โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย กับสรรพคุณ และประโยชน์มากมายที่ยังไม่มีใครรู้!

HonestDocs

อัพเดต 09 ต.ค. 2562 เวลา 19.54 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2562 เวลา 19.54 น. • HonestDocs
ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย คืนช่าย มี สรรพคุณ อะไรบ้าง? ช่วยลดความดัน ลดน้ำตาล ลดไขมัน ได้จริงหรือ? ประโยชน์ต่อร่างกายอื่นๆ มีอะไรบ้าง? บริโภคอย่างไรให้ปลอดภัย? โทษของขึ้นฉ่ายคืออะไร?

ขึ้นฉ่าย คื่นช่าย เป็นพืชที่ขาวเอเชียนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร และมีการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในการลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล บำรุงตับและไต

ชื่ออื่น ๆ : ผักปืม ผักข้าวปืน ผักปืน (เหนือ)

ชื่อสามัญ : Celery

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Apium graveolens L.

วงศ์ : UMBELLIFERAE (APIACEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

  • ขึ้นฉ่ายเป็นพืชล้มลุก จะมีอายุประมาณ 1-2 ปี จะมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายจีน (Chinese celery) มีขนาดลำต้นเล็กและสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนอีกพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง (Celery) จะมีลำต้นอวบใหญ่ มาก ลำต้นสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ทุกส่วนของลำต้น มีกลิ่นหอม สีของลำต้นเป็นสีขาวอมเหลือง ทั้งต้นจะ อ่อนนิ่ม
  • ใบขึ้นฉ่าย เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบสีเขียวอมเหลือง ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก แต่ละแฉกอาจจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ
  • ดอก มีขนาดเล็กสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ตรงยอดดอกนั้นแผ่เป็นรัศมี
  • ผล มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็กมาก และมีกลิ่นหอม จะให้ผลเพียงครั้งเดียว

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

  • ป้องกันการอักเสบ เนื่องจากมีฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยต้านการอักเสบ ส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบในกลุ่มโรคลูปัส (Lupus) รูมาตอยด์ หอบหืด โรคปอด และช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ ปวดศีรษะ ปวดท้องประจำเดือน รวมถึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยลดไขมันในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • มีสารฟลาไลด์ (Phthalide) ที่ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวได้ดี ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยขับปัสสาวะ และป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • มีกากใยและสารต้านอนูมูลอิสระที่เป็นผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะ แผลในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง
  • บำรุงร่างกาย บำรุงตับและไต
  • มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยให้ผ่อนคลาย นอนหลับได้ดีขึ้น
  • สามารถนำมาเป็นพืชแต่งกลิ่นในอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร
  • ในเมล็ดขึ้นฉ่ายมีน้ำมันหอมระเหย ช่วยในการขับลม และนำไปสกัดใช้ไล่ยุงได้

ขึ้นฉ่ายช่วยลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันได้จริงหรือ?

จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของขึ้นฉ่าย พบว่ามีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ และยังมีสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการเกิดมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสามารถช่วยลดได้จริง

อย่างไรก็ตาม การรับประทานเพื่อลดความดัน น้ำตาล และไขมันในเลือด ควรใช้เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของคนทั่วไป ซึ่งมีระดับความดัน น้ำตาล และไขมันดังกล่าวยังไม่สูงมากนัก แต่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและติดตามอาการ รวมถึงรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการดูแลตนเองด้วย

บริโภคขึ้นฉ่ายอย่างไรให้ปลอดภัย

  • รับประทานเป็นผักสด หรือประกอบในอาหาร เช่น ผัดเห็ดหอม ผัดเต้าหู้ แกงจืด เป็นต้น
  • นำเมล็ดขึ้นฉ่ายมาทำเป็นชาชงดื่ม
  • ดื่มน้ำคั้นสด โดยใช้ต้นสดประมาณ 100 กรัม นำมาตำหรือปั่นละเอียด จากนั้นกรองเอาเฉพาะน้ำ ดื่มก่อนรับประทานอาหาร ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานขึ้นฉ่ายหรืออาหารชนิดใดชนิดหนึ่งปริมาณมากๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย และประกอบด้วยสารอาหารให้ครบ 5 หมู่

ผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย

  • ไม่ควรรับประทานขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไต ไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก อ่อนเพลีย ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • ผู้ที่มีอาการแพ้พืชผักบางชนิดอาจมีอาการแพ้จากการรับประทานหรือใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของขึ้นฉ่ายได้
  • ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำหรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานขึ้นฉ่ายเป็นยารักษาโรค เนื่องจากอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาเลโวไทรอกซีน ยาลิเทียม ยาบางชนิดที่ไวต่อแสง ยาระงับประสาทหรือยาที่ออกฤทธิ์ให้เกิดอาการง่วงซึม เป็นต้น

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0