โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชาวทวิตเตอร์ผุด #NoCPTPP ต่อต้านการเข้าสู่ CPTPP ของไทย หวั่นเอื้อนายทุน

BRIGHTTV.CO.TH

เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 14.54 น. • Bright Today
ชาวทวิตเตอร์ผุด #NoCPTPP ต่อต้านการเข้าสู่ CPTPP ของไทย หวั่นเอื้อนายทุน

CPTPP กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกทวิตเตอร์เมื่อ #NoCPTPP เมื่อมีผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมากพากันใส่ # ดังกล่าว เพื่อต่อต้าน ประเด็น ยึดครองเมล็ดพันธุ์ ยึดกุมอาหาร ก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ CPTPP

ทั้งนี้ การเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP ของไทย เป็นการยอมรับข้อตกลงที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 ที่ตัดสิทธิพื้นฐานของเกษตรกรในการเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อในฤดูกาลถัดไป เพียงแค่เก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อไปปลูกต่อก็จะมีโทษอาญาจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 แสนบาท

ด้านข้อกำหนดนี้ต่างจากพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ที่ให้สิทธิเกษตรกรเก็บส่วนขยายพันธุ์ของพืชไว้เพื่อขยายพันธุ์ต่อไปได้ แต่ UPOV 1991 ไม่อนุญาตให้สามารถทำได้ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ทุกครั้งจากเจ้าของพันธุ์ทุกฤดูเพาะปลูก เกษตรกรขนาดเล็กจะไม่สามารถอยู่ได้ภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมายใหม่นี้ แต่กลับเพิ่มสิทธิผูกขาดแก่บริษัทเมล็ดพันธุ์ในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรนอกเหนือจากค่าเมล็ดพันธุ์

ในส่วนของนักวิจัยหรือนักปรับปรุงพันธุ์รายย่อย คือนักปรับปรุงพันธุ์ส่วนใหญ่ของประเทศ ดังที่กล่าวไว้ว่าการคัดเลือกพันธุ์พืชผักของวิถีชีวิตคนไทยนั้น อาจมาจากภูมิปัญญาคัดเลือกดั้งเดิม หรือการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่ด้วยข้อบังคับตาม UPOV 1991 นั้น กำหนดให้ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชคุ้มครองที่ถูกผู้อื่นนำไปศึกษาวิจัย สามารถอ้างสิทธิในผลงานการวิจัยหรือในพันธุ์พืชใหม่ที่พัฒนขึ้นนั้นได้ หากพิสูจน์ได้ว่าพันธุ์พืชใหม่ที่ได้ มิได้มีความแตกต่างอย่างสำคัญจากพันธุ์พืชคุ้มครอง พันธุ์พืชใหม่ที่เกิดจากการวิจัยก็จะตกเป็นสิทธิของผู้ทรงสิทธิเดิม ในฐานะที่เป็น “พันธุ์พืชที่ได้มาจากพันธุ์พืชคุ้มครอง” (essentially derived varieties) (TDRI, 2017) และมีการขยายระยะเวลาคุ้มครองสายพันธุ์พืชถึง 20 ปี ทำให้นักพัฒนาพันธุ์ในไทยพัฒนาสายพันธุ์ต่อก็ทำไม่ได้เพราะมีระยะเวลาคุ้มครองยาวนาน ข้อผูกมัดทางกฎหมายนี้ทำให้วิถีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรอินทรีย์รายย่อยถูกทำลายไป

ดังนั้น ถ้าคุณเป็นเกษตรกรปลูกข้าว ที่บังเอิญเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับพันธุ์ของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ (ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ) ผลิตผลข้าวที่ได้มานั้นก็จำเป็นต้องแบ่งผลกำไรให้กับเจ้าของพันธุ์ตามกฎหมาย และไม่ใช่เพียงแค่เมล็ดข้าว ยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้าว ไม่ว่าจะเป็นข้าวเปลือก รำข้าว ฟาง หรือการนำไปแปรรูปอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการที่เกษตรกรทั่วไปที่เป็นเพียงผู้ปลูก-จำหน่ายจะต้องซื้อและแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเจ้าของพันธุ์ การผลิตอาหารตลอดทั้งระบบห่วงโซ่อุปทานโดยธุรกิจระดับเล็กไปจนถึงระดับกลางจะได้รับผลกระทบและถูกครอบครองโดยอุตสาหกรรมอย่างสิ้นเชิง

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.greenpeace.org/thailand/story/16297/food-sustainability-seed-possession-cptpp/

https://www.greenpeace.org/thailand/story/12455/food-sustainability-cptpp-and-seed-monopoly/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0