โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับครีมกันแดดที่คุณใช้

issue247.com

อัพเดต 04 ธ.ค. 2562 เวลา 03.22 น. • เผยแพร่ 03 ธ.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าครีมกันแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับโอกาสเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังไปจนถึงการรบกวนการทำงานของฮอร์โมนหรือแม้แต่ทำลายสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ตัวการสำคัญคือสารกรองแดดที่สะสมปนเปื้อนในน้ำและเนื้อเยื่อไขมันของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีผลพิษของยา ล่าสุดฮาวายได้เตรียมสั่งห้ามจำหน่ายครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของออกซิเบนโซนและออกติโนเซต สารกรองแดดซึ่งมีฤทธิ์ทำลายปะการังในปี 2021 ทว่านี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น

 

สารกรองแดดเคมี VS ธรรมชาติ

ผลิตภัณฑ์กันแดดและเครื่องสำอางส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักจะมีส่วนผสมของสารกรองแดดเคมี (เช่น ออกซิเบนโซน เอโวเบนโซน ออกติซาเลต ออกโตไครลีน โฮโมซาเลต และออกติโนเซต) สารกรองแดดเหล่านี้จะดูดซับรังสียูวีซึ่งจะกระตุ้นโมเลกุลในผิวหนังทำให้เคลื่อนไหวเร็วจนพลังงานกระจายไปเป็นความร้อน แต่ขณะเดียวกันก็ไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อและเป็นสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ไม่ทำลายปะการังจะมีส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น สังกะสีออกไซด์ ไทเทเนียมออกไซด์ หรือทั้งสองอย่าง มันจะสะท้อนรังสียูวีออกไปแต่ก็ยังมีการดูดซับในปริมาณต่ำ

 

การได้รับในปริมาณที่มากเกินไป

ผลงานวิจัยด้านโภชนาการและสุขภาพแห่งชาติปี 2003–2004 พบความเข้มข้นของออกซิเบนโซนกับเมตาโบไลต์ในประชากรสหรัฐถึงร้อยละ 97 จากตัวอย่างปัสสาวะจำนวนมากกว่า 2,500 ราย ที่สำคัญครีมกันแดดไม่ใช่แค่ตัวการเดียว ออกซิเบนโซนกับเบนโซฟีนอลยังสามารถพบได้ในเซรั่มชะลอริ้วรอย น้ำหอม เครื่องสำอาง พลาสติก กระดาษแข็ง น้ำหมึก หรือแม้แต่อาหารย้อมสี ระยะเวลาในการกำจัดออกซิเบนโซนคือ 2.4 ปีและมันสามารถตกค้างได้นานเกือบ 5 ปีเลยทีเดียว ออกซิเบนโซนละลายได้ในไขมันและจะอาศัยอยู่ในเซลล์ไขมันและเนื้อเยื่อของคุณรวมถึงแหล่งน้ำต่างๆด้วย ด้วยเหตุนี้เราจึงกำจัดมันยาก

 

การโฆษณาด้วยข้อมูลผิดๆ

หากคุณคิดว่าการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 100 จะสามารถอยู่กลางแจ้งได้นานกว่าค่า SPF 50 สองเท่าล่ะก็..คุณคิดผิด โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังต่างหากที่เพิ่มขึ้น อันที่จริงหลังจากที่มีการใช้ครีมกันแดดมากว่า 40 ปี โรคมะเร็งผิวหนังก็ยังไม่ลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด

 

ถอดรหัสครีมกันแดด

  • UVB : รังสีคลื่นสั้นซึ่งเป็นสาเหตุของผิวไหม้จากแสงแดดและมีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังด้วยโดยการผลิตอนุมูลอิสระที่อันตรายออกมา
  • UVA : ร้อยละ 95 ของรังสีคลื่นยาวนี้จะเดินทางมาถึงผิวโลกและแทรกซึมเข้าไปในผิวหนัง มีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมารวมถึงสัญญาณแก่ก่อนวัย เช่น ริ้วรอยและความหย่อนคล้อย
  • SPF : ตัวย่อของ “Sun Protection Factor” ซึ่งเป็นตัววัดความสามารถในการป้องกันรังสี UVB และผิวไหม้จากแสงแดด ครีมกันแดดค่า SPF 15 จะกรองรังสี UVB ได้ร้อยละ 93 ส่วน SPF 30 กับ SPF 50 จะกรองได้ร้อยละ 97 และ 98 ตามลำดับ แต่จงจำไว้ว่าไม่มีค่า SPF ใดที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ 100%
  • Broad-Spectrum : มีคุณสมบัติกรองได้ทั้งรังสี UVA และ UVB ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของสารออกฤทธิ์

 

ทางเลือกสุดท้าย

ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่าครีมกันแดดควรเป็นทางเลือกสุดท้ายในการป้องกันแสงแดด ขั้นตอนแรกคือการหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงร้อนจัด มองหาที่ร่ม สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด สวมแว่นกันแดดและหมวกปีกกว้าง

 

เคล็ดลับในการเลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับคุณ

  • เลือกส่วนผสมจากธรรมชาติ ที่สำคัญครีมกันแดดที่มีส่วนผสมจากธรรมชาตินั้นเหมาะกับผู้ที่มีผิวบอบบางหรือแพ้ง่ายรวมถึงทารกที่มีอายุมากกว่าหกเดือน
  • หลีกเลี่ยงอนุภาคนาโนเนื่องจากพบว่าเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมกับมนุษย์
  • เลือกค่า SPF สูงๆ อย่าต่ำกว่า SPF 30 แม้ว่า SPF 15 อาจจะดีกว่าไม่มีอะไรป้องกันเลยแต่ก็ยังไม่พออยู่ดี
  • เลือกโลชั่นมากกว่าละอองลอย โลชั่นจะทาได้ง่ายกว่า แต่ถ้าคุณนิยมสเปรย์ก็ควรพ่นในบ้านและไม่มีลม พ่นลงบนฝ่ามือและลูบไล้ผิวหนังเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า
  • ทาซ้ำทุกๆสองชั่วโมงแม้ว่าจะเป็นสูตร SPF 100 และกันน้ำก็ตาม! งานวิจัยพบว่าหลังจากที่ทาสารกรองแดดเพียงหนึ่งชั่วโมง ผิวหนังจะผลิตอนุมูลอิสระมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด
  • ไม่ว่าจะมีสีผิวแบบใดก็ควรทาครีมกันแดดทุกวัน!

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0