โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ชวนล่าดาวหาง 46P/Wirtanen พร้อมแนะ 6 วิธีถ่ายภาพสวย

Thai PBS

อัพเดต 16 ธ.ค. 2561 เวลา 09.22 น. • เผยแพร่ 16 ธ.ค. 2561 เวลา 09.22 น. • Thai PBS
ชวนล่าดาวหาง 46P/Wirtanen พร้อมแนะ 6 วิธีถ่ายภาพสวย

วันนี้ (16 ธ.ค.2561) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ช่วงกลางเดือนธันวาคม จะมีดาวหาง ชื่อ 46P/Wirtanen เป็นดาวหางคาบสั้นขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร คาบการโคจรประมาณ 5.4 ปี ค้นพบโดย Carl A. Wirtanen มาเยือนโลก โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2562 ดาวหางดวงนี้น่าจะมีความสว่างเพิ่มขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ดาวหางดวงนี้จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 16 ธันวาคม ปรากฏบนท้องฟ้าตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ บริเวณกลุ่มดาววัว ที่ระยะห่างประมาณ 11.5 ล้านกิโลเมตร ทำให้มันปรากฏบนท้องฟ้าด้วยความสว่างสูงสุดประมาณแมกนิจูด 3 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ตาเปล่าพอจะมองเห็นได้

 

สำหรับในประเทศไทยเราจะสามารถมองเห็นด้วยตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ แต่มีข้อแม้ว่าท้องฟ้าต้องมืดสนิท ปราศจากแสงรบกวน และไม่มีเมฆมารบกวนใดๆ

6 วิธีถ่ายภาพดาวหาง

ในการถ่ายภาพถ่ายดาวหาง 46P/Wirtanen สามารถเริ่มถ่ายภาพได้ตั้งแต่ต้นเดือนเป็นต้นไป ถึงแม้จะสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ แต่ในการถ่ายภาพควรดูเวลาที่ตำแหน่งของดาวหางอยู่ในมุมที่สูงจากขอบฟ้ามากที่สุด เพื่อหลีกหนีมวลอากาศที่บริเวณขอบฟ้า และสิ่งสำคัญคือต้องถ่ายภาพในบริเวณที่มืดสนิท ไม่มีแสงไฟ หรือแสงดวงจันทร์รบกวน และท้องฟ้าที่ใสเคลียร์

1. หาตำแหน่งดาวหางจากข้อมูลเว็บไซต์ Theskylive.com หรือ Stellarium หรืออาจใช้การ Setting circle จากกล้องโทรทรรศน์ให้เจอก่อนเป็นอันดับแรก

2. ควรถ่ายภาพบนอุปกรณ์ตามดาวแบบพกพา หรือถ่ายผ่านกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจากดาวหางจะมีความสว่างค่อนข้างน้อย จึงจำเป็นต้องถ่ายภาพโดยการเปิดหน้ากล้องที่นานหลายวินาที

3. ใช้ความไวแสงสูง ISO 3200 ขึ้นไปเป็นค่าต้น ซึ่งสามารถปรับตามสภาพท้องฟ้า เพื่อให้เห็นรายละเอียดของหางดาวหางได้ชัดเจนที่สุด เนื่องจากบริเวณหางของดาวหางจะมีความสว่างค่อนข้างน้อย

4. ใช้รูรับแสงกว้าง เพื่อให้กล้องมีความไวแสงมากที่สุด

5. เปิดระบบลดสัญญาณรบกวน (Long Exposure Noise Reduction) เพื่อจัดการกับสัญญาณรบกวนที่มักเกิดจากการถ่ายภาพที่ใช้ ISO สูง และใช้เวลาถ่ายภาพนานๆ

6. สุดท้ายคือ ไฟล์ RAW เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพในภายหลัง

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0