โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชาวสวนยาง ผวา! เชื้อราพันธุ์ใหม่ ระบาดหนัก เสียหายนับแสนไร่ ผลผลิตสูญกว่าครึ่ง

Khaosod

อัพเดต 17 ต.ค. 2562 เวลา 07.23 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 07.23 น.
รา

ชาวสวนยาง ผวา! เชื้อราพันธุ์ใหม่ ระบาดหนัก เสียหายนับแสนไร่ ผลผลิตสูญกว่าครึ่ง

วันที่ 17 ต.ค. นายวีระ นุ้ยผอม ผอ.การยางแห่งประเทษไทย (กยท.) สาขาสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเดินทางไปพบปะพูดคุยและทำความเข้าใจกับ เกษตกรผู้ปลูกยางพาราและชาวบ้านหมู่บ้านโล๊ะจูด ม.9 ต.โล๊ะจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส หลังจากที่ตรวจพบว่า ต้นยางพาราของชาวบ้านมีการแพร่ระบาดของ เชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ โรคใบร่วงชนิดใหม่ อย่างหนักในพื้นที่ 44 หมู่บ้าน 6 ตำบล ซึ่งมีสวนยางพาราทั้งหมด 106,415 ไร่ ได้รับความเสียหาย

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

โดยต้นยางพาราแต่ละต้นจะมีลักษณะคล้ายกับการพลัดใบ แต่ข้อสังเกตคือ ใบของต้นยางพาราที่ร่วงลงมาแต่ละใบที่ติดเชื้อรา จะมีลักษณะเด่นชัดคือ ใบจะมีรูปร่างคล้ายวงกลมสีเหลืองเป็นจุด เหมือนรอยไหม้ ซึ่งเชื้อราชนิดนี้ ได้แพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีภูมิอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก เหมือนกับพื้นที่ภาคใต้ของไทย

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า โรคเชื้อรานี้คาดว่า มีการแพร่ระบาดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จากกระแสลมที่พัดพานำเชื้อราเข้ามาในพื้นที่ อ.แว้ง และกระแสลมได้พัดพาเชื้อรานี้ต่อไปยังอำเภอใกล้เคียง จนแพร่ระบาดมายังพื้นที่ต่างๆของ จ.นราธิวาส ซึ่งอาการใบร่วงจากเชื้อราชนิดนี้ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นยางพารา เนื่องจากแต่ละต้นมีใบร่วงมากกว่าร้อยละ 90 จึงเป็นต้นเหตุทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ 30-50

หากเจ้าของสวนยางพารายังคงกรีดยางเพื่อเป็นรายได้ ในขณะที่ต้นยางพาราติดเชื้อรานี้ มีโอกาสจะส่งผลกระทบต่อต้นยางพาราในอนาคตได้ คืออายุของต้นยางพาราอาจจะสั้นลง เนื่องจากต้นยางพาราขาดน้ำเลี้ยงและเปลือกของต้นยางพาราจะแห้งและยืนต้นตายไปในที่สุด

นายวีระ กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อราชนิดดังกล่าว ในขณะนี้สำรวจพบหลายอำเภอ ซึ่งพื้นที่ที่แพร่ระบาดหนักสุดอยู่ที่ อ.แว้ง อ.ระแงะและอ.รือเสาะ ส่วนพื้นที่อื่นๆ เริ่มมีการแพร่ระบาดอยู่หลายจุด โดยภาพรวมคิดเป็นเนื้อที่หลายแสนไร่ ขณะนี้ทาง สำนักงาน กยท. ที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ เร่งลงพื้นที่สำรวจและทำความเข้าใจกับชาวบ้านในเบื้องต้น

โดยทาง ผอ.กยท.ไม่ได้นิ่งนอนใจ กำลังปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนำโดรนติดตั้งเครื่องบรรจุน้ำยาฆ่าเชื้อรา บินเพื่อโปรยน้ำยาฆ่าเชื้อราทางอากาศให้กับสวนยางพาราของชาวบ้าน โดยจะทดลองสวนยางพาราของชาวบ้านในพื้นที่ ต.โล๊ะจูด อ.แว้ง หากพบว่ามาตรการดังกล่าวได้ผล ก็จะมีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีและใช้โดรนเพื่อขอสนับสนุนโดรนมาบินโปรยยาฆ่าเชื้อราต่อไป

ด้านนายนิพนธ์ ศรีสุวรรณ ประธานศูนย์รวบรวมน้ำยางสด อ.แว้ง กล่าวว่า เบื้องต้นโรคใบร่วงนี้ตอนแรกดูเหมือนกับเป็นเหตุปกติ โดยในเวทีชาวบ้านมีการพูดคุยเริ่มแรกคือ น้ำยางไม่ออกสาเหตุเกิดจากอะไร ก็มานั่งวิเคราะห์กันในช่วงฤดูนี้ ซึ่งใบของต้นยางพาราไม่น่าจะร่วงได้ และเมื่อประมาณเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมกรรมการกลุ่มแปลงใหญ่ โดยมีสมาชิกบางคนพูดขึ้นว่าเหตุที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติ ใบร่วงน่าจะเป็นโรคอะไรสักอย่าง จึงได้แจ้งไปยังการยางแห่งประเทศไทย สาขาสุไหงโก-ลก ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงมาดูเห็นผิดสังเกต

จึงได้แจ้งประสานไปตามลำดับชั้น จนกระทั่งเจ้าหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับโรคได้ลงมาดู แล้วนำใบยางที่ร่วงไปเพาะเชื้อ จนทราบว่าเป็นโรคที่ระบาดมาจากเพื่อนบ้านเราและรุนแรงน่าเป็นห่วง โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำว่าให้กวาดใบและฉีดพ่น ซึ่งแนวทางจริงในการปฏิบัติมันทำไม่ได้พื้นที่กว้าง ซึ่งแปลงใหญ่มีสมาชิก 65 ราย เนื้อที่เกือบ 1,000 ไร่ ติดเชื้อราทั้งหมด และทราบว่าขณะนี้แพร่ระบาดไปในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก สุคิริน สุไหงปาดี และได้ลุกลามไป อ.ระแงะ

ซึ่งต่อไปอาจจะขึ้นไปทาง อ.บาเจาะ หรือลุกลามไปยังเขตปัตตานี ยะลา สงขลาหากไม่รีบป้องกัน ส่วนผลผลิตที่เคยได้รับหายไปประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลกระทบตรงนี้มันเป็นวัฎจักร ถ้าเราสังเกตใบมันจะร่วงและจะเกิดยอดขึ้นมาใหม่ ยอดใหม่มันก็จะติดโรคอีกมันก็จะวนอยู่อย่างนี้ ซึ่งมันจะกระทบต่อต้นยางหน้าตายน้ำยางไม่มี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0