โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ชาวแพร่เข้าสู่เทศกาลไหว้พระธาตุ เริ่มด้วยพระธาตุเนิ้ง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยลื้อ

77kaoded

เผยแพร่ 17 ก.พ. 2563 เวลา 02.42 น. • 77 ข่าวเด็ด
ชาวแพร่เข้าสู่เทศกาลไหว้พระธาตุ เริ่มด้วยพระธาตุเนิ้ง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยลื้อ

ชาวแพร่เข้าสู่เทศการไหว้พระธาตุ เริ่มด้วยพระธาตุเนิ้ง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวไทยลื้อ
จังหวัดแพร่ยกระดับประเพณีไหว้พระธาตุเนิ้ง เป็นประเพณีสำคัญระดับจังหวัด เนื่องจากประเพณีดังกล่าวถือเป็นประเพณีสำคัญของชาวจังหวัดแพร่ ซึ่งมีประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นวัดพระหลวง ตำบลพระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่เป็นชุมชนดั้งเดิมเป็นชาวไทยลื้อจากเมืองเชียงแสน ที่อพยพมาตั้งบ้านเมืองใหม่ในพื้นที่แห่งนี้และกลายเป็นที่มาของพลเมืองชาวแพร่ ที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมสถาปัฎยกรรมโบราญของล้านนา สืบทอดมาจนปัจจุบัน

นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานไหว้พระธาตุเนิ้ง วัดพระหลวง ต.พระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาร่วมกับพระมิตร ถาวโร รองเจ้าอาวาสวัดพระหลวง นายพยุงศักดิ์ พลลุน นายอำเภอสูงเม่น ร่วมแถลงข่าวด้วย โดยกำหนดให้มีการจัดงาน 3 วันคือระหว่างวันที่ 28กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม ซึ่งถือปฏิบัติกันมาทุกปี เมื่องานวัดพระธาตุเนิ้งจบลงก็จะต่อด้วยการไหว้พระธาตุช่อแฮพระอารามหลวงต่อไปถือปฏิบัติมาตามประเพณีของเมืองแพร่ดั้งเดิม
งานประเพณีจะมีขบวนแห่พระธาตุจำลอง พานพุ่มดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ข้าวปลาอาหารหมากพลู ผ้าห่มองค์พระธาตุเข้าสู่บริเวณวัดพระหลวงด้วยการประดับประดาที่สวยงามพร้อมการแต่งกายด้วยชุดไทยลื้อพื้นเมือง ในช่วง 3 วันของงานนมัสการจะเปิดให้ประชาชนทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวเข้าชมวัด โบราณสถาน นมัสการพระธาตุอย่างต่อเนื่องตามประเพณีของชาวไทยลื้อสืบทอดกัน

นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า งานนมัสการพระธาตุเนิ้งถือเป็นประเพณีสำคัญของชุมชนท้องถิ่นคือ ชาวลื้อ เป็นชาติพันธุ์หนึ่งที่สร้างเมืองแพร่มาในยุคต้น มีความดีงามของผู้คน ความสามารถทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัฎยกรรม และความเลื้อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดประเพณี วัฒนธรรม และ สถาปัฎยกรรมทางศาสนา รวมทั้งตำราต่างจากพับสาโบราณที่มีการบันทึกไว้ในวัดแห่งนี้มากมาย ล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ต้องคงไว้ ถือเป็นนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งดีๆ เหล่านี้ให้อยู่สืบไป เป็นสมบัติล้ำค่าของชุมชน และเป็นปัจจัยสำคัญทางการท่องเที่ยวในอนาคต แต่ห่วงว่าถ้ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ต้องสูญเสียไป แต่ถ้ายังคงอนุรักษ์ไว้ วัดพระหลวงจะกลายเป็นเมืองที่สำคัญแห่งหนึ่งในล้านนา

ก่อนเริ่มงานนมัสการพระธาตุเนิ้ง กลุ่มผู้สูงอายุได้เข้ามาร่วมในการเตรียมงานอย่างคับคั่ง มีการประดิษฐ์ดอกไม้ และเทียนที่เตรียมไว้สำหรับบริการให้ชาวล้านนาเข้ามานมัสการพระธาตุไปพร้อมกับการบูชาเทียนตามประเพณีล้านนาด้วยนายนพวรรณ ร่มโพธิ์ ประธานกลุ่มผู้สูงอายุวัดพระหลวง กล่าวว่า ผู้สูงอายุพร้อมใจกันมาร่วมช่วยงานในวัดก่อนงานนมัสการ เตรียมงานให้วัดมีความพร้อมที่จะประกอบพิธีสืบชะตา ให้กับคนทั้งตำบล ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาทำให้เกิดสิริมงคลต่อผู้คนที่มาร่วมงาน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0