอยู่ที่ 50 เท่านั้น อย่างไรก็ตามเรามักต้องทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยทุกสองถึงสี่ชั่วโมงเนื่องจากเหงื่ออาจล้างครีมกันแดดออกโดยไม่รู้ตัว

‘PA’ ตามด้วยเครื่องหมายบวก (+) คืออะไร?

 PA ย่อมาจาก Protection grade of UVA) เป็นการแสดงถึงระดับการป้องกันจากรังสี UVA ซึ่งระบบการให้เกรนวัดระดับนี้ถูกคิดค้นโดยประเทศญี่ปุ่น

โดยระบบการจัดอันดับ PA ใช้วิธีทดสอบที่เรียกว่า Persistent Pigment Darkening (PPD) โดยการนำรังสี UVA มาทำให้เกิดการหมองคล้ำบนผิวหนัง PPD ถูกนำมาทดสอบกับผู้คนหลากหลายเพื่อวิเคราะห์ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการเปลี่ยนสีผิวให้เป็นสีแทน หลังจากนั้นนักวิจัยจะทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างผิวที่ไม่มีการป้องกัน กับผิวที่ได้รับการปกป้อง

ทั้งนี้ PPD ไม่ได้ระบุจำนวนที่แน่นอนของการป้องกันรังสี UVA แต่การทดสอบนี้จะถูกแปลงเป็นระบบเป็นการให้คะแนนของแต่ละภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมีเพียงห้าประเทศเท่านั้นที่ใช้การทดสอบ UVA นั่นคือ ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ซึ่งที่ญี่ปุ่นผลลัพธ์ของ PPD จะถูกจัดกลุ่มและทำให้ง่ายขึ้นในการวัดค่า PA ดังนี้:

ถ้า PPD ของผลิตภัณฑ์ = 2 ถึง 4, PA = PA +

ถ้า PPD ของผลิตภัณฑ์ = 4 ถึง 8, PA = PA ++

ถ้า PPD ของผลิตภัณฑ์ = 8 ถึง 16, PA = PA +++

ถ้า PPD ของผลิตภัณฑ์ = 16 ขึ้นไป PA = PA ++++

ดังนั้นค่า PA + จึงหมายถึงครีมกันแดดที่ให้การป้องกันรังสี UVAระดับทั่วไป ไล่ระดับไปจนถึง PA +++ ที่ให้การปกป้องที่ดีที่สุด 

เข้าใจความหมายของ SPF และ PA กันไปแล้ว ต่อไปนี้ก็สามารถทำความเข้าในใจการเลือกใช้ครีมกันแดดได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยที่พึงคำนึงถึงก็คือไลฟ์สไตล์และสภาพผิวของเรา หากสส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในที่ร่ม อยู่หน้าจอคอมพิมเตอร์ก็ไม่จำเป็นจะต้องโหมใช้ครีมกันแดดค่า SPF สูง PA บวกเยอะๆ หากแต่ละวันต้องออกไปผจญกับโลกภายนออก ลุยแดดลุยฝุ่นก็เลือกใช้แบบจัดเต็มกันไป และเลือกเนื้อผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับสภาพผิวด้วยนะ หากผวแห้งก็สามารถเลือกใช้แบบครีมได้เต็มที่ แต่ถ้าผิวมันก็เลือกให้เป็นเนื้อบางเบาเช่นฟลูอิด หรือเนื้อเจลกันไป

ข้อมูลจาก colorescience.comwww.dmsc.moph.go.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0