โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

กูรูชี้ 3 ทางรอดองค์กรยุคดิจิทัล “หาพันธมิตร – สร้างคน – กล้าคิดสร้างสรรค์”

Techsauce

เผยแพร่ 19 ส.ค. 2562 เวลา 16.47 น. • Techsauce

แน่นอนว่าการเติบโตเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเกิดใหม่ของบริษัทเทคโนโลยี อีกทั้งการแข่งขันที่มาจากทุกทิศทาง ส่งผลให้รูปแบบการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันถูก disrupt การเติบโตอย่างก้าวกระโดดจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในโลกอนาคต เพื่อเป็นการตอบรับความท้าทายดังกล่าว  เนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปีของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จึงได้จัดงาน TMA Thailand Management Day 2019ภายใต้แนวคิด GROWTH: Building for the Future โดยในครั้งนี้ได้เชิญสปีกเกอร์ชั้นนำจากต่างประเทศและในประเทศมากมาย ร่วมขบประเด็นค้นหาแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถคนในองค์กรให้สามารถมองเห็นขีดความสามารถในการพัฒนาทางการตลาด และนำไปสู่หนทางการเติบโตที่ยั่งยืนในทุกมิติ

AI จะไม่มาแทนที่มนุษย์ แต่จะทำให้เราเป็น Superhuman

Mr. Avi Hasson ประธานกรรมการบริหาร ด้านการออกแบบและนักอนาคตศาสตร์ ศูนย์นวัตกรรมของ SAP
Mr. Avi Hasson ประธานกรรมการบริหาร ด้านการออกแบบและนักอนาคตศาสตร์ ศูนย์นวัตกรรมของ SAP

เทคโนโลยี AI จะมาแทนคนหรือไม่ เรื่องนี้เป็นกระแสมาแรงในโลกธุรกิจยักษ์ใหญ่ในระดับโลกหลายแห่ง  Mr. Avi Hasson ประธานกรรมการบริหาร ด้านการออกแบบและนักอนาคตศาสตร์ ศูนย์นวัตกรรมของ SAP ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า AI จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอนาคต ด้วยความที่ AI สามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ ตามชุดข้อมูลที่ได้รับ เพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจในอนาคต องค์กรต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้ในการองค์กรในการช่วยเสริม Manual Work ของพนักงาน ซึ่งจะทำให้ Work Force กลายเป็น Superhuman ที่มีเวลาหรือใช้สมองไว้สำหรับการแสวงหาหรือแก้ปัญหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้มากขึ้น มนุษย์จะต้องทำการคาดการณ์อนาคตว่า ลูกค้าคือใครและมีความต้องการอย่างไรในอนาคต รวมถึงตั้งคำถามของพันธมิตรในอนาคตว่าจะเป็นใคร เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันกำหนดอนาคตให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม

การหาพันธมิตรเป็นสิ่งสำคัญ

(กลาง) ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส (ขวา​​) คุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
(กลาง) ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส (ขวา​​) คุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

สำหรับในประเทศไทย พบว่าอุตสาหกรรมการเงิน และการสื่อสารโทรคมนาคม เป็น 2 อุตสาหกรรมที่ถูก Digital Disruption อย่างรุนแรง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้องค์กรถูก Disrupt ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองในประเด็นนี้ว่า เทรนด์การแข่งขันในอนาคตนั้นจะมาทุกทิศทาง โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลลูกค้า นับว่าเป็นผู้เล่นที่ไทยต้องระวัง ดังนั้นองค์กรต่างๆ ควรหาจุดแข็งขององค์กรให้เจอ และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะคนให้มีจิตวิญญาณของทดลองสิ่งใหม่ๆ และที่สำคัญคือการหาพันธมิตร ผนึกกำลังร่วมกันวางแผนเพื่อให้ทันเกมการแข่งขันที่เปลี่ยนไป

ทางด้านคุณพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านคอนเทนต์และมีเดีย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)กล่าวแนะนำว่าองค์กรจะต้องให้ความสำคัญ 3 เทคโนโลยีที่สำคัญ ได้แก่ Big Data, Data Asset และ 5G ซึ่งในการที่จะต่อสู่กับองค์กรข้ามชาติที่มีคลังข้อมูลมากกว่า องค์กรต้องมีการสะสมคลังข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเพิ่ม Data Asset ด้วยการจับมือกับพันธมิตร และสุดท้ายคือองค์กรจะต้องเข้าใจเทคโนโลยี 5G และนำมาปรับใช้ในอุตสาหกรรมตัวเอง ซึ่งการให้ความสำคัญใน 3 เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นหนทางไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ลูกค้า ทั้งในแง่ Functional Benefit และ Emotional Benefit

การหาพาร์ทเนอร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะสำคัญมากขึ้นในอนาคต นอกจากจะช่วยเสริมในสิ่งที่เราไม่ถนัดแล้ว ยังสามารถร่วมกันสร้างธุรกิจใหม่ได้ด้วย

ไม่อยากโดน Disrupt ต้องสร้าง Growth Mindset

คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด
คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด

คุณรวิศ หาญอุตสาหะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด คาดการณ์ว่าในอนาคตการแบ่งงานระหว่างมนุษย์ เครื่องจักร และอัลกอริธึม จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยคนจะทำงานน้อยลง ทั้งนี้ เมื่อเครื่องจักรสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ อีกทั้งมีงานใหม่เพิ่มขึ้น จึงเป็นความจำเป็นที่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาคนให้มีทักษะที่ AI ยังทำไม่ได้ด้วยกัน 7 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร การสร้างคอนเทนต์ การเข้าใจในบริบท ความสามารถทางด้านอารมณ์ ด้านการสอน ด้านการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านเข็มทิศทางจริยธรรม

ในอนาคตเราจะต้องมีวันในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ถึง 101 วันต่อปี ดังนั้นองค์กรจะต้องนำกระบวนการเรียนรู้ร้อยเรียงให้เข้าไปอยู่ใน core thinking ขององค์กรให้ได้

บทบาท HR ยุคใหม่ สร้าง 'คน' ให้มี 'ทักษะการเป็นผู้นำ'

ในการที่จะทำ transformation ได้ เรื่องคนเป็นเรื่องสำคัญ  คุณศิริพร เฟื่องมารยาท ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท ดาวเคมิคอล ประเทศไทย คุณวาณี พิชเยนทรโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคล บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับบุคลากรในองค์กร ทั้งในแง่ของวิสัยทัศน์ ทัศนคติรวมถึงกลยุทธ์ เพื่อนำองค์กรก้าวสู่วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม เปิดประเด็นแรกในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของเทคโนโลยี โดยทั้งสองท่านได้เห็นพ้องว่า ในการที่จะปรับตัวไปในืิศทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและสภาพตลาด ณ เวลานั้น อีกทั้งทำการสำรวจกลุ่มคนในองค์กรเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น ทั้งนี้คุณวาณีมองว่า AI ยังคงมาแทนคนไม่ได้ในหลายๆ ด้าน มาในมุมของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต คุณศิริพรเสริมประเด็นนี้ว่าการพัฒนานั้นขึ้นอยู่กับพนักงานว่าต้องการพัฒนาด้านไหนมากกว่าจะเป็นการที่องค์กรไปกำหนด

อย่างไรก็ตาม ทักษะที่สำคัญสำหรับผู้ที่ถือว่าเป็น Talent ในยุคนี้คือ ทักษะการเป็นผู้นำ โดยวัฒนธรรมของทางกลุ่มบริษัท ดาวเคมิคอล คือ OCBC ซึ่งมาจาก Ownership, Collaboration, Business growth mindset and Continuous learning

Talent ขององค์กรไม่ได้ยึดติดกับฟังก์ชันอีกต่อไป แต่จะต้องมีความยืดหยุ่นในการทำงาน (flexibility) และความพยายามและความสามารถในการเรียนรู้จากประสบการณ์ (learning agility) มากขึ้น

นอกจากนี้ในที่จะสร้างพลังคนในองค์กรได้นั้น จะต้องมีการสร้างความเชื่อมั่น (trust) ความโปร่งใส (transparency) และความเป็นผู้นำ (leadership) ก่อน คุณวาณี ได้แชร์ประสบการณ์ว่า แม้จะมีการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้าง และการให้เวลาในการทำงานที่ยืดหยุ่น แต่การที่องค์กรจะ empower ได้ คนในองค์กรจะต้องมีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองก่อน  เมื่อทุกคนมีความเชื่อใจกัน ทำงานสอดประสานกัน มีเป้าหมายเดียวกัน จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ทางด้านคุณศิริพร ได้เสริมประเด็นการสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกนั้นจะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบลื่นมากขึ้นเช่นกัน

Agile organisation นั้นไม่ใช่เรื่องของกระบวนการ (process) หรือการควบคุม (control) แต่เป็นเรื่องของคนทำงานด้วยกัน มองเห็นโอกาสในการพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ไปร่วมกันได้

ใครมีข้อมูลมากน้อยไม่สำคัญ แต่อยู่ที่ 'ความคิดสร้างสรรค์'

(ด้านซ้าย) ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President-The 1, Central Group (กลาง) คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (ขวาสุด) คุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer, Rabbit Digital Group
(ด้านซ้าย) ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President-The 1, Central Group (กลาง) คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (ขวาสุด) คุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer, Rabbit Digital Group

เมื่อพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป การตีโจทย์ทางการตลาดและตอบสนองความต้องการได้อย่างตรงจุดเพื่อสร้างความได้เปรียบที่โดดเด่นในตลาดได้อย่างตรงจุดนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อหาคำตอบนี้ในงานยั้งได้รับเกียรติจาก ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ President-The 1, Central Group  คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด และคุณสโรจ เลาหศิริ Chief Marketing Officer, Rabbit Digital Groupเข้าร่วมเสวนา โดยมีหลายประเด็นที่น่าสนใจด้วยกัน

คุณฐากรแสดงความเห็นว่า จริงๆ แล้วพฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้เปลี่ยน แต่เทคโนโลยีทำให้เกิดความสามารถในการเข้าใจ Consumer Insightในหลากมิติมากขึ้น ทำให้องค์กรสามารถเปลี่ยนมุมมองในการออกกลยุทธ์ได้ตอบโจทย์มากกว่า อีกทั้งการที่มีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นที่เปิดกว้าง ทำให้องค์กรสามารถเข้าใจองค์ประกอบของลูกค้ามากขึ้น แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปนั่นคือมิติของคนรุ่นใหม่ที่แตกต่างจากคนรุ่นเก่าอย่างเห็นได้ชัด

คุณสโรจ เสริมในบทบาทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ว่า โซเชียลมีเดียทำให้บริษัทสามารถเห็นข้อมูลของผู้ใช้นอกเหนือจากข้อมูลลูกค้าทั่วไป ซึ่งนอกจากจะรู้ว่าลูกค้ากำลังพูดถึงเรื่องอะไรแล้ว ยังทำให้สามารถทำนายได้ว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์อะไรได้บ้าง

แล้วองค์กรจะใช้ประโยชน์จากของข้อมูลมหาศาลเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไรคุณฐากรให้คำแนะนำว่า การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า นั้นสำคัญ หากองค์กรมีการมุ่งเป้าไปที่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง ก็จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์กรอย่างแน่นอน

ทางด้าน ดร.ธรรม์เน้นย้ำว่า องค์กรต้องพยายามมองให้เข้าใจถึงเบื้องลึกว่าลูกค้าซื้อสินค้าเพราะอะไร ซื้อไปทำไม มากกว่าซื้อสินค้าอะไร นี่จะทำให้โอกาสในการออกกลยุทธ์เปิดกว้างมากขึ้น แม้มีข้อมูลมหาศาลแต่หากไม่สามารถตีโจทย์ได้ ชุดข้อมูลที่มีอยู่ในมือก็ไม่เกิดประโยชน์

สำหรับบริษัทที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำธุรกิจ ไม่มีคลังข้อมูลมหาศาลในครอบครอง ในมุมมองทางฝั่ง Creative agency คุณสโรจ เสริมว่า ในการสร้างกระบวนการเก็บข้อมูลที่จะได้ประโยชน์แก่ทั้งแบรนด์และลูกค้าได้นั้น บริษัทจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งนี่ทำให้ลูกค้าจะมีความยินยอมในการให้ข้อมูลโดยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นการโดนบังคับ

ข้อมูลมากน้อยไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญคือความคิดสร้างสรรค์ว่าจะนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างไร

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Day (TMA)) 

บทความนี้เป็น Advertorial

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0