โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

คนไทยงง “เพลงรับน้อง” สอนให้รักกัน หรือ สอนให้ข่มขืน!

TheHippoThai.com

อัพเดต 11 ก.ค. 2561 เวลา 12.29 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. 2561 เวลา 11.00 น.

คนไทยงง “เพลงรับน้อง” สอนให้รักกัน หรือ สอนให้ข่มขืน!

สวัสดีครับคุณผู้อ่านทุกท่าน เมื่อไม่กี่วันมานี้ผมมีโอกาสได้อ่านบทความ "มัดหมี่: วัฒนธรรมการรับน้องกับวัฒนธรรมข่มขืน" ทางเพจ "เฟมินิสต์วันละหน่อย" โอ้โหหหหหห อยากจะบอกตรงนี้เลยครับว่าผมเห็นด้วยกับบทความนี้มาก ๆ ผมคิดเรื่องนี้มาสักพักแล้วเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าจะเล่าออกมายังไงดี 

สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความนี้ก็ลองไปหาอ่านกันได้ในเพจเขานะครับ แต่ถ้าใครยังไม่อยากเข้าไปอ่านตอนนี้ก็อ่านตรงนี้ให้จบก่อนก็ได้ครับ 

คือต้องเล่าก่อนว่าบทความนี้ในเพจ "เฟมินิสต์วันละหน่อย" ได้อ้างถึงประเด็นการข่มขืนที่ปรากฏเพลง "มัดหมี่" ซึ่งเป็นที่นิยมร้องเล่นกันทั่วไปในกิจกรรมสันทนาการตามสถานศึกษาต่าง ๆ เช่น งานกีฬาสี หรืองานรับน้อง ไม่ว่าจะสถาบันเล็กหรือใหญ่ก็มีเพลงนี้ร้องเล่นกันโดยทั่วไป สมัยที่ผมเข้ามหาวิทยาลัยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน ก็ร้องเพลงนี้ พอขึ้นมาเป็นรุ่นพี่ ก็ยังร้องยังเต้น ยังให้น้องเต้นตามด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยไม่ได้คิดใส่ใจเลยว่าเนื้อหาของเพลงนี้เป็นยังไง ตอนนั้นก็คิดแต่ว่าจังหวะสนุกดี เต้นสนุกดี รุ่นพี่เต้นมา เราก็เต้นตาม ๆ ไป จนพอถึงวัยที่เริ่มคิดเองได้บ้าง ก็เริ่มคิดแล้วว่าเราปล่อยให้ตัวเองชินกับเพลงแบบนี้ได้ยังไงกันนะ

ในบทความนี้อ้างถึงเนื้อเพลงว่า

"???? มัดหมี่ มัดหมี่ มัดหมี่ขูดมะพร้าว ทำกับข้าวอยู่ในครัว มัดหมี่ไม่รู้ตัวถูกคนชั่วลากออกไป เอาไม้แหย่รู ถูๆ ไถๆ แสบๆ คันๆ มันๆ ปนกันไป เอาออกก็ไม่ได้ใครเอาออกได้ช่วยเอาออกที " 

อะหยุดตรงนี้แพ้บบบบ แหม่ ๆ รู้เลยนะครับว่าคนเขียนบทความนี้ขึ้นมานี่ยังต้องเป็นเด็กน้อยวัยใสอายุยังไม่มากแน่ ๆ เพราะถ้ามีอายุหน่อยต้องรู้ว่าที่จริงแล้วถ้าจะร้องให้ถูก ต้องไม่ใช่ "มัดหมี่" ครับ

มัดหมี่ แปลว่า กรรมวิธีการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ  ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้ แล้วก็เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีแบบนี้ว่า ผ้ามัดหมี่ 

(ผ้ามัดหมี่ จาก www.lopburitravel.com)

นอกจากนั้นแล้ว "มัดหมี่" ยังเป็นชื่อบุคคลเพศหญิงได้อีกด้วย

ในเพลงนี้ ระบุว่า "ขูดมะพร้าว ทำกับข้าวอยู่ในครัว" ถามว่าเชื่อมโยงยังไงกับ "มัดหมี่" ครับ ไม่มีเลยสักนิด ไม่เกี่ยวกับผ้าไทย ไม่เกี่ยวกับคุณมัดหมี่ แต่ที่เกี่ยวชัด ๆ ก็ต้องเป็น "มะหมี่" ครับ

"มะหมี่" คือชื่อเล่นของนักแสดงสาวชาวไทยท่านหนึ่ง มีชื่อจริงว่า "นภคปภา นาคประสิทธิ์" ผลงานสร้างชื่อก็คือภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แม่เบี้ย" เมื่อปีพ.ศ.2544 ครับ เธอรับบทเป็น "เมขลา" สาวสวยที่มีท่า "ขูดมะพร้าว ทำกับข้าวอยู่ในครัว" ด้วยความเซ็กซี่เป็นที่หนึ่ง ทำให้ภาพยนตร์เรื่องแม่เบี้ยฮือฮากันมาก ๆ เพราะเป็นภาพยนตร์แนวอีโรติกดรามาที่มีความเซ็กซี่เป็นจุดขาย มีฉากเปลือยทั้งของพระเอกนางเอก และมีฉากรักที่เร่าร้อนถึงพริกถึง 

ด้วยท่าทางของ "เมขลา" และเนื้อเรื่องที่มีฉากอีโรติกอยู่ไม่น้อย ก็น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นที่มาของเพลงที่ร้องว่า "มะหมี่ มะหมี่ มะหมี่ขูดมะพร้าว ทำกับข้าวอยู่ในครัว มะหมี่ไม่รู้ตัวถูกคนชั่วลากออกไป​ เอาไม้แหย่รู ถูๆ ไถๆ แสบๆ คันๆ มันๆ ปนกันไป เอาออกก็ไม่ได้ใครเอาออกได้ช่วยเอาออกที" 

เนื้อเพลงนี้ระบุว่า "มะหมี่ถูกคนชั่วลากออกไปข่มขืน" ครับ ใช่ครับ เนื้อเพลงระบุเช่นนั้น แล้วเราก็เอาเพลงเนื้อหาแบบนี้มาร้องเล่นกันสนุกสนานเหมือนกับเป็นเรื่องที่เราต้องเคยชิน ละคงละครหลายเรื่องมีฉากพระเอกขืนใจนางเอก แล้วคนดูทางบ้านก็ฟินกันไป แทบไม่ต่างอะไรกับการที่เราเห็นดีเห็นงาม ยืนปรบมือชื่นชมยินดีกับการกระทำดังกล่าวโดยที่บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัว

นอกจากนั้นยังมีประเด็นเพลง "แมงมุม" ด้วยครับ แมงมุมนี่อาจจะดูรุนแรงกว่า "มะหมี่" ด้วยซ้ำครับ เพราะแมงมุมนี่มักจะให้ออกมาเต้นทำท่าพิสดาร คนหนึ่งลักษณะคล้ายนอนหงาย ส่วนอีกฝ่ายลักษณะคล้ายกำลังคลานมาคร่อมอีกฝ่ายแล้วทำท่าขย่มพร้อมกับร้องเพลงว่า "แมงมุมขยุ้มหลังคา แมวกินปลาขยุ้ม ขยุ้ม ขยุ้ม ขยุ้ม" โดยผู้ที่ออกมาทำท่าทางลักษณะนี้ก็แทบไม่มีสิทธิ์จะปฏิเสธ เพราะหากปฏิเสธก็อาจจะถูกรุ่นพี่หรือเพื่อนมองว่า "ไม่ใจ" ไปอีก 

หรือเพลง "มะดันดอง" ที่ร้องว่า "ดันมะดันดอง ตีหนึ่งตีสองปลุกน้องขึ้นมาดัน" รวมไปถึงเพลงลูกทุ่งยอดฮิตอย่างเพลง "หนุ่มนารอนาง" ที่ร้องว่า "เมื่อถึงเดือนเมษา หนุ่มบ้านนานั่งฝัน คอยคนรักคอยคนรักจากกัน สิ้นสงกรานต์น้องก็พลันลืมพี่"  ที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นเพลง "เมื่อฉันโดนข่มขืน เขาให้ยืนถ่างขา เอาไอ้นั่นเอาไอ้นี่แหย่เข้ามา ในแต่ละคราฉันยังจำได้ดี ทีสองทีไม่ว่า ตั้งห้าหกที คนสองคนไม่ว่าตั้งห้าหกคน"

ทำไมเราถึงยอมทน ยอมชินกับอะไรแบบนี้กันนะ

ผมว่าเป็นเรื่องดีนะครับที่มีคนรุ่นใหม่ออกมาพูดประเด็นนี้เสียที คนรุ่นหลังควรจะคิดได้แล้วว่าอะไรที่รุ่นพี่ทำ ๆ ตามกันมานั้น เราไม่จำเป็นต้องเห็น

ด้วยไปทั้งหมด ถ้ามันไม่ดี ก็ไม่จำเป็นต้องสานต่อ ปล่อยให้มันตายไปกับคนรุ่นเก่าดีกว่าครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0