โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ชี้เป้า หุ้นไหน น่าเก็บ ต.ค. นี้

Businesstoday

เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 02.15 น. • Businesstoday
ชี้เป้า หุ้นไหน น่าเก็บ ต.ค. นี้

บล.ไอร่า ประเมิน SET ต.ค. ยังคงผันผวน จากปัจจัยภายนอกประเทศ ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ชิมช้อปใช้” เข้ามาหนุน Sentiment เชิงบวกให้มีความคึกคักเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยกระตุ้น GDP ในไตรมาส4/2562 ได้ประมาณ 0.2 – 0.3%

ฝ่ายวิจัย
บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า จำกัด (มหาชน) หรือ
AIRA
ประเมินทิศทางตลาดและกลยุทธ์การลงทุนช่วงเดือนตุลาคมว่า
หากพิจารณาภาพรวมในเชิงบวก
ในช่วงเดือนนี้ทางฝ่ายวิจัยมองว่ายังคงมีแรงเก็งกำไรจากเรื่องผลประกอบการงบไตรมาส3/2562 ที่จะปิดงบและจะทยอยแจ้งออกมา
ดังนั้นจึงคาดว่าจะมีแรงเก็งกำไรในเรื่องดังกล่าวต่อเนื่องถึงกลางช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้
นอจากนี้
ยังแนะให้จับตาความเป็นไปได้ที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเพิ่มอันดับ Credit
Rating ไทย ช่วงปลายปี – ต้นปี2563

ชิมช้อปใช้ กระตุ้น GDP ไตรมาส 4

ในขณะที่มาตรการชิมช้อปใช้
เข้ามาสร้าง Sentiment เชิงบวก
ในภาคการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยกระตุ้น GDP ในไตรมาส4/2562 ได้ประมาณ 0.2 – 0.3% พร้อมกันนี้
ยังมีการออกมาคาดการณ์ว่ารัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นต่อเนื่อง
เพื่อช่วยชดเชยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลง รวมถึงการส่งออกหดตัว
ในขณะเดียวกันจากภาพรวมของการประเมินมีหลายๆฝ่าย ออกมาคาดการณ์ปรับเป้าหมาย GDP
ในปี2562 ลง โดยมองว่ามีแนวโน้มต่ำกว่า 3.0%

ส่วนภาคการท่องเที่ยวนั้น
จะเห็นได้ว่าจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ช่วงเดือนส.ค. 62 อยู่ที่ 3.47 ล้านคน เพิ่มขึ้น 7%YoY และเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก.ค 62 โดยเป็นนักท่องเที่ยวจีน 1.03 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้น
19%YoY และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก.ค 62 ประมาณ 6%
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภาคการท่องเที่ยวเริ่มมีการฟื้นตัว โดยล่าสุดในช่วง 8 เดือนแรก มีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 26.56 ล้านคน
ทำให้มองว่าภายในปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว ประมาณ 40 – 41
ล้านคน ซึ่งเป็นเป้าหมายการเติบโตที่รัฐบาลประเมินไว้

จับตาสงครามการค้าสหรัฐ กับจีนและยุโรป

ส่วนปัจจัยต่างประเทศนั้น
บล.ไอร่า มองว่า ยังคงต้องจับตาสถานการณ์ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้ความกังวลต่อสงครามการค้าครั้งใหม่ ระหว่างสหรัฐฯ และ EU
และอยู่ระหว่างติดตามการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน (10 – 11ต.ค. 62) หากมีความชัดเจนและส่งสัญญาณดี
คาดเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมตลาดฯ

แต่ในทางกลับกันหากยังไม่สามารถตกลงกันได้
คาดว่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2
ประเทศ อาจจะทวีคูณเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะกดดันภาพรวมการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่วันที่ 15 ต.ค. 62
จะครบกำหนดสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน วงเงิน 250,000 ล้านUSD จาก 25% เป็น 30% และวันที่ 18 ต.ค. 62 สหรัฐฯ
เรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจาก EU วงเงิน 7,500 ล้านUSD ซึ่งปัจจัยดังกล่าว
ยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสร้างความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าหากมีความยืดเยื้อ

พร้อมกันนี้ยังมีประเด็นที่น่าจับตา
กรณีปัจจัยหนุนจากการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เช่น ECB
กลับมาใช้ QE วงเงิน 20,000 ล้านยูโร/เดือน เริ่มตั้งแต่ พ.ย.'62 เป็นต้นไป
พร้อมติดตามการประชุมเฟด 29 – 30 ต.ค. 62 มีโอกาสสูงที่เฟด อาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก
หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดอ่อนแอ
"ภายใต้ความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
รวมถึงประเด็นสงครามการค้าที่ยังมีความไม่แน่นอน
พร้อมกับข้อพิพาททางการค้าครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และ EU คาดยังกดดันหุ้นในกลุ่ม
Global Play เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และกลุ่มพลังงาน
ที่คาดความต้องการชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ"

แนะดักทาง 6 หุ้นเด่นพื้นฐานดี

จากแนวโน้มและภาพรวมการลงทุนที่ยังคงมีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง
โดยประเมินว่า กลยุทธ์การลงทุน ให้กรอบแนวรับสำคัญไว้ที่ 1,599 จุด หากหลุดแนวรับดังกล่าว จะถือเป็นสัญญาณขาย
นอกจากดัชนีจะสามารถเด้งกลับไปยืนเหนือ 1,620 จุดได้
ดังนั้นจึงแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่ม Domestic Play ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ
อาทิ กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มค้าปลีก เป็นต้น

แนะลงทุนหุ้นกลุ่ม ที่สามารถรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่มีความผันผวน เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า เป็นต้น และทยอยสะสมหุ้นเชิงพื้นฐานที่ผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่องในปี 2563 ซึ่งมีหุ้นที่น่าสนใจ คือ

  • BBL ราคาเป้าหมายที่ 209 บาท
  • CBG ราคาเป้าหมาย(ปี63)ที่ 91 บาท
  • CPN ราคาเป้าหมายที่ 90 บาท
  • GPSC ราคาเป้าหมายที่ 76 บาท
  • *SPA ราคาเป้าหมายที่ 17.20 บาท *
  • STEC ราคาเป้าหมาย(ปี63)ที่ 27.25 บาท
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0