โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

บันเทิง

ชีวิตต้องสู้ของสาวม้งลาว "เคลลี ชอวิน" (อดีต)เมียตร.ฆ่า "จอร์จฟลอยด์" กับวัยเด็กที่ถูกเยาะเย้ยก่อนคว้ามงกุฏ Mrs.Minnesota

Manager Online

เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 01.46 น. • MGR Online

บานปลายทีเดียวสำหรับการออกมาประท้วงของชาวอเมริกันตลอดจนคนในอีกหลายประเทศต่อกรณีการเสียชีวิตของหนุ่มผิวสี "จอร์จ ฟลอยด์" (George Floyd) โดยฝีมือตำรวจผิวขาว "ดีเรค ชอวิน" (Derek Chauvin) แม้ตอนนี้เจ้าตัวจะถูกควบคุมตัวเพื่อดำเนินคดีในข้อหาฆาตกรรมแล้วก็ตาม

กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หนึ่งคนที่ต้องมาโดนหางเลขไปแบบเต็ม ๆ ก็เห็นจะเป็นทางด้านของ "เคลลี ชอวิน" (Kellie Chauvin) ซึ่งเป็นภรรยาของนายตำรวจคนดังกล่าวนั่นเอง

โดยหลังจากเกิดเรื่องขึ้น 3 วันต่อมาทางด้านของ "เคลลี ชอวิน" ก็ได้ขอแยกทางและหย่าขาดจากสามีทันที พร้อมยืนยันว่าจะไม่ขอรับเงินอีกฝ่ายแต่ขอให้ศาลอนุญาตให้ตนเปลี่ยนนามสกุลได้เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้นามสกุลอดีตสามีอีกต่อไป เนื่องจากรับไม่ได้ต่อพฤติกรรมการเหยียดผิวของผู้เป็นอดีตสามี

นอกจากนี้เธอยังได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วย

ทั้งนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกใจแต่อย่างใดที่ตัวของ "เคลลี" เองจะออกมาแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้แบบทันทีทันใด เพราะนอกจากจะเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจแล้ว เรื่องการเหยียดสีผิวตลอดจนเชื้อชาติพรรณก็เป็นสิ่งที่เธอเข้าใจได้เป็นอย่างดี เพราะในอดีตเธอเองก็เคยโดนมาแล้วเช่นกัน

"เคลลี" เป็นสาวชาวม้งที่เกิดในประเทศลาวปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ.2517) ซึ่งเป็นช่วงสงครามกลางเมือง ก่อนที่ครอบครัวจะหนีเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2520 และย้ายไปอยู่ที่รัฐวิสคอนซินในอีกสามปีต่อมา โดยเธอเคยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ไว้ว่า…

"ที่นั่นพวกเขาพูดว่าเป็น 'ดินแดนอิสระ' แต่ฉันก็ยังไม่รู้สึกว่าเราเป็นอิสระ เพราะเราไม่รู้ภาษาอังกฤษ พ่อแม่ของฉันไม่ต้องการให้พวกเราออกจากบ้านเพราะพวกเขาไม่มั่นใจว่าข้างนอกจะเป็นอย่างไร ดังนั้นส่วนใหญ่พวกเราจึงรวมกุล่มกันอยู่แต่เฉพาะภายใน"

การแต่งงานครั้งแรกของ "เคลลี" เกิดขึ้นเมื่อเธออายุ 17 ปีโดยเธออธิบายว่าเป็น "ความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม" เธอมีลูกสองคนกับสามีคนแรก แต่หลังจาก 10 ปีเธอก็ฟ้องหย่ากับเขาและย้ายไปที่รัฐมินเนโซตา

ที่นั่นเธอจะได้พบกับ "ดีเรก ชอวิน" นายตำรวจที่จับผู้ต้องหามาตรวจสุขภาพที่ศูนย์การแพทย์ Hennepin Countyที่เธอทำงานอยู่ ก่อนที่งสองจะสานสัมพันธ์และแต่งงานกันวันที่ 12 มิ.ย. 2553

โดย "เคลลี" เคยให้สัมภาษณ์ถึงอดีตสามีไว้ว่า…"ภายใต้ชุดเครื่องแบบ แท้จริงแล้วเขาก็ยังเป็นแค่คนนี้แยคนหนึ่งเท่านั้นเอง เขาเป็นสุภาพบุรุษ ถึงเดี๋ยวนี้ก็ยังช่วยเปิดประตูให้ฉันเสมอ ช่วยสวมเสื้อโค้ทให้ฉัน ตั้งแต่หลังจากการหย่าครั้งแรก ฉันเองวางคุณสมบัติของคนที่จะมีความสัมพันธ์ด้วยเอาไว้หลายข้อ ซึ่งเขาเป็นคนที่ใช่ทุกข้อ"

ชื่อของ "เคลลี" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างหลังจากที่เธอกลายเป็นหญิงชาวม้งคนแรกที่คว้าตำแหน่ง Mrs.Minnesota 2018 มาครอง และนั่นเองที่ทำให้เรื่องราวที่น่าสนใจของตัวเธอได้รับการเปิดเผยออกมา

ที่ผ่านมา "เคลลี" ได้ร่วมบริจาคเงินให้กับองค์กรไม่แสวงหากำไรและธุรกิจขนาดเล็กของชาวม้งมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครเป็นล่ามในโรงพยาบาล รวมถึงพยายามทำบ้านของเธอให้เป็นที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงม้งที่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก

ไม่เพียงเท่านั้นเธอยังจัดหาของในช่วงฤดูหนาวให้กับครอบครัวที่ขาดแคลนและยังวางแผนจะให้ทุนการศึกษาแก่ชาวม้งที่อพยพมาใช้ชีวิตในอเมริกาด้วย

"เคลลี" ให้สัมภาษณ์ระหว่างเป็นตัวแทนของรัฐมินเนโซตาในการประกวดนางงาม ว่าในฐานะเด็กที่ถูกเยาะเย้ยในเรื่องมรดกลักษณะชาติพรรณและสถานะผู้ลี้ภัยของเธอ เธอจึงหวังว่าการเป็นตัวแทนของชุมชนม้งในการประกวดคงจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กสาวที่กำลังเผชิญกับคำวิจารณ์ที่คล้ายกันได้

"ฉันเคยได้รับข้อความจากผู้หญิงคนหนึ่ง เธอบอกว่าเธอภูมิใจในตัวฉันมากที่สร้างประวัติศาสตร์ ขอบคุณที่เปิดประตูใหม่สำหรับผู้หญิงม้งทุกคน คำพูดนี้มีพลังมากและทุกครั้งที่ฉันอ่านมันทำให้ฉันขนลุก" เจ้าของตำแหน่ง Mrs. Minnesota 2018 เผย

ปัจจุบัน "เคลลี" ทำงานในบริษัทที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของสามีแต่เธอก็อดเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัยในสิ่งที่อดีตสามีกระทำไว้ไม่ได้จนต้องขอให้เจ้าหน้าที่เข้ามารักษาปกป้องความปลอดภัยให้แก่ลูก ๆ และพ่อแม่ชาวลาวของเธอ

website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0