โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ขั้วแม่เหล็กโลก เคลื่อนตัวเร็วกว่าที่คาด ปีละ 50 กิโลเมตร

PPTV HD 36

อัพเดต 12 ม.ค. 2562 เวลา 02.51 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. 2562 เวลา 02.47 น.
ขั้วแม่เหล็กโลก เคลื่อนตัวเร็วกว่าที่คาด ปีละ 50 กิโลเมตร
นักวิทยาศาสตร์เร่งปรับโมเดลนำทางเรือ และเครื่องบินแถบอาร์กติก หลังขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกเคลื่อนเร็วกว่าที่คาด

การเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วของขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องปรับโมเดลที่ช่วยนำทางเรือและเครื่องบินในแถบอาร์กติกเร็วขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

นักวิทยาศาสตร์ปรับโมเดลหลังขั้วแม่เหล็กเหนือเคลื่อนตัวเร็วกว่าคาด โดยเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วแม่เหล็กเหนือเสมอ แต่ล่าสุดขั้วแม่เหล็กโลก ตอนนี้ได้เคลื่อนตัวอย่างไม่คาดคิดจากชายฝั่งตอนเหนือของประเทศแคนาดาเมื่อร้อยปีก่อน มาอยู่ที่กลางมหาสมุทรอาร์กติก และกำลังไปทางประเทศรัสเซีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  คนไทยทีมไลโก้เปิดใจการค้นพบ “คลื่นความโน้มถ่วง”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :   นักวิทย์ผุดไอเดียใช้เครื่องจักร 10 ล้านเครื่องเติมน้ำแข็งให้ขั้วโลกเหนือ
 

คียแรน เบ็กแกน จากสำนักสำรวจธรณีวิทยาอังกฤษ บอกว่าขั้วแม่เหล็กเหนือเคลื่อนที่ไม่มากนักระหว่างปี ค.ศ. 1900 ถึงปี ค.ศ.1980 แต่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมากลับเคลื่อนตัวเร็วขึ้นมาก ซึ่งปัจจุบัน มันกำลังเคลื่อนตัวในอัตราปีละ 50 กิโลเมตร

โมเดลแม่เหล็กโลกซึ่งจะปรับปรุงทุกๆ 5 ปี โดยครั้งต่อไปมีกำหนดปรับปรุงปีหน้า แต่กองทัพสหรัฐฯ ได้ขอให้สำนักสำรวจธรณีวิทยาอังกฤษ และสำนักงานบริหารภาคพื้นทะเลและบรรยากาศแห่งสหรัฐอเมริกา ปรับปรุงเร็วกว่ากำหนด ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยวารสารวิทยาศาสตร์ “เนเจอร์” ระบุว่า โมเดลที่ปรับปรุงแล้วจะเผยแพร่ในวันที่ 30 มกราคมนี้

เบ็กแกน บอกว่า การเคลื่อนที่ของขั้วแม่เหล็กโลกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคาดเคาได้ของโลหะหลอมเหลวที่ลึกภายในโลก ซึ่งการที่ตำแหน่งขั้วแม่เหล็กโลกเปลี่ยนไปนั้น จะส่งผลกระทบต่อการนำทาง โดยเฉพาะในมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของแคนาดา

อย่างไรก็ตาม เบ็กแกนบอกว่า คนที่อยู่นอกแถบอาร์กติกส่วนใหญ่ จะไม่สังเกตถึงการเคลื่อนตัวของขั้วแม่เหล็กโลกในช่วงหลัง  เนื่องจากมีระบบนำทางบนสมาร์ทโฟนหรือรถยนต์ ที่พึ่งพาสัญญาณคลื่นวิทยุจากดาวเทียม ในการระบุตำแหน่งบนโลก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0