โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จริงหรือ ?! ซึมเศร้า ไร้ H(app)INESS เมื่อเล่นโซเชียล - เฟื่องลดา

THINK TODAY

อัพเดต 13 ก.ค. 2561 เวลา 03.05 น. • เผยแพร่ 12 ก.ค. 2561 เวลา 04.56 น. • เฟื่องลดา

ทุกวันนี้หลายคนตกเป็นเหยื่อของโซเชียลมีเดีย เป็นโรคซึมเศร้ากันโดยไม่รู้ตัว

จากการวิจัยของ Royal Society for Public Health จากประเทศอังกฤษพบว่า โซเชียลทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter ล้วนส่งผลด้านลบต่อสุขภาพจิตใจทั้งสิ้น เพราะอะไรโซเชียลมีเดียถึงทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและไม่มีความสุขได้? 

วันนี้เฟื่องพามาหาคำตอบกันค่ะ มาดูกันว่าพฤติกรรมการเล่นโซเชียลของเราทำให้เกิดความเสี่ยงซึมเศร้าอย่างไรกันบ้าง ทำไมเราไม่มี H(app)INESS

การเรียกร้องความสนใจ

เรามักเลือกโพสต์เฉพาะด้านดีและหลบซ่อนเรื่องแย่ๆ เพื่อให้คนอื่นมองว่าเรามีความสุข ทำให้เกิดการสร้างตัวตนที่สมบูรณ์แบบ เช่น โพสต์แต่เรื่องราวในชีวิตที่ดี สิ่งที่ประสบความสำเร็จ โดยข้ามความทุกข์หรือเรื่องผิดพลาดเบื้องหลังในชีวิต ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจเพื่อตอบสนอง ความต้องการลึกๆ ที่อยากให้คนอื่นรู้สึกว่าตัวเรามีค่า เช่น การเปลี่ยนภาพโปรไฟล์บ่อยๆ การโพสต์รูปแล้วนั่งรอคนมากดไลค์

ความนับถือตัวเองต่ำ อารมณ์ไม่มั่นคง

ในขณะเดียวกัน เมื่อตัวเราเองติดตามเรื่องราวๆของเพื่อนๆ หลายคนก็ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของโซเชียลโดยไม่รู้ตัว โดยมักเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นแทนที่จะซาบซึ้งและขอบคุณกับสิ่งที่เรามีในชีวิต ส่งผลต่อการนับถือตนเองและการไม่มั่นใจในตัวเอง  

ความรู้สึกแปลกแยกและโดดเดี่ยว

ผู้ที่มีเรื่องเครียดมักแยกตัวเองออกมาจากโลกแห่งความเป็นจริงและติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นผ่านโซเชียลเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญ หน้า กลายเป็นคนหมกมุ่นกับตัวตนในโลกออนไลน์ เก็บตัว ไม่สุงสิงกับโลกภายนอก ทำให้อาการซึมเศร้ารุนแรงยิ่งขึ้นอีก เพราะความจริงแล้วการปฏิสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ไม่อาจเทียบได้กับความสัมพันธ์ในโลกแห่งความเป็นจริง

พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ โรคซึมเศร้า ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ผิดหวังในตัวเอง และเกิดความรู้สึกหดหู่ นำไปสู่การสูญเสียสภาพอารมณ์ปกติ ความเชื่อ ความสุข และความหมายในชีวิต อาการอื่นๆ เช่น มองโลกในแง่ร้าย เบื่อหน่าย ไม่มีสมาธิ กระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ เบื่อาหาร ไม่อยากทำอะไร ท้อแท้ สิ้นหวัง โดดเดี่ยว เป็นต้น

นักวิจัยจาก University of Pittsburgh ได้เปิดเผยว่า คนที่เล่นโซเชียลมีเดียบ่อยๆ (61 นาทีต่อวัน 30 ครั้งต่อสัปดาห์) มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่ากลุ่มคนที่เล่นโซเชียลน้อยกว่าถึง 2.7 เท่า นอกจากนี้จากการวิจัยของบริษัท Moment (บริษัทผลิตแอพพลิเคชั่นจับเวลาการใช้งานมือถือ) ในหัวข้อ “การสำรวจความสุขขณะใช้แอพพลิเคชั่นของผู้ใช้แอพต่างๆ 200,000 คน” พบว่า "ยิ่งใช้แอพพลิเคชั่นโซเชียลนาน ก็ยิ่งไม่มีความสุข" โดยแอพเหล่านี้ได้แก่ Facebook, WeChat, Tinder และอีกมากมาย เช่น อัตราการใช้งานของ Facebook อย่างพอดีแล้วมีความสุขอยู่ที่ 20 นาที แต่หากใช้นานมากกว่านั้นจนถึง 40 นาที ความสุขของผู้ใช้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในทางตรงกันข้าม แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการจัดการบริหารชีวิต หรือดูแลสุขภาพจิต เป็นกลุ่มแอพที่เมื่อใช้แล้วจะมีความสุข เช่น Calm และ Headspace (แอพนั่งสมาธิ) , Insight Timer (แอพบริหารเวลา), Evernote (แอพจดบันทึก) เป็นต้น

รู้กันอย่างนี้แล้ว เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า

อย่าลืมหมั่นสำรวจความรู้สึกของตัวเองและใช้โซเชียลแต่พอดีกันนะคะ

ที่มา:

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637547 http://www.facebook.com/faunglada

https://www.psycom.net/depression-teens-social-media

https://www.weforum.org/agenda/2018/04/do-the-mobile-apps-we-use-the-most-make-us-unhappy

https://thumbsup.in.th/2016/05/research-show-heavy-social-media-linked-to-depression/

------------------------

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: http://www.facebook.com/faunglada

Youtube: http://www.youtube.com/faunglada

Twitter: @faunglada

Website: www.faunglada.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0