โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ชิมช้อปใช้4 อัด3.5หมื่นล้าน ลงทะเบียน1เม.ย.

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 28 ก.พ. 2563 เวลา 04.00 น. • Thansettakij

 

 

 

คลังเตรียมเสนอครม. 3 มี.ค. ใช้งบ 8,500 ล้านบาท ทำโครงการบัตรคนจนรอบ 2 พร้อมเปิดลงทะเบียน 23 มี.ค.- 26 เม.ย.นี้ ยันคำนวณรา/ยได้รายครัวเรือน ส่วนสัปดาห์ถัดไป ดัน “ชิมช้อปใช้ ช่วยชาติ” กระตุ้นใช้จ่ายในประเทศ ก่อนให้ลงทะเบียน 1 เมษายน-30 มิถุนายน คาดใช้งบ 35,000 ล้านบาท 

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 มีนาคม พิจารณาโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2563 หรือลงทะเบียนบัตรสวัสดิการรอบ 2 ที่จะเปิดให้ผู้มีรายได้น้อยลงทะเบียนระหว่างวันที่  23 มีนาคม-26 เมษายน 2563 โดยกระทรวงการคลังจะดำเนินการสำรวจผู้มีรายได้น้อยที่เป็นข้อมูลปัจจุบันให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดใหม่ เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการให้ผู้มีรายได้น้อยตัวจริงได้รับบัตรมากที่สุด โดยคาดว่าจะใช้เม็ดเงินประมาณ 8,500 ล้านบาท ใช้เม็ดเงินจากงบกลาง ในรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินปี 2563 มาดำเนินการ 

ทั้งนี้การลงทะเบียนเพื่อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบนี้ จะมีการตรวจสอบรายได้เป็นรายครัวเรือน เพื่อแก้ปัญหาผู้ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่มีครอบครัวดูแล ขณะเดียวกันจะมีการทบทวนข้อมูลของผู้ถือบัตรเพื่อให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นและกระทรวงการคลังสามารถตัดสิทธิและเพิ่มสิทธิผู้ถือบัตรได้ตลอดเวลา ส่วนสวัสดิการต่างๆ ของผู้ถือบัตรจะยังคงใช้สวัสดิการเดิมที่มีในปัจจุบัน แต่จะกำหนดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและความจำเป็นของผู้มีรายได้น้อยแต่ละบุคคลมากขึ้น

 

เปิดลงทะเบียนคนจนรอบ2

นอกจากนั้น ในการประชุมครม.ครั้งต่อไป วันที่ 10 มีนาคม กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการชิมช้อปใช้ ช่วยชาติ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและท่องเที่ยวในประเทศ โดยจะเปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิระหว่างวันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2563 ซึ่งคาดว่าจะใช้เม็ดเงินในการดำเนินการ 35,000 ล้านบาท โดยจะใช้งบกลางในการดำเนินการเช่นกัน 

รายงานข่าวระบุว่า ในเดือนเมษายน กระทรวงการคลังยังจะเสนอครม.พิจารณา โครงการประชารัฐสร้างไทย เพื่อสนับสนุนเงินทุนให้กองทุนหมู่บ้านระดับ A B C หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โดยธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน วงเงิน 71,742 ล้านบาท ซึ่งรัฐจะชดเชยเงินตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังต่อไป รวมถึงพิจารณาการกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หนี้สาธารณะ เพื่อลงทุนในระบบถนน นํ้าและการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ วงเงิน 1 แสนล้านบาท

 

2ปีใช้เงินรวม 9.87 แสนล.

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาครม. ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมัติวงเงินไปแล้วกว่า 9.87 แสนล้านบาท ในการกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างปี 2562-2563 โดยปี 2563 ได้ออกมาตรการต่อเติมเสริมทุน SMEs สร้างไทย เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ต้องการสภาพคล่อง โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) จะมีวงเงินคํ้าประกัน 60,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายค่าชดเชยความเสียหายไม่เกิน 40% ของวงเงินคํ้าประกัน ซึ่ง
สามารถคํ้าประกันให้กับลูกหนี้ที่มีศักยภาพ แต่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลูกหนี้ Re-finance ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่องให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ พร้อมทั้งวงเงินสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐ 

การขยายระยะเวลาประกันสำหรับ SMEs ที่กำลังจะถูกฟ้อง ตามโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 ที่จะขยายระยะเวลาการคํ้าประกันในโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 ออกไปอีก 5 ปี รวมถึงยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเมื่อสถาบันการเงินดำเนินคดีกับ SMEs โดยให้สถาบันการเงินสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และการให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพ
ทั้งโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและโครงการคํ้าประกันสินเชื่อต่างๆ ซึ่งมีวงเงินช่วยเหลือและวงเงินสินเชื่อในการดำเนินการรวมทั้งหมด 260,000 ล้านบาท

มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ซึ่งเป็นการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน ด้วยการให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ 250% หรือ 2.5 เท่า ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2563 พร้อมยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 146 รายการ และสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยมีวงเงินในการดำเนินการรวม 110,000 ล้านบาท

 

ออกมาตรการช่วยท่องเที่ยว 

มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา(Covid-19) ด้วยการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 สำหรับบุคคลธรรมดา ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปี 2563 ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในเดือนมิถุนายน ของปี 2563 รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 31 ธันวาคม 2563 เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง โดยมีวงเงินช่วยเหลือและสินเชื่อรวม 123,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังยังมีแผนการเสนอครม.พิจารณาเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19 ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและแรงงานจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผ่านมาตรการภาษีและมาตรการทางการเงินด้วย

หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,552 วันที่ 27 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0