โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จิตรลดา มือมีดแทงนักเรียน อ้างคำบัญชาสวรรค์ 15 ปีผ่านไป กลับมาฆ่าเด็ก

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

อัพเดต 30 มี.ค. 2563 เวลา 12.41 น. • เผยแพร่ 30 มี.ค. 2563 เวลา 12.31 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

เหตุช็อกเกิดขึ้นซ้ำอีก เมื่อมือมีดหญิงสาวป่วยทางจิต มีอาการทางประสาท วัย 51 ปี เพิ่งออกจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้เพียง 1 สัปดาห์ ก่อเหตุเมื่อช่วงเย็นวันที่ 29 มี.ค. แทงเด็กหญิงวัย 4 ขวบ เสียชีวิต ภายในร้านอาหารตามสั่ง ใน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

  • ย้อนไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เธอคือเป็ด-จิตรลดา ตันติวณิชยสุข หญิงสาวไว้ผมทรงหน้าม้า อายุขณะนั้น 36 ปี เคยแอบเข้าไปในโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และขึ้นอาคารเรียนชั้น 3 ใช้มีดไล่แทงเด็กนักเรียนหญิงอย่างเลือดเย็น ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2548 ก่อนนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างหลบหนีไป และผ่านไป 1 วัน ถูกตำรวจจับขณะมารับจ้างทำงานในร้านอาหาร ภายในสวนวชิรเบญจทัศ หรือสวนรถไฟ ย่านจตุจักร

  • ผลจากการกระทำในความผิดฐานพยายามฆ่า “จิตรลดา” ถูกศาลพิพากษา จำคุก 8 ปี เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2551 แต่เธอให้การรับสารภาพ จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 4 ปี และจากนั้นให้ส่งตัวไปบำบัดอาการป่วยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จนกว่าจะหายเป็นปกติอยู่ในสังคมได้ เนื่องจากป่วยทางจิตเภทเรื้อรัง มาตั้งแต่อายุ 20 ปี เคยใช้มีดฟันหัวพ่อเลี้ยง จนบาดเจ็บมาแล้ว

  • ต่อมาในปี 2556 “จิตรลดา” มาอยู่กับแม่ใน จ.นครปฐม และเข้าบำบัดอาการอีกครั้งยังสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กระทั่งออกมาโลกภายนอกอีก และก่อเหตุซ้ำ ในลักษณะเดิม ใช้มีดปอกผลไม้แทงเด็ก ครั้งนี้เด็กหญิงผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิต หรือสิ่งที่เธอทำจะมีการอ้างเหมือนเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เป็นเพราะได้ยินเสียงสวรรค์สั่งให้ทำอีกหรือไม่

หรือว่า ”จิตรลดา” จะเป็นตัวอันตรายสำหรับสังคมไปแล้ว และยังมีผู้ป่วยจิตเภทรายอื่นๆ อีก ซึ่งไม่มีใครล่วงรู้ว่าจะก่อเหตุไม่คาดฝันเช่นนี้ หรือทำร้ายผู้อื่นหรือไม่

รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวกับทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ ว่า การประเมินของจิตแพทย์มีความสำคัญมาก ในการดูอาการผู้ป่วยจิตเวชว่าอาการดีขึ้นมากน้อยเพียงใดในการอยู่ร่วมกับคนในสังคม ซึ่งในต่างประเทศ มีการพิจารณาโดยคณะกรรมการที่มีตัวแทนมาจากหลายภาคส่วน เช่น ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ นักสังคมสงเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยา และคนในครอบครัวผู้ป่วย มาร่วมพูดคุยและศึกษาแนวทางการปรับตัวในการใช้ชีวิตเพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถอยู่ร่วมกับคนในชุมชนได้อย่างปกติสุข

นอกจากนี้ ยังมีการใช้งบประมาณท้องถิ่นสร้างที่พักอาศัยเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ในชุมชน โดยมีนักสังคมสงเคราะห์ดูแลตลอดเวลา และมีจิตแพทย์เข้ามาประเมินอย่างต่อเนื่อง

“แตกต่างจากบ้านเราที่มีข้อจำกัดหลายประการในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้เกิดความสงบในชุมชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง อย่างที่เคยเสนอมาก่อนหน้านี้ว่าเราไม่ควรรอให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นมาก่อน ถึงจะมาแสวงหาแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา หรือต้องมีคำถามกันว่าจะเกิดเหตุในลักษณะเช่นนี้อีกหรือไม่ ทั้งๆ ที่ไม่ควรเป็นอย่างนี้ นั่นหมายความว่าเรายังให้ความสำคัญน้อยเกินไปกับมาตรการการป้องกันการก่อเหตุ หรือก่ออาชญากรรม

อย่างกรณี สมคิด พุ่มพวง มาก่อเหตุซ้ำอีก ตรงนี้ก็เข้าใจถึงข้อจำกัดต่างๆ แต่ควรมีการจำแนกผู้กระทำผิด ทั้งฆาตกรต่อเนื่อง พวกสองบุคลิก พฤติกรรมต่อต้านสังคม ควรมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพักโทษหรือลดวันต้องโทษที่แตกต่างจากผู้กระทำผิดรายอื่นๆ"

ขณะเดียวกัน ก็น่าเห็นใจผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากมีความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป บางรายมักมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว ไม่เหมือนคนปกติ ซึ่งแต่ละประเทศจะให้ความสำคัญทั้งในด้านการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และความปลอดภัยของสาธารณะ

การใช้กลไกภาครัฐในการเข้ามาบริหารจัดการตั้งแต่ระดับนโยบายลงไปสู่ผู้ปฏิบัติ จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทบทวนให้มีประสิทธิภาพ เพราะไม่มีใครจะล่วงรู้ หรือคาดเดาได้ว่าจะมีผู้ป่วยจิตเวชแบบ ”จิตรลดา” ก่อเหตุกับผู้อื่นในสังคมอีกหรือไม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าคิด

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0