โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ทารกติดโควิด-19 ติดได้ตั้งแต่ในครรภ์จริงมั้ย

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 05 เม.ย. 2563 เวลา 05.30 น. • Motherhood.co.th Blog
ทารกติดโควิด-19 ติดได้ตั้งแต่ในครรภ์จริงมั้ย

ทารกติดโควิด-19 ติดได้ตั้งแต่ในครรภ์จริงมั้ย

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงที่ Covid-19 ระบาดไปทั่วโลกคงกังวลไปตาม ๆ กันว่า "ทารกติดโควิด-19" ได้ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์หรือไม่ และในระหว่างการคลอดที่โรงพยาบาล มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนที่เชื้อไวรัสจะมาสัมผัสกับทารกน้อยของเรา ไหนยังจะบรรดาแม่ ๆ ที่ให้นมลูกในช่วงนี้อีกละ บางคนไม่ออกอาการป่วย เลยไม่ได้ไปตรวจ อาจจะแข็งแรงมากพอที่จะไม่แสดงอาการแม้มีเชื้อในตัว ถ้าหากลูกกินนมแม่เข้าไป จะเกิดอะไรขึ้น ความกังวลใจและข้อสงสัยหลากหลายประดังประเดเข้ามาในจิตใจของคุณพ่อคุณแม่อย่างถ้วนหน้า วันนี้ Motherhood เลยรวบรวมเอาคำตอบมาให้ค่ะ

หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อ Covid-19 มากกว่าหรือไม่?

จนถึงตอนนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับ Covid-19 ไม่ได้บ่งชี้ว่าหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงกว่าในการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ที่เราเห็นจากการเป็นไข้หวัดใหญ่ บรรดาแม่ ๆ มีความเสี่ยงสูงมากขึ้นหากพวกเธอมีการติดเชื้อทางเดินหายใจ การตั้งครรภ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของร่างกาย และส่งผลให้ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องกว่าเดิมเล็กน้อย ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อ จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บและก่อความเสียหายมากขึ้น

ความเสี่ยงที่แม่ท้องจะติดเชื้อไม่ได้มีมากกว่าคนทั่วไปแต่อย่างใด
ความเสี่ยงที่แม่ท้องจะติดเชื้อไม่ได้มีมากกว่าคนทั่วไปแต่อย่างใด

Covid-19 เพิ่มความเสี่ยงในการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่?

ยังไม่มีงานศึกษาวิจัยที่แสดงว่าการมีเชื้อไวรัสโคโรนาในช่วงตั้งครรภ์จะเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตร แต่มีหลักฐานบางอย่างจากความเจ็บป่วยอื่น ๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ในปีพ.ศ. 2546-2547 พบว่าผู้หญิงที่ติดเชื้อไวรัสมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูงกว่าเล็กน้อย แต่เฉพาะในรายที่ป่วยหนักเท่านั้น

การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มีความสัมพันธ์กับปัญหา เช่น น้ำหนักแรกเกิดต่ำ และการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้การมีไข้สูงในระยะแรกของการตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดข้อบกพร่องบางอย่าง แม้ว่าการเกิดขึ้นโดยรวมของข้อบกพร่องเหล่านั้นยังอยู่ในระดับต่ำก็ตาม

ทารกติด Covid-19 เพราะแม่สามารถแพร่เชื้อในครรภ์ได้หรือไม่?

ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เอกสาร 2 ฉบับที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม อธิบายถึงการค้นพบแอนติบอดีที่มีต่อไวรัสโคโรนาในทารกแรกเกิดของมารดา 3 รายที่มีเชื้ออยู่ นั่นแสดงว่าพวกเด็กสามารถรับเชื้อได้ในท้องแม่ แม้ว่าจะไม่พบไวรัสในเลือดจากสายสะดือ ซึ่งนักวิจัยได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเภทของการทดสอบที่ใช้ จากการศึกษาก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานของ Covid-19 ในน้ำคร่ำหรือเลือดจากสายสะดือของทารก 6 คน ที่เกิดจากผู้หญิงที่ติดเชื้อ ในขณะที่รายงานการวิจัยบ่งชี้ว่า มีเพียงจำนวนไม่กี่รายเท่านั้นที่ไม่มีการถ่ายทอดเชื้อแนวดิ่งจากแม่สู่ลูกในมดลูก ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่เห็นได้จากโรคไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ ในการตั้งครรภ์ เช่น ไข้หวัดใหญ่

มีรายงานเกี่ยวกับทารกแรกเกิดที่อายุน้อยกว่า 2-3 วันที่ติดเชื้อ แต่ในกรณีเหล่านี้เชื่อว่าแม่หรือสมาชิกในครอบครัวส่งเชื้อไปยังทารกผ่านการสัมผัสใกล้ชิดหลังคลอด ไวรัสสามารถส่งผ่านทางการไอหรือจาม ซึ่งอาจแพร่กระจายละอองไวรัสไปยังทารกแรกเกิด

การตรวจสุขภาพก่อนคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

การดูแลก่อนคลอดอาจจะแตกต่างไปช่วงระยะ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ Covid-19 ในผู้ป่วย ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ โดยปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์มีการนัดตรวจก่อนคลอดประมาณ 14 ครั้ง ซึ่งอาจลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง

การนัดตรวจอัลตราซาวด์ก็อาจต้องเปลี่ยนแปลงไป ความปลอดภัยในการลดการตรวจติดตามความผิดปกติในช่วงนี้จะยังคงมีอยู่ โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของการตั้งครรภ์ แน่นอนว่าผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเฉพาะ เช่น ครรภ์แฝด หรือทารกที่สงสัยว่าอาจเกิดมากับข้อบกพร่อง อาจต้องตรวจติดตามแบบดั้งเดิมมากขึ้น

ที่โรงพยาบาลมีมาตรการในการควบคุมความปลอดภัยจากเชื้อสูง
ที่โรงพยาบาลมีมาตรการในการควบคุมความปลอดภัยจากเชื้อสูง

ควรคาดหวังอะไรกับการคลอด?

โรงพยาบาลกำลังทำสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อลดการส่งผ่านเชื้อแบบบุคคลต่อบุคคล โรงพยาบาลบางแห่งมีการคัดกรองเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทั้งหมด รวมถึงการตรวจสอบอุณหภูมิเมื่อเริ่มกะ ผู้เข้าเยี่ยมก็ยังถูกจำกัดด้วยเช่นกัน

ถ้าติด Covid-19 จะต้องผ่าคลอดหรือไม่?

ไม่ การมีเชื้อ Covid-19 นั้นไม่ใช่เหตุผลสำหรับการผ่าตัดคลอด ไม่มีหลักฐานว่าวิธีการคลอดทางช่องคลอดหรือการผ่าตัดคลอดนั้นปลอดภัยกว่าเมื่อมีเชื้อ Covid-19 แม้ว่าข้อมูลจะยังมีไม่มาก แต่การติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าส่งผ่านไปยังเด็กตั้งแต่แรกเกิดได้ทางช่องคลอด

ในกรณีส่วนใหญ่ ระยะเวลาในการคลอดไม่ควรถูกกำหนดโดยการวินิจฉัยพบ Covid-19 ในแม่ ผู้หญิงที่ติดเชื้อในระยะแรกของการตั้งครรภ์ที่หายแล้วไม่ควรเปลี่ยนตารางการคลอด สำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อในภายหลังในการตั้งครรภ์ มีเหตุผลเพียงพอที่จะพยายามเลื่อนการคลอดตราบใดที่ไม่มีเหตุผลทางการแพทย์อื่น ๆ จนกว่าแม่จะได้รับผลการทดสอบ Covid-19 เป็นลบ

จะต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานแค่ไหนหลังจากคลอด และจะเกิดอะไรขึ้นถ้าติด Covid-19?

มีแนวโน้มที่จะได้ออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้น เพื่อจำกัดความเสี่ยงของการได้รับสารและการติดเชื้อโดยไม่ตั้งใจ การปล่อยตัวกลับบ้านอาจพิจารณาหลังจาก 12-24 ชั่วโมง แทนที่จะเป็นตามปกติที่ 24-48 ชั่วโมง สำหรับผู้หญิงที่มีการคลอดทางช่องคลอดที่ไม่ซับซ้อน และภายใน 2 วันสำหรับผู้หญิงที่มีการผ่าตัดคลอด ซึ่งก็ขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของพวกเธอ

สำหรับคุณแม่ที่ได้รับการยืนยันว่ามีเชื้อ Covid-19 ทารกต้องถูกแยกออกจากแม่ อาจจะใช้วิธีขึงม่านระหว่างแม่กับเด็กแรกเกิด แล้วแยกห่างกันอย่างน้อย 6 ฟุต การแยกตัวต่อไปจนถึง 72 ชั่วโมงหลังจากที่ไข้ของแม่หายไปจะเป็นการดีกว่า หากไม่มีผู้ใหญ่ที่แข็งแรงอยู่ในห้องดูแลทารกแรกเกิด คุณแม่ที่ได้รับการยืนยันหรือสงสัยว่ามีเชื้อ Covid-19 ควรสวมหน้ากากและรักษาสุขอนามัยของมือก่อนการให้อาหารแต่ละครั้ง หรือเมื่อต้องสัมผัสใกล้ชิดกับทารกแรกเกิด

ในช่วงนี้คลอดที่บ้านปลอดภัยกว่าที่โรงพยาบาลหรือไม่?

หากแม่เลือกที่จะคลอดในโรงพยาบาล เธอจะมีทีมผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อปกป้องเธอและลูกของเธอจาก Covid-19 และจัดการกับปัญหาแทรกซ้อนที่ไม่คาดฝัน มีความกังวลเกี่ยวกับการได้รับเชื้อที่แพร่จากบุคคลสู่บุคคลในการคลอดที่บ้าน เนื่องจากมีข้อจำกัดสำหรับผู้เข้าเยี่ยมน้อยกว่าที่โรงพยาบาล

แม้จะไม่มีเชื้อ แต่ก็ต้องดูแลความสะอาดทุกขั้นตอนอย่างดีหากจะให้นม
แม้จะไม่มีเชื้อ แต่ก็ต้องดูแลความสะอาดทุกขั้นตอนอย่างดีหากจะให้นม

ให้นมลูกได้หรือไม่หากมีเชื้อ Covid-19?

จนถึงปัจจุบันไม่มีหลักฐานการพบเชื้อไวรัสในน้ำนมแม่ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ Covid-19 อย่างไรก็ตามก็ยังแนะนำให้ใช้ความระมัดระวัง แพทย์สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่เป็นแหล่งสำคัญของแอนติบอดีสำหรับทารก แม่ที่ตั้งใจจะให้นมลูกควรได้รับการส่งเสริมให้ปั๊มน้ำนมแม่เพื่อสร้างและรักษาปริมาณน้ำนมไว้ แม่ควรล้างมือก่อนแตะชิ้นส่วนเครื่องปั๊มหรือขวดใด ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดปั๊มที่เหมาะสมหลังการใช้งานทุกครั้ง

ในกรณีแม่ได้รับการยืนยันแล้วว่ามีเชื้อ Covid-19 การตัดสินใจว่าจะเริ่มให้นมแม่หรือหยุดให้จะต้องเกิดขึ้นผ่านการประสานงานระหว่างแม่และแพทย์ ควรใช้มาตรการป้องกันที่เป็นไปได้ทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสสู่ทารก

การมีลูกเป็นโอกาสที่สำคัญที่ควรเฉลิมฉลอง รวมถึงในช่วงที่มีการระบาดใหญ่เช่นนี้ ดูแลตัวเองให้แข็งแรง ล้างมือ รักษาระยะห่างทางสังคม และติดต่อกับแพทย์ตลอดการตั้งครรภ์ การมีโรคระบาดใหญ่ไปทั่วโลกอาจไม่ใช่สิ่งที่คนเราคาดคิด แต่คุณจะมีเรื่องราวมากมายที่จะเล่าแก่ลูก ๆ ของคุณแน่นอนค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0