โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ต่างวัยแต่เข้าใจกัน - เฟื่องลดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 18 เม.ย. 2562 เวลา 09.47 น.

เคยได้ยินคำว่า Digital Generation Gap ไหมคะ

คนต่างวัยมีทักษะดิจิตัลที่พัฒนาได้ไวกว่าคนรุ่นก่อนเพราะเติบโตมาในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาแล้ว

เราเห็นผู้ใหญ่ที่โตมาในยุคอนาล็อคสอนเด็กที่เพิ่งเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ว่าใช้เม้าส์อย่างไร ตอบอีเมลล์อย่างไร วัยรุ่นยังคงไปถามความรู้จากคนรุ่นพ่อแม่เมื่อคอมพิวเตอร์เสีย 

แต่เมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนโปรไฟล์ Facebook ตามเทรนด์ข่าวจาก # ใน Twitter 

ผู้ใหญ่เริ่มเป็นฝ่ายถามเด็กรุ่นใหม่ว่าต้องทำอย่างไร

ช่องว่างนี้ไม่เพียงส่งผลต่อทักษะดิจิตัลเท่านั้น

แต่เปลี่ยนวิธีสื่อสาร เรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์

วิธีที่เราคิดและมองโลกแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ 

คนรุ่นก่อนติดตามข่าวทางโทรทัศน์และนิยมแชร์ข่าวทาง Line 

คนรุ่นใหม่อ่านข่าวจากโลกออนไลน์เป็นหลักและติดตามความเห็นจากคนที่คิดว่าเป็นไอดอล 

เมื่อสื่อที่เสพแตกต่าง วงสังคมเพื่อนแตกต่าง

คนต่างวัยจึงเห็นโลกไม่เหมือนกัน

แล้วเราจะเปลี่ยนความห่างเป็นความเข้าใจ และลดช่องว่างระหว่างวัยนี้อย่างไร

องศาที่ต่างของความห่าง 

เคยเห็นกระแส # ใน twitter อันหนึ่งที่เด็กรุ่นใหม่ตั้งคำถามว่า #อยู่ก่อนแต่งหรือแต่งก่อนอยู่

ผู้ใหญ่หลายคนคงแปลกใจไม่น้อย ถ้าพบว่าเด็กวัยรุ่นหลายคนเข้ามาตอบว่าอยู่ทีม #อยู่ก่อนแต่ง

เพราะอยากศึกษาการใช้ชีวิตด้วยกันก่อนตัดสินใจแต่งงาน

หากไม่เคยกดเข้าไปใน # นี้ หรือไม่เคยเล่น twitter ก็อาจไม่รู้ว่า

เพราะอะไรถึงมีเด็กวัยรุ่นมากมายที่มีมุมมองแบบนี้

นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่างที่เป็นหลักฐานความคิดต่างจากกรอบสังคมและคนยุคก่อน 

ปัจจัยที่ทำให้ค่านิยม ความเชื่อเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

คือ โลกออนไลน์ที่ทำให้เข้าถึงข่าวสารวัฒนธรรมโลกตะวันตกได้มากขึ้น

คนรุ่นใหม่เปิดรับข่าวสารในโลกไร้พรมแดนหลากหลายรูปแบบ 

ทุกสื่อที่เสพเพิ่มช่องว่างความต่างไปทีละนิด ปรับองศาด้านมุมมองและพฤติกรรมไปทีละหน่อย

จนทำให้ช่องว่างระหว่างวัยนี้ขยายกว้าง 

ด้วยความต่างอย่างเห็นได้ชัดนี้ จึงมีคำกล่าวที่เรียก

คนที่โตมาในยุคที่เทคโนโลยีและโลกออนไลน์แพร่หลายแล้ว ว่า digital native

คนกลุ่มนี้เรียนรู้การเสิร์ช google พร้อมๆกับการค้นข้อมูลในหนังสือ มีสมาร์ทโฟนเครื่องแรกตั้งแต่เด็กทำให้พัฒนาทักษะดิจิตัลได้เร็ว 

ในขณะที่คนรุ่นก่อนถูกเรียกว่า digital immigrant หรือ กลุ่มคนที่เคยชินกับโลกยุคไร้อินเทอร์เน็ตและสื่อแบบดั้งเดิม เช่น หนังสือ มาก่อน ทำให้การปรับตัวและพฤติกรรมในโลกออนไลน์แตกต่างจากเด็กยุค Milliennial

สมมติว่า หากคนเราเสพสื่อต่างกัน 1 ครั้ง จะทำให้มุมมองเราขยับห่างกันขึ้น 1 องศา

วิธีมองโลกเปลี่ยนไป วิธีคิดและวิธีเสพข้อมูลเปลี่ยนไปทีละนิด

เมื่อความต่างค่อยๆขยับห่างทีละ 1 องศา รวมกันเป็น 90 180 หรือ 360 องศา

นั่นทำให้บางครั้งคนต่างวัยมีมุมมองต่างกันสุดขั้วที่ต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจกันเลย 

Mind the (Generation) Gap 

ความไม่เข้าใจกันไม่ได้มีแค่เรื่องมุมมองแต่เป็นเรื่องพฤติกรรมด้วย 

เด็กวัยรุ่นคิดว่า การส่งภาพ “สวัสดีวันจันทร์” ทาง Line เป็นเรื่องน่าขบขัน

แต่ในขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็คิดว่าการติดตามเน็ตไอดอลและลงไอจีสตอรี่ถี่ๆเป็นเรื่องไร้สาระ

ความน่ากลัวของช่องว่างระหว่างวัย คือ หลายครั้งเราไม่รู้ว่าช่องว่างนี้มีผลมากกว่าที่คิด

ผู้ปกครองอยากดูแลบุตรหลานให้เสพข่าวที่สร้างสรรค์และใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

แต่หลายครั้งคนรุ่นพ่อแม่ไม่รู้จักแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่เด็กๆชอบใช้ดีเท่าลูกหลานของตัวเอง

ช่องว่างที่มีสามารถลดได้โดยแต่ละฝ่ายเดินเข้าหากันคนละก้าว

เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนมุมมองในสิ่งที่คิดต่างและเรื่องที่ตัวเองไม่รู้

แค่พร้อมทำความเข้าใจและรู้ว่าทำไมเราต่างกัน 

ก็ขยับให้เราใกล้กันขึ้นอีกนิดแล้ว 

ที่มา

https://www.forbes.com/sites/larrymagid/2012/11/14/for-kids-and-parents-theres-a-digital-genertion-gap-but-maybe-thats-ok/#5b929200da1a

https://www.fosi.org/good-digital-parenting/parents-teens-technology-bridging-generation-gap/

https://www.huffpost.com/entry/the-digital-generation-ga_b_4380017

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: http://www.facebook.com/faunglada

Youtube: http://www.youtube.com/faunglada

Twitter: @faunglada

Website: www.faunglada.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0