โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คน กทม. นิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ คาดปี 63 จะมีออเดอร์กว่า 20 ล้านครั้ง

BLT BANGKOK

เผยแพร่ 23 ก.พ. 2563 เวลา 04.40 น. • BLT Bangkok
คน กทม. นิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ  คาดปี 63 จะมีออเดอร์กว่า 20 ล้านครั้ง

จากไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว หรืออาจจะเป็นเพราะ Busy กันมากขึ้น รวมไปถึงความขี้เกียจ ทำให้บริการสั่งและส่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปพลิเคชัน (Application) หรือ Food Delivery Apps ได้รับความนิยมและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้ยอดการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปพลิเคชันเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 นี้จะมีการใช้บริการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปฯ กว่า 20 ล้านครั้ง

คนกรุงฯ นิยมสั่งอาหารผ่านแอปฯ

จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ของคนกรุงเทพฯ โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา พบว่าเหตุผลที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ 22.3% เลือกใช้แอปฯ ในการจัดส่งอาหารหรือเครื่องดื่มเพราะมีโปรโมชั่นลดราคาอาหาร โดยมี 29.2% ที่เลือกใช้แอปฯ ในการจัดส่งอาหารหรือเครื่องดื่ม 3-4 ครั้ง ในหนึ่งเดือน

สำหรับประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่สั่งผ่านแอปฯ ที่นิยมสั่งกันมากถึง 37.2% คืออาหารไทย/อาหารอีสาน ตามด้วย อาหารฝรั่ง/ฟาสต์ฟู้ด, กาแฟ/ชานมไข่มุก, อาหารญี่ปุ่น/ซูชิ และสุดท้ายคือของหวาน เค้ก เบเกอรี่ ส่วนการใช้จ่ายต่อครั้งในการเลือกสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปฯ มากสุด 33.8% จ่ายเงิน 101 – 300 บาท/ครั้ง รองลงมาคือจ่าย 301 – 500 บาท /ครั้ง และน้อยกว่า 100 บาท/ครั้ง โดยเลือกการชำระค่าสินค้าด้วยการเก็บเงินปลายทาง/เงินสด มากที่สุด 46.3% รองลงมาคือใช้วิธีโอนเงิน/หักบัญชีธนาคาร ตามด้วยจ่ายผ่านบัตรเครดิต/เดบิต จ่ายด้วย PROMPT PAY (พร้อมเพย์) และ Line Pay

สำหรับแอปฯ ที่นิยมใช้กันอันดับแรกคือแกร็บฟู้ด (Grab Food) 36.2% ตามด้วย เก็ท (GET) ฟู้ดแพนด้า (FoodPanda) ไลน์แมน (Line Man) และแซ็ปเดลิเวอรี่ (ZabDelivery) ขณะที่ปัญหาที่เจอจากการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปฯ ที่พบมากที่สุด 25.7% คือ การจัดส่งไม่ตรงเวลา, แอป-พลิเคชันใช้งานยาก, ราคาอาหารไม่ตรงตามที่ระบุ, พนักงานไม่สุภาพ และปิดท้ายคือค่าจัดส่งที่มีราคาแพง

เทรนด์ Lazy Consumer สร้างโอกาสทางธุรกิจ

จะเห็นได้ว่าผลการสำรวจต่อพฤติกรรมการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านแอปฯ ของคนกรุงเทพฯ ข้างต้น สอดคล้องกับงานวิจัยเชิงลึกในห้วข้อ Lazy Consumer จากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่ได้หยิบยกเทรนด์ของคนในปัจจุบันที่รักความสะดวกสบาย มาวิเคราะห์ได้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่าความขี้เกียจของผู้บริโภคในปัจจุบันทำให้เกิดเป็นยุคที่เรียกว่า Lazy Economy หรือ เศรษฐกิจขี้เกียจ ที่ภาคธุรกิจพยายามหาทางตอบสนองทั้งการคิดค้นสินค้า นวัตกรรม และการบริการใหม่ๆ มา   รองรับ ซึ่งบริการซื้ออาหารให้ หรือ Food Delivery ก็เป็นรูปแบบธุรกิจใหม่ที่จัดอยู่ในเศรษฐกิจขี้เกียจเช่นเดียว กัน และมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งยังพบว่าคนไทย 69% หรือ 45 ล้านคน เป็นมนุษย์ที่ขี้เกียจทำอาหาร หรือก็คือเป็นมนุษย์ชอบกิน แต่ไม่อินทำอาหาร โดยในจำนวนนี้มี 33% ที่ไม่รู้วิธีในการทำอาหารหรือทำไม่เป็น อีก 30% คือ ไม่มีเวลา โดยคนกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่า เสียเวลาเลือกวัตถุดิบ เสียเวลาทำอาหาร และเวลาที่เหลือมีน้อย อีก 19% คือ เหนื่อย โดยกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่าทำงานมาเหนื่อยแล้ว วัน หยุดอยากพักผ่อน แต่ก็อยากทำให้ครอบครัว ส่วนอีก 13% คือ ไม่มีแรงจูงใจ โดยให้เหตุผลว่า เพราะเวลาทำต้องกินคนเดียวและอาหารเหลือเยอะก็จะรู้สึกไม่ดี ซึ่งจากความขี้เกียจทำอาหาร ที่ประกอบกับความขี้เกียจออกไปไหนมาไหน รวมถึงการรอคิว สร้างโอกาสให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลให้อุตสาหกรรมธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี ในประเทศไทยเติบโตถึง 35,000 ล้านบาท / ปี

เช่นเดียวกับที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้จัดอันดับ 10 อันดับธุรกิจเด่น ประจำปี 2563 ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่ง 1 ใน 10 ธุรกิจที่โดดเด่นในปีนี้ ก็คือธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนก็คือ รูปแบบการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว เช่น การสั่งอาหารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Application และบริการส่งถึงที่ หรือการรับจัดเลี้ยงในงานประชุม/งานสังสรรค์

อีกทั้งล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจ การค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังได้ออกมาเปิดเผยว่าจากการพิจารณาธุรกิจที่อยู่  ในกระแสและเทรนด์ของการประกอบธุรกิจในอนาคต ในปี 2563 ธุรกิจที่น่าจับตามองมีถึง 15 ธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่า 1 ในนั้น คือธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มและสตรีทฟู้ด โดยเฉพาะธุรกิจให้บริการอาหารแก่ลูกค้าที่มีแนวโน้มเติบโต      เพิ่มขึ้น

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็วของคนเมือง ทำให้การแข่งขันในธุรกิจ Food Delivery หรือการสั่งอาหารและเครื่องดื่มผ่านแอปพลิเคชันสูงตามไปด้วย นอกจากการใช้แคมเปญออกโปรโมชั่นลดราคาอาหารเป็นแรงจูงใจ การคงคุณภาพในการบริการ ก็ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการครองใจผู้บริโภคด้วย  ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลผู้ทำหน้าที่จัดส่งอาหารในสังกัดให้มีคุณภาพ ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการดูแลไม่ให้ผู้จัดส่งอาหารถูกผู้บริโภคกลั่นแกล้ง เช่น สั่งอาหารจำนวนมากในราคาสูง แล้วยกเลิกกลางทาง อย่างที่เห็นเป็นข่าวกันในช่วงนี้ เพื่อให้การจัดส่งทุกมื้ออร่อยเป็นไปอย่างมีความสุข ปลอดภัย และก่อให้เกิดรากฐานทางธุรกิจที่เข้มแข็ง 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0