โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จะรู้ได้ไงว่าเป็น Fake News วิธีรับมือกับหัวข้อข่าวเท็จที่แชร์กันในโลกโซเชียลฯ

ZipEvent

อัพเดต 27 มี.ค. 2563 เวลา 09.31 น. • เผยแพร่ 27 มี.ค. 2563 เวลา 08.35 น. • Pinchanokk
จะรู้ได้ไงว่าเป็น Fake News วิธีรับมือกับหัวข้อข่าวเท็จที่แชร์กันในโลกโซเชียลฯ

จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นทำให้เราต้องเตรียมการรับมือจากเหตุการณ์ในปัจจุบัน แถมยังต้องคอยอัปเดตข่าว ติดตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การเสพข่าวสารจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญเพราะช่วงนี้อาจจะมีข่าวที่บิดเบือนความจริง หรือ Fake News ที่ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น ดังนั้นทุกๆ คนจึงควรเสพข่าวอย่างระมัดระวัง

ทั้งนี้แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าข่าวนั้นเป็นข่าวจริง? หรือว่า Fake News (ข่าวปลอม) เราก็มีวิธีรับมือง่ายๆ มาให้วิเคราะห์กันว่าสิ่งที่ถูกแชร์มานั้นจริงแท้แน่ชัดขนาดไหน

ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าว

ถ้าอยากแน่ใจว่าข่าวที่ถูกแชร์ๆ กันมานั้นเป็นข่าวจริงหรือไม่ แนะนำให้เช็กดูถึงแหล่งที่มา ต้นตอของแหล่งข่าวว่าเป็นข่าวที่ถูกส่งต่อผ่านกันมาจากเว็บไซต์อะไร ตัวเว็บเป็นลักษณะแบบไหน และเป็นเว็บไซต์หรือ Official Fanpage ที่เชื่อถือได้หรือไม่ ไม่ใช่การแชร์ส่งผ่านให้กันแบบลูกโซ่ หากเรื่องราวมาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ควรตรวจสอบเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง

ดูรายงานข่าวอื่นๆ ประกอบ

Fake News
Fake News

การจะตรวจสอบว่าเป็นข่าวเท็จ หรือข่าวปลอมอีกหนึ่งวิธีคือการลองหารายงานข่าวอื่นๆ ประกอบ หรือถามถึงความน่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของตัวเนื้อข่าวข้างใน ถ้าทำการค้นหาแล้วไม่ค้นพบถึงแหล่งที่มาที่ได้รายงานในเรื่องราวเดียวกันหรือที่สอดคล้องกัน ข่าวนั้นอาจจะเป็นข่าวที่บิดเบือนความจริงนั่นเอง

สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ

Fake News
Fake News

อีกหนึ่งการสังเกตที่ดีของเฟคนิวส์นั่นก็คือความผิดปกติในตัวเนื้อข่าว กล่าวคือตัวคอนเท้นท์ข่าวที่นำเสนอนั้นมักมีคำที่สะกดผิด หรือมีการวางเลย์เอาต์ที่ไม่เป็นมืออาชีพ วันที่ที่เล่าข่าวไม่ตรง บิดเบือนความจริง ขั้นตอนในการลำดับเนื้อหาข่าวที่ผิดปกติแบบไม่มีที่มาที่ไป เป็นต้น

วิธีการที่ใช้ในการพาดหัวข่าว

Fake News
Fake News

การสังเกตง่ายๆ ของข่าวปลอมนั้นให้ดูที่หัวข้อ และวิธีที่ใช้ในการพาดหัวข่าว ซึ่งสามารถดูได้ โดยข่าวปลอมมักจะมีการพาดหัวข่าวที่สะดุดตา หวือหวา ดูไม่น่าเป็นไปได้ จนบางครั้งก็มโนไปไกล พูดในเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้จริง บางครั้งก็มีการพูดในเรื่องของการเสียดสีหรือไปในทิศทางที่ตลกไปเลย

อย่างไรก็ตามถึงแม้การตรวจสอบข่าวปลอมด้วยตัวเองของคุณเองอาจจะเป็นอะไรที่ยากพอสมควรในบางกรณี ทั้งนี้จึงขอให้ทุกคนใช้วิจารยญาณและเสพข่าวอย่างมีสติกันด้วย ยิ่งในช่วงสถานการณ์แบบนี้แล้ว ถือเป็นอีกเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญมากๆ เลยล่ะ

ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com 
Twitter: @Zipevent 
Facebook: @Zipevent

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0