โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จิตแพทย์ชี้ 'หนุ่มแว่น' ความรุนแรงบนท้องถนน อย่าพุ่งเป้าไปโรคซึมเศร้า

PPTV HD 36

อัพเดต 24 ต.ค. 2562 เวลา 02.48 น. • เผยแพร่ 24 ต.ค. 2562 เวลา 02.28 น.
จิตแพทย์ชี้ 'หนุ่มแว่น' ความรุนแรงบนท้องถนน อย่าพุ่งเป้าไปโรคซึมเศร้า
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตขอสื่ออย่าขยี้อาการโรคซึมเศร้า แต่ควรตีแผ่ทำอย่างไรถึงจะจัดการความเครียด บ่อเกิดปัญหาควบคุมอารมณ์ไม่ได้

หลังจากเกิดกรณีหนุ่มแว่นขับรถปาดหน้ากระบะ และยังใช้ถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูถูกคนจนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์อย่างมาก กระทั่งล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตัวมารับทราบข้อกล่าวหาในข้อหาดูหมิ่นซึ่งหน้า จากบางช่วงบางตอนในคลิปมีการแอบอ้างเจ้าหน้าที่ โดยหนุ่มแว่นได้เดินทางมาพร้อมพ่อ แม่ และแฟน โดยได้นำตัวยาระงับโรคซึมเศร้ามายืนยันต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ว่าเป็น "โรคซึมเศร้าชนิดที่ควบคุมตนเองไม่ได้"  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> จิตแพทย์ชี้ ทุกอาชีพเสี่ยง “โรคซึมเศร้า” เผยสถิติปี 60 ตำรวจป่วย 83 ราย

ความคืบหน้าวันที่ 24 ต.ค. 2562  นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า ตนไม่อยากให้สื่อและสังคมเจาะลึกไปถึงชีวิต หรืออาการป่วยของหนุ่มคนดังกล่าว เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นต้องมองกลับกัน หากเป็นเรามีภาวะความเครียดในชีวิตประจำวัน หลายครั้งเราก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงว่าเราป่วยหรือไม่ คนปกติก็มีอารมณ์วีนได้ตลอด สิ่งสำคัญเราควรจัดการความเครียด และควบคุมอารมณ์ตัวเองก่อนจะดีกว่า เพราะหากจะให้ตอบถึงเคสนี้จริงๆ ก็ต้องบอกว่า จากลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่อาการหลักของโรคซึมเศร้า แต่อาจเป็นผลจากภาวะอารมณ์ ซึ่งไม่ใช่อาการของโรค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> “โรคซึมเศร้า” เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด

“สิ่งสำคัญขออย่าไปเจาะลึกชีวิตเขา เพราะหากเป็นเราและเกิดควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ทำอะไรลงไป สุดท้ายโดนตำหนิ ไม่ใช่แค่ตัวเอง แต่ครอบครัวก็ยังได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งเจ้าตัวก็จะเครียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องไปพิจารณาหรือเจาะลึกถึงตัวโรคว่า เป็นโรคหรือไม่ หรือเพราะอะไร เพราะจริงๆแล้วสิ่งสำคัญเราต้องนำมาเป็นบทเรียนว่า ความรุนแรงบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งเรามีความเครียดไม่สามารถจัดการความเครียด ควบคุมอารมณ์ได้ ซึ่งเราสามารถฝึกจัดการความเครียด อารมณ์ด้วยการฝึกหายใจ ซึ่งมีอีกหลายวิธี หรือโทรปรึกษาที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323”  นพ.ยงยุทธ กล่าว

ภาพจาก สสส.

นพ.ยงยุทธ กล่าวถึงอาการของโรคซึมเศร้า ว่า มี 3 ด้าน คือ 1.อาการเศร้า เบื่อชีวิต เครียด ท้อแท้ 2.มีอาการทางกายของภาวะเศร้า เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เคลื่อนไหวช้า และ3.มีความคิดตำหนิตัวเอง ไม่อยากมีชีวิตอีกต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> “วัยรุ่น-ทำงาน” กลุ่มเสี่ยงโรคไบโพลาร์-“คลุ้มคลั่ง-ซึมเศร้า” มีสิทธิฆ่าตัวตาย!

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0