โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

จลาจลสหรัฐฯกดดันบาทแข็ง-จีดีพีดิ่งเหว

TNN ช่อง16

อัพเดต 03 มิ.ย. 2563 เวลา 06.10 น. • เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 06.10 น. • TNN Thailand
จลาจลสหรัฐฯกดดันบาทแข็ง-จีดีพีดิ่งเหว
BUSINESS WATCH จะพามาเกาะติดเหตุการณ์จลาจลในสหรัฐว่าจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยอย่างไรโดยเฉพาะค่าเงินบาทที่เริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

         

         จากเหตุการณ์จราจลในสหรัฐที่เกิดขึ้นแม้เวลานี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อตลางเงินตลาดหุ้น ทั่วโลกแต่มีการมองกันว่าจะยิ่งซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐหรือไม่เพราะในช่วงนี้วิกฤตโควิดเองก็ยังไม่คลี่คลายและในอนาคอาจส่งผลมายังประเทศอื่นๆรวมทั้งประเทศไทยด้วยด้วย โดยเฉพาะขณะนี้ที่เริ่มเห็นแล้วคือการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็ว 

         โดยมุมมองของด้าน  คุณทิม ลีฬหะพันธุ์  นักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคารสแตนดาร์ดขาร์เตอร์ด (ไทย )  มองว่า  ต้องติดตามเหตุการณ์ประท้วงในสหรัฐเอมริกาอย่างใกล้ชิด เพราะเห็นด้วยว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในอเมริกา  จะมีผลที่ตามมาค่อนข้างเยอะเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้เรื่อง “โควิด” เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด   ต้องดูว่าการประท้วงจะนำมาซึ่งการระบาดใหญ่รอบสองหรือเปล่า    

           ต้องบอกว่าวันนี้เศรษฐกิจอเมริกายังไม่ได้ฟื้น  ยังดูติดลบอยู่ในไตรมาส 2 ดังนั้นพอมีประเด็นเรื่องการประท้วง  แม้การประท้วงอาจจะไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจแย่ลงตรงๆ  แต่ถ้าการประท้วงนำมาสู่การระบาดอีกระรอกของโควิด ก็กระทบเศรษฐกิจ

           สำหรับผลกระทบต่อไทย  จะเห็นว่าช่วงนี้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามาก แข็งค่ามากกว่าเพื่อนบ้าน  และแข็งค่าจนธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มกังวล  ( ข้อมูลเพิ่มเติม…. วานนี้ ธปท.ออกเสตทเม้นท์แสดงความกังวลการแข็งค่าของเงินบาท  เพราะแข็งค่าเร็ว และแข็งค่ามากกว่าคู่ค้าและคู่แข่ง ธปท.บอกว่าจะติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด และพร้อมมีมาตรการออกมาดูแล) แต่ยอมรับว่า ไม่ค่อยแน่ใจว่า การประท้วงที่อเมริกา จนทำให้ดอลลาร์อ่อน แล้วส่งผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าหรือไม่   ประเด็นนี้พูดได้ยาก แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือ การประท้วงทำให้เกิดความกังวลการระบาดรอบ 2  เพราะโควิดยังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

         ส่วนค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่า มีปัจจัยอื่นที่ทำให้แข็งค่าเยอะ   แม้ไม่มีการประท้วงเงินบาทก็แข็งค่า  ทั้งการส่งออกที่เรี่มส่งออกได้มากขึ้น  เพราะโลกอยู่ในช่วงเวิร์กฟรอมโฮม ต้องซื้อโน๊ตบุ๊ค  แลปท็อป ทำให้เราส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟมากขึ้น  อีกทั้งเราเป็นครัวของโลก ทำให้ส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าอาหารแปรรูป  อาหารสัตว์ได้มากในช่วงนี้  

        ที่สำคัญคือการนำเข้าไม่มีเลย การนำเข้าเดือนเมษายนติดลบไปกว่า 20%  ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบ เริ่มกลับมาเกินดุล และถ้าหากโควิดในไทย ในเอเชีย  เริ่มคุมได้ ทำให้คนเริ่มกลับเข้ามาปลายปี  ยิ่งหนุนให้บาทแข็ง   ส่วนทิศทางค่าเงินบาทหลังจากนี้ ตอนนี้บาทอยู่ที่ระดับ 31.25  สิ้นปีนี้น่าจะแข็งค่าอีก 2-3%  หรืออยู่ที่ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

        คุณทิมย้ำว่าถ้าเกิดภาพเศรษฐกิจเราค่อยๆดีขึ้น แต่อเมริกาแย่  เกิดระบาดรอบ 2 ภาพที่ค่อยๆ ดีขึ้นจะเปลี่ยนไปเลย 

( ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า )

        นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี  มองว่า ผลกระทบที่น่าจับตา อาจเป็น 2  ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1.ภาวะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐจะยังรุนแรงต่อไปอีกหรือไม่ ซึ่งท่าทีขณะนี้คือทั้ง จีน และสหรัฐ ยังเดินหน้าดำเนินโยบายกีดกันและสั่งห้ามนำเข้าของกันและกันต่อไป   และ 2.  ค่าเงิน  จากเหตุการณ์ความไม่สงบในสหรัฐ มีผลให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงทันที เมื่อเทียบเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปตามมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐ ทั้งการอัดฉีดเงินตรมมาตรการQE ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าและเงินบาทแข็งค่า แต่นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.จะตั้งรับด้วยเครื่องมืออะไรและดำเนินการอย่างไร หลังจากล่าสุดคณะกรรมการนโยบายการเงืนหรือกนง.ลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 

 ทั้งนี้ นายอมรเทพ ชี้ว่า ในสถานการณ์ขณะนี้ กระทรวงการคลังน่าจะตั้งกองทุนระดมเงินบาทไปซืเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างดีมานดอลลาร์เทียม และกดเงินบาทให้อ่อนต่าลง โดยเงินดอลลาร์ที่ซื้อมทาก็อาจนำไปลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศเพื่อสร้างผลตอบแทนเข่้าประเทศเหมือนหลายๆประเทศที่ดำเนินนโยบายเช่นนี้ อาทิเช่น จีน  ยุโรป สิงคโปร์ ในรูป Dividend  หรือ Technology Transfer  ซึ่ง โมเดลเหล่านี้ เป็นการวางแผนในหารายได้ในระยะยาว ของประเทศ นอกเหนือจากการพึ่งพารานได้จากการส่งออก หรือ การท่องเที่ยวเท่านั้น ซึ่งมีโอกาสที่จะเผชิญความเสี่ยงได้ง่ายหากเกิดวิกฤติต่างๆเข้ามากระทบเช่น ไวรัสโควิด

 ข้อเสนอไทยรับมือศก.โลกดิ่ง

          ด้านนาย สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา  เห็นว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์ในสหรัฐ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งถือว่าหนักมากอยู่แล้ว นอกจากนั้นความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจสหรัฐมีน้อยกว่า ความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีน ซึ่งการเร่งกระตุุ้นสงครามการค้าจีน-สหรัฐสะท้อนภาพการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกันมากกว่ากับสหรัฐ

         ทั้งนี้ นายสมประวิณ ยังมองว่า ในวิฤตก็ยังมีโอกาส นั่นหมายถึงการตัดสินใจอย่างระมัดระวังของไรประเทศไทยในการเชื่อมโยงการเมืองระเหว่างประเทศกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเครื่้องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

            มาดูเศรษฐกิจในบ้านเราและผลกระทบในระยะต่อไปบ้าง ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย วันนี้แถลงตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี2563 เป็นไปตามคาด ปรับลดตัวเลขจีดีพีลงอีก เป็นติดลบ 6% จากการประเมินครั้งล่าสุดในช่วงเดือนมีนาคม มองจีดีพีปีนี้ ยังเติบโตได้ในระดับ 0.5 %   

            โดยล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทย  มองว่าแม้จีดีพีไตรมาสแรกของปี 2563 จะออกมาดีกว่าที่คาด แต่เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่เหลือของปี คาดว่าจะหดตัวลึกขึ้น และจากปัญหาการจ้างงาน ขณะที่เศรษฐกิจต่างประเทศก็ยังน่ากังวล ทั้งในประเด็นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังอยู่ในระดับสูง และประเด็นการเมืองของสหรัฐฯ ทั้งการเมืองในประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ 

           ด้านการส่งออก มองว่าจะหดตัวสูงถึง -6% จากการสำรวจครั้งก่อนหน้าหดตัว – 5%   และมองว่าระหว่างปีอาจจะหดตัวสูงเป็นตัวเลขสองหลัก  ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนก็ติดลบเช่นเดียวกัน  โดยการบริโภคภาคเอกชนประเมินว่าติดลบ -2.3%  และการลงทุนภาคเอกชนก็ติดลบ -6.6 % 

           มีเพียงการบริโภคภาครัฐที่เป็นบวก 2% และการลงทุนภาครัฐที่เป็นบวก 3.1% สอดคล้องกับการแถลงตัวเลขเดือนเมษายนของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่บอกว่าเครื่องยนต์เศรษฐกิจดับทุกตัว ยกเว้นเครื่องยนต์การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ 

 (มุมมองเศรษฐกิจของ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย”) 

 สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ น่าจะเป็นไตรมาสก่อนที่ติดลบมากที่สุด ส่วนไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ก็ยังติดลบอยู่ แต่ระดับการติดลบน้อยลง  จากการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศได้ 

 ด้านความเสี่ยงของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า  ความเสี่ยงเศรษฐกิจอยู่ที่การกลับมาระบาดซ้ำอีกรอบของโควิด-19 ทั้งการระบาดในประเทศ และสถานการณ์ในต่างประเทศ เพราะขณะนี้หลายๆประเทศ รวมทั้งไทยก็เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว  

          อีกประเด็นที่เป็นความเสี่ยงคือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังหดตัวแรงอยู่ ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เตือนว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะหดตัวลง 3% จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดนับแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Great Depression ในช่วงทศวรรษที่ 1930  ซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ก็เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก 

(ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง) 

        สำหรับเหตุการณ์ประท้วงในสหรัฐฯ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ  โดยเฉพาะหากการประท้วงนำมาสู่การระบาดใหญ่รอบ 2 แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

หากมองผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐ ต่อประเทศไทย  ผลกระทบทางตรงคือ การส่งออก เพราะหากเศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำลงอีก การค้าขายในตลาดโลกก็ได้รับผลกระทบไปด้วย  เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีขนาดใหญ่ เป็นตลาดส่งออกสำคัญ   โดยสหรัฐและยุโรป มีการนำเข้าจำนวนมาก มีสัดส่วนการนำเข้ารวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก 

(  ผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐ) 

        นอกจากนี้ ตลาดมองว่า หากเศรษฐกิจสหรัฐทรุดหนักมากๆ อาจจะกระทบถึงการทำนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟดได้   โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของเฟด อยู่ในระดับต่ำ   โดยอยู่ที่ระดับ 0.00-0.25%   ก่อนหน้านี้มองกันว่า โอกาสที่เฟดจะทำนโยบายดอกเบี้ยติดลบ  “เป็นไปได้น้อย” แต่หากเศรษฐกิจทรุดหนัก  จากการคุมการแพร่ระบาดของโควิดไม่ได้ หรือการชุมนุมประท้วงภายในของสหรัฐ ทำให้การระบาดหนักวนกลับมาอีก ก็อาจจะทำให้เฟดกลับมามองเรื่องดอกเบี้ยติดลบได้

            เหมือนกับธนาคารกลางหลายๆประเทศที่ทำนโยบายดอกเบี้ยติดลบไปแล้ว เช่น ธนาคารกลางยุโรป     ดอกเบี้ย   หรือ อีซีบี ที่ดอกเบี้ยติดลบ   -0.50% ,  ธนาคารกลางญี่ปุ่น ดอกเบี้ย -0.10% , ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์  ดอกเบี้ย -0.75% และธนาคารกลางเดนมาร์ก ดอกเบี้ย -0.75 % 

          ส่วนอัตราดอกเบี้ยของไทย ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 พ.ค. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 0.50% เป็นระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่หากจะปรับลดลงอีก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าก็ยังมีรูมให้ทำได้ นโยบายการเงินยังไม่ได้หมดกระสุนเสียทีเดียว เพราะ นโยบายการเงินยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญ โดยหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเพิ่มเติม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ยังสามารถทำได้ แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่ได้แย่ถึงกับมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายดอกเบี้ยติดลบ

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

นโยบายดอกเบี้ยติดลบ 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม "รายการ BUSINESS WATCH  วันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 ทางTNN16 

https://www.youtube.com/watch?v=sKdB0sn38qw

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0