โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ดันกม.TODพัฒนาที่รอบสถานี ลดความเสียเปรียบผู้ถูกเวนคืน

Manager Online

อัพเดต 11 ก.พ. 2562 เวลา 15.32 น. • เผยแพร่ 11 ก.พ. 2562 เวลา 15.32 น. • MGR Online

“ไพรินทร์”ดัน ออกกฎหมาย TOD หนุนพัฒนาเมืองรอบสถานีรถไฟ เป็นการเฉพาะ แก้ปม กฎหมายเวนคืน ไม่เปิดช่อง และเพิ่มโอกาสผู้ถูกเวนคืนได้สิทธิ์ร่วมอยู่ในพื้นที่ได้ โดยใช้การจัดรูปที่ดินแบบญี่ปุ่น เล็งนำร่องพท.EEC

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ครั้งที่ 1 ปาฐกถาพิเศษ “ร่วมสร้างเมือง TOD เสริมศักยภาพพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจไทยมั่นคง” ว่า สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาฯ ขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ซึ่ง การพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีขนส่ง (Transit-Oriented Development : TOD) ถือเป็นเครื่องมือใหม่ที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการพัฒนาพื้นที่เกิดประโยชน์สมบูรณ์

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมเห็นว่าควรมีการพัฒนากฎหมาย TOD ขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาที่ดินควบคู่กับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อลดความขัดแย้งของสังคม เนื่องจากการใช้กฎหมายเวนคืนที่ผ่านมา มีปัญหาเพราะมีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ คือคนที่ถูกเวนคืนเสียประโยชน์เพราะต้องออกจากพื้นที่ แต่คนที่ไม่ถูกเวนคืนแต่ที่อยู่ติดกับโครงการ ได้รับประโยชน์จากมูลค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

“ประโยชน์ของการมีกฎหมาย TOD คือเครื่องมือในกานได้มาซึ่งที่ดิน และทำให้ สถานีรถไฟ รถไฟฟ้า มีการพัฒนาพื้นที่หรือเมืองรอบสถานีอย่างครอบคลุม ไม่ใช่พัฒนาเมืองฝั่งใด ฝั่งหนึ่ง ประชาชนโดยรวมได้ประโยชน์ ไม่ใช่การถูกรอนสิทธิ ซึ่ง แตกต่างกันแบบกฎหมายเวนคืน เช่น คนถูกเวนคืนก็เสียประโยชน์ คนอยู่ติดกับ พ.ท.เวนคืน ที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สถานีรถไฟฟ้า ได้ประโยชน์ โดยการให้กฎหมาย TOD จะทำให้ทุกคน ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนา จะขายที่ดินให้รัฐในราคาตลาดแล้วจะซื้อคืนเพื่อเข้ามาอยู่ที่ดินที่ได้รับการพัฒนาแล้วก็ย่อมได้ และมีมูลค่าเพิ่มของที่ดินด้วย ”นายไพรินทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในการพัฒนาพื้นที่ ECC ซึ่งมาตรา 34 ได้กำหนดเรื่อง TOD ไว้ด้วย โดยสนข. สามารถจะเลือกพื้นที่นำร่องTOD ได้แก่ ฉะเชิงเทรา พัทยา อู่ตะเภา

นาย ชยธรรม์ พรหมศณ รองผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า จะศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์ ที่ กฎหมาย TOD จะครอบคลุมอะไรบ้าง โดยจะสรุปการศึกษาในปี2563

สำหรับการศึกษาเบื้องต่กจากประเทศญี่ปุ่นพบว่า มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น หรือมีการแก้กฎหมายบางส่วนเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้. เช่น การเก็บภาษี นอกจากนี้ยังมีการปรับแก้กฎหมายบางส่วนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอีดวย ซึ่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

โดยพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ TOD ทั่วประเทศ ตามแนวเส้นทางรถไฟของไทย มีประมาณ 235 พื้นที่ จากทั้งหมด 883 สถานี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0