โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

คลิปปลอมหนังเรื่อง ‘Back to the Future’ เปลี่ยน ‘ทอม ฮอลแลนด์’ และ ‘รอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์’ เป็นนักแสดงนำ

The MATTER

อัพเดต 18 ก.พ. 2563 เวลา 10.28 น. • เผยแพร่ 16 ก.พ. 2563 เวลา 09.00 น. • Brief

เดี๋ยวนี้การแยกแยะระหว่างข้อมูลจริง และ ข้อมูลปลอม ทำได้ยากขึ้น เพราะเทคโนโลยีในการปลอมแปลงข้อมูลมีความก้าวหน้าขึ้น และทำให้การทำข้อมูลปลอม มีความสมจริงมากขึ้น อย่างคลิปวีดีโอที่ดัดแปลงฉากจากภาพยนตร์เรื่อง ‘Back to the Future’ ที่ถูกอัพโหลดในยูทูบ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีความสมจริงมาก จนอาจทำให้ใครหลายคนเชื่อว่า เป็นคลิปจากภาพยนตร์จริงๆ

ในยูทูบได้มีการอัพโหลดคลิบวีดีโอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘Back to the Future’ ที่มีการตัดต่อใบหน้าของ ทอม ฮอลแลนด์ (Tom Holland) นักแสดงนำจากภาพยนตร์เรื่อง Spider-Man และรอเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) นักแสดงนำจากเรื่อง Iron Man แทนที่ใบหน้าของตัวละครหลักที่อยู่ในภาพยนตร์

คลิปวิดีโอนี้ได้เปลี่ยนแปลงฉากในโรงเรียนมัธยม ตอนที่ มาร์ตี้ แม็กฟลาย (Marty Mcfly) และ ด็อก เอ็มเม็ตต์ บราวน์ (Emmett Doc Brown) ตัวละครหลักในภาพยนตร์ กำลังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ วิธีการที่จะพบกับครอบครัวแม็กฟลายอีกครั้ง หลังจากที่ มาร์ตี้ได้ทำให้แม่ของตัวเอง (เวอร์ชั่นเด็ก) ตกหลุมรักเขาโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมาร์ตี้ กังวลว่ากำลังทำให้ตัวเองถูกลบจากประวัติศาสตร์

ความน่าสนใจของคลิปนี้ คือ มันแสดงให้เห็นว่า ฮอลแลนด์ กับคนที่แสดงเป็นตัวละครมาร์ตี้ในภาพยนตร์ (ไมเคิล เจ. ฟอกซ์ (Michael J. Fox)) มีความคล้ายคลึงกันมาก โดยมีหลายจุดในวิดีโอที่ ฮอลแลนด์ ดูเหมือนกับ มาร์ตี้ ตัวจริง และอาจทำให้หลายคนลืมไปว่ากำลังดูคลิปปลอมอยู่

สำหรับคลิปวีดีโอลักษณะแบบนี้ เราเรียกกันว่า ‘Deepfake’ ซึ่งหมายถึง วิดีโอตัดต่อ หรือ ข้อมูลทางดิจิทัล ที่ผลิตโดย AI ซึ่งมีความสามารถในการสร้างภาพปลอม และเสียงที่ดูเหมือนจะเป็นจริง โดยการทำงานของ AI คือ จะใช้ระบบ ‘deep learning’ ทำการศึกษารูปภาพหรือวีดีโอของบุคคลเป้าหมายในหลากมุม จากนั้นก็จะทำการจำลองลักษณะพฤติกรรม และรูปแบบในการพูด

อย่างไรก็ตาม แม้ Deepfake จะทำให้เราได้เห็นคลิปวิดีโอที่น่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ในขณะเดียวกันมันก็มักถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีเช่นกัน อย่าง การสร้างข้อมูลเท็จที่สมจริง เพื่อเป้าหมายทางการเมือง

.

ตอนนี้หลายองค์กร ก็เริ่มมีมาตรการในการต่อต้าน Deepfake แล้ว เช่น Facebook และ Microsoft ที่ได้ริเริ่มการตรวจค้นและกำจัดคลิปวีดีโอปลอมตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดยประกาศว่า จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วสหรัฐฯ ในการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับวิดีโอปลอม สำหรับทำการค้นคว้าวิจัย

อ้างอิงจาก

https://movieweb.com/back-to-the-future-deepfake-video-rdj-tom-holland/

https://www.cnbc.com/2019/10/14/what-is-deepfake-and-how-it-might-be-dangerous.html

พิสูจน์อักษร: จิรัชญา ชัยชุมขุน

#Brief #TheMATTER

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0