โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จบเห่!'ธีระชัย' ลากไส้'ธนาธร'Blind Trustใช้กับธุรกิจครอบครัวไม่ได้ กลายเป็นเกราะปกปิดเอื้อผลประโยชน์ทับซ้อน

ไทยโพสต์

อัพเดต 19 มี.ค. 2562 เวลา 05.29 น. • เผยแพร่ 19 มี.ค. 2562 เวลา 05.23 น. • ไทยโพสต์

19 มี.ค.62- ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเป็นประธานกลุ่ม ก.ล.ต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thirachai Phuvanatnaranubala  “กรณีนายธนาธรโอนทรัพย์สินของตน 5,000 ล้านบาทเข้ากอง Blind Trust”ว่า

ขออธิบายเพิ่ม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆ ว่าทำไมโครงสร้างนี้ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาประโยชน์ทับซ้อนได้จริง กรณีเป็นธุรกิจครอบครัว

กรณีนักการเมืองที่โอนหุ้นในชื่อของตนเองในกิจการครอบครัว เช่น ประธานาธิบดีทรัมป์โอนหุ้นใน บริษัททรัมป์ ที่เดิมอยู่ในชื่อของตน เข้าไปในกอง Blind Trust นั้น

ถึงแม้ว่า กติกากำหนดว่า ผู้บริหารกอง Blind Trust จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องการลงทุนทรัพย์สินส่วนนี้แทนทรัมป์ก็ตาม

แต่ในทางปฏิบัติ

ในฐานะผู้ถือหุ้น วันเดียวที่เขาจะมีอำนาจ ก็คือวันประชุมผู้ถือหุ้น คือจะออกเสียงอะไร ก็ไม่ต้องไปถามทรัมป์ ส่วนวันอื่น ไม่มีอำนาจอะไรเลย

เขาอาจจะมีอำนาจมากขึ้น ถ้าหากผู้ถือหุ้นอื่นในครอบครัวเลือกให้เขาเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทแทนทรัมป์ แต่ก็ไม่มีกติกาใดที่บังคับเรื่องนี้

นอกจากนี้ ต่อให้เข้าไปเป็นกรรมการ ก็จะมีเพียงเสียงเดียวในคณะกรรมการเท่านั้น

ส่วนในทางทฤษฎี ที่เขามีสิทธิที่จะขายหุ้นในบริษัททรัมป์ออกไป และเอาเงินที่ได้ไปลงทุนอื่นแทนนั้น ในทางปฏิบัติ ก็จะไม่มีวันเกิดขึ้น

ดังนั้น กรณีที่ทรัพย์สินของนักการเมือง เป็นหุ้นในกิจการครอบครัว นอกจากไม่สามารถป้องกันประโยชน์ทับซ้อนได้จริงแล้ว ยังจะมีปัญหาอีกด้วย

เนื่องจากมีภาพภายนอก เสมือนว่ามีเกราะป้องกัน นักการเมืองจึงอาจจะแอบส่งผ่านข้อมูล เพื่อให้กิจการครอบครัวรู้ข้อมูลภายในก่อน และปรับตัวได้ก่อนคู่แข่ง

รวมทั้งนักการเมืองอาจจะออกนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่กิจการครอบครัว โดยทำทีว่าตนเองไม่รู้ว่านโยบายจะมีผลออกมาเช่นนั้น

ดังนั้น ในกรณีกิจการครอบครัว

ป.ป.ช. จึงต้องคิดอ่าน กำหนดข้อบังคับให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจที่ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะการทำธุรกรรมกับภาครัฐ และที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของรัฐ

เพื่อให้สื่อมวลชนและภาคประชาชนติดตามป้องปรามประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง.

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0