โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal ?

aomMONEY

อัพเดต 30 พ.ค. 2563 เวลา 09.21 น. • เผยแพร่ 30 พ.ค. 2563 เวลา 09.21 น. • กองบรรณาธิการ
ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal ?
ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal ?

เนื่องมาจากงาน aomMONEY Investment Conference 2020 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา และได้เสียงตอบรับอย่างล้นหลาม

วันนี้ aomMONEY ขอนำบทสัมภาษณ์ จาก ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร หัวเรือใหญ่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET ในประเด็นหัวข้อ “ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal ?”

Image may contain: 1 person
Image may contain: 1 person

“COVID-19 ไม่ใช่เรื่องใหม่” วิกฤตเศรษฐกิจมักเกิดขึ้นทุกๆ 10 ปี 

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร : จริงๆ แล้ว วิกฤตเศรษฐกิจ COVID-19 ครั้งนี้เป็นวิกฤตที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่จริงๆ แล้ววิกฤตเศรษฐกิจในลักษณะนี้เกิดขึ้นทุกๆ 10 ปี นับแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2008 - 2009 จนมาปี 2020 เกิดวิกฤต COVID – 19 

.

ในปี 1997 – 1998 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งส่งผลกระทบต่อชาติในเอเชีย ซึ่งไทยเองในขณะนั้น GDP - 7.6% แต่ภาพรวมทั้งโลก GDP ยัง +2.5%  โดยปัจจัยที่ทำให้ฟื้นตัวกลับมา คือ การลดค่าเงินบาทและกระตุ้นการส่งออก  

.

ต่อมาในปี 2008 – 2009 เกิดวิกฤตวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ครั้งนี้ส่งผลกระทบจากฝั่งยุโรปมากกว่า ไทยเลยไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่เมื่อเทียบจากวิกฤตก่อนหน้านี้ ประกอบกับจีนซึ่งถือเป็นชาติเอเชียที่มีการเติบโตที่ดี โดยในขณะนั้น GDP ของไทย - 0.7% ขณะที่ภาพรวมทั้งโลก GDP - 1.7% โดยสิ่งที่ทำให้โลกฟื้น คือ มาตราการกระตุ้นทั่วโลก

 .

สำหรับ COVID – 19 ในปี 2020 นี้เป็นวิกฤตที่ทั้งโลกได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการคาดการณ์ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์ว่า GDP ไทยจะอยู่ที่ -5.5% โดยทั่วโลกใช้วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการการช่วยเหลือและเยียวยาทางด้านการเงินการคลังอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ในไทยการกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาและเยียวยา แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้วิกฤตนี้หมดความกังวล คือ “วัคซีน” เพราะวิกฤตครั้งนี้เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเศรษฐกิจ แม้ว่าจะเป็นอีกวิกฤตที่เกิดขึ้นทุกๆ 10 ปี แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา

“วิกฤตครั้งนี้เกิดจากความทับซ้อนในหลายปัจจัย”

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร : วิกฤตครั้งนี้หลายคนเรียกวิกฤต COVID – 19 แต่จริงๆ แล้ว นับตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า เกิดความทับซ้อนในหลายปัจจัย หากจำกันได้ตลาดทุนของเราเปิดที่ 1,500 จุด จนกระทั่ง

.

  • เดือนมกราคม เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างทางสหรัฐฯ กับอิหร่าน 
  • เดือนกุมภาพันธ์ เกิดการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ไปยังทั่วโลก 
  • เดือนมีนาคม เกิดสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุฯ กับรัสเซีย 
  • เดือนเมษายน เจอกับภัยแล้งที่เรื้อรัง

.

ส่วนล่าสุดกลับมามีประเด็นอีกครั้ง สำหรับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีหลากหลายปัญหาถาโถมเข้ามา 

“มาตรการการเงินการคลัง คือ ปัจจัยที่สำคัญในการประคองวิกฤตให้ดีขึ้น”  

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร : สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญในการประคองวิกฤตนี้ให้บวก คือ มาตรการการเงินการคลังจากแต่ละประเทศที่เยอะ โดยญี่ปุ่นเองกระตุ้นสูงถึง 21% จาก GDP ส่วนของไทยเองอยู่ที่ 10% เช่นเดียวกับสหรัฐ ทุกประเทศร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งเงื่อนไขสำคัญ คือ “การมีวัคซีน”

“New Normal” ในมุมของเศรษฐกิจ คือ “3 Lows , 3 Highs”

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร : “New Normal” ในมุมของเศรษฐกิจ อันแรกคือ “3 Lows , 3 Highs” โดยในมุม Low หรือ ต่ำลง คือ “ภาวะเงินเฟ้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ และดอกเบี้ย” ขณะที่ Highs หรือ สูงขึ้น คือ “การว่างงาน หนี้ครัวเรือนและหนี้สาธารณะ”

.

โครงการที่เชื่อมโยงกับภาครัฐ อะไรที่เกี่ยวกับภาครัฐฟื้นตัวได้เร็วขึ้น จากนี้ในความปกติใหม่จะมีการใช้ Unconventional policy มากขึ้น เช่น ร้านอาหารที่จากที่นั่งได้ 20 - 30 คนภายในร้านหรือเพียงแค่โต๊ะละคน ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้กับธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี สุขภาพ การเกิดขึ้นของ De - globalization รวมทั้งการมาของ More digitization 

ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal ?

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร : ในส่วนของตลาดทุน จากปัญหาดังกล่าวทำให้กราฟอัตราผลตอบแทนดัชนีหลักทรัพย์อาเซียนตกลงไปค่อนข้างมาก ไม่ใช่แค่ไทย แต่รวมไปทั่วโลก โดยแต่ละประเทศเทศมีการจัดการปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอกที่แตกต่างกันไป ประเทศไทยเองก็มีการล็อคดาวน์ โดยฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆ 

.

หลายสาขาธุรกิจได้รับอานิสงส์ที่ดีจาก COVID อย่าดูแค่ภาพรวมเพียงอย่างเดียว เราต้องดูที่ภาพย่อยด้วย แม้สภาพัฒน์ฯ จะประกาศออกมาว่าไตรมาสที่ 1 GDP ไทย -1.8% โดยทั้งปีคาดว่า -5.5% ซึ่งในไตรมาสที่ 2 -4 จะลดลงตามลำดับ เพราะมีผลกระทบมาจากไตรมาสที่ 1 

.

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมองลงมาในหลาย Sector ไม่ได้กระทบทุก Sector ที่กระทบอย่างหนัก คือ ธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว -20% ก่อสร้าง -10% อย่างไรก็ดีในส่วนของกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ากลับโต เนื่องจาก WFH รวมทั้งธุรกิจการค้าการขาย ค้าปลีกเยอะขึ้น เรื่องของ ICT การใช้ข้อมูล เครื่องมือสื่อสาร ขยายตัวได้ดี 

“ทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ” 

ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร : หากพูดในเรื่องของการปรับตัว หลายธุรกิจเริ่มดำเนินการ อาทิ การเน้นสุขลักษณะเป็นจุดขายและใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น ในส่วนของประเทศเอง มีตลาดหลักทรัพย์ถือเป็น “แหล่งระดมทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ” เพื่อให้บริษัทฯ ใช้เงินทุนตรงนี้ไปฟื้นฟู มีเรื่องระดมทุนกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มทุนผ่านหุ้นเป็นสิ่งหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ตลาดทุนพร้อมเป็นแหล่งระดมทุน เป็นแหล่งการออมระยะยาวในอนาคตรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทุกวิกฤตมีทั้งความเสี่ยงและโอกาส ฉะนั้น ติดตาม อย่าตื่นตระหนก และมองโอกาสในวิกฤต ติดตามข้อมูลให้ดี

และนี่คือบทความสรุปในหัวข้อ “ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal” จาก ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร หัวเรือใหญ่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET ที่ทางทีมงาน aomMONEY สรุปมาให้เพื่อนๆ อ่านกัน ส่วนใครที่อยากชมการสัมภาษณ์เวอร์ชั่นวีดีโอ คลิกดูได้เลยที่ด้านล่าง 

ขอบคุณครับ 

บ.ก.aomMONEY

 

“ตลาดทุนไทยจะเป็นอย่างไรในยุค New Normal” 

จาก ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร หัวเรือใหญ่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือ SET

https://youtu.be/QVe5nLD4FgI

.

.

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก aomMONEY

.

📌 Website : www.aomMONEY.com

📌 Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH

📌 กลุ่มกองทุนไหนดี : https://www.facebook.com/groups/SelectedFund/

.

.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0