โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

การทำนาเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว

รักบ้านเกิด

อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 02.36 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 02.36 น. • รักบ้านเกิด.คอม

คุณลำพอง ภู่วงศ์ เป็นชาวนามาแต่ดั้งเดิม ก่อนหน้าคุณลำพองทำเกษตรกรรมในรูปแบบเชิงเดี่ยว ทำนาเพียงอย่างเดียว ไม่มีการปลูกพืชผสมผสานอื่นๆร่วมด้วย อีกทั้งการทำนายังพึ่งพาเพียงแต่ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงอีกด้วย ทำให้ต้นทุนในการทำนาสูง จึงทำให้การทำนานั้นขาดทุน เมื่อประสบกับปัญหาขาดทุน คุณลำพองจึงเริ่มต้นที่จะศึกษาเพื่อหาทางเลือกในการทำการเกษตรในรูปแบบใหม่ จากเดิมที่ทำนาเพียงเพื่อขายข้าวเปลือก ได้ปรับเปลี่ยนมาทำนามาเพื่อขายเมล็ดพันธุ์ หลังจากที่คุณลำพองปรับเปลี่ยนวิธีการทำนามาเป็นทำนาเพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ คุณลำพองประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าว กข. 57. ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยนาท

การทำนานั้น โดยปกติต้องใช้นำเป็นจำนวนมาก ทำให้หลายหน่วยงานพยายามที่จะหาแนวทางในการทำนาที่ประหยัดน้ำให้มากที่สุด ล่าสุดกรมชลประทานร่วมเครือข่ายนานาชาติด้านนํ้าและระบบนิเวศในนาข้าว (International Network for Water and Ecosystem in Paddy Fields, INWEPF) บริษัทสยามคูโบต้าคอร์เปอร์เรชั่น และสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ได้ดำเนินโครงการ "การทำนาเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว" ซึ่งพบว่าทั้งประหยัดน้ำ ประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตด้วย นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกของเกษตรกร ในยุคที่ประเทศไทยกำลังประสบการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งนอกจากจะประหยัดน้ำแล้วยังประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตอีกด้วย คุณลำพองจึงนำนวัตกรรมนี้มาใช้กับที่นาของตนเอง

การทำเปียกสลับแห้ง คือการใช้ท่อพีวีซีหน้าสี่ยาว 30 เซนติเมตร เจาะรูประมาณ 30 รู รอบ ๆ ตัดท่อประมาณ 30 เซนติเมตร สรุปประมาณ 30 รูต่ออัน แล้วนำไปฝังไว้ในนาตอนข้าวได้หนึ่งเดือน ฝังลงไป 25 เซนติเมตร แล้วก็นำดินออกให้เหลือบนดินห้าเซนติเมตร ให้ท่อโผล่มาจากดินห้าเซนติเมตร เสร็จแล้วให้ดูระดับน้ำว่าน้ำผิวดินแห้ง แต่น้ำในท่อยังไม่แห้ง ยังไม่ต้องไปวิดน้ำปล่อยจนให้ไม่มีน้ำในท่อ เพราะน้ำในผิวดินแห้ง น้ำในท่อยังมีอยู่เรายังไม่ต้องไปให้น้ำ เพราะรากข้าวยังหากินได้ เราก็จะให้น้ำก็ต่อเมื่อข้าวได้หนึ่งเดือนไปแล้ว เราอยากจะปล่อยให้ดินแห้ง เพราะข้าวใบมันจะคลุมหน้าดินไม่ให้หญ้าขึ้น เดือนแรกต้องมีน้ำตลอด แต่พอเข้าเดือนที่สองอาทิตย์ที่ 5 ? 6 สามารถปล่อยน้ำได้ ให้หลังจากน้ำแห้งไป 20 วัน จนกว่าดินจะแตกระแหง พอดินแตกระแหงแล้ว เราจะใส่ปุ๋ย เขาเรียกว่าฝังปุ๋ย ก็หว่านปุ๋ยสูตร 16-20-0 พอใส่ปุ๋ย ปุ๋ยมันจะกลิ้งลงไปตามรูรอยแตกระแหง พอเราให้น้ำ ปุ๋ยมันก็จะไม่เสียหาย

คุณลำพองใช้ปุ๋ยไร่ละประมาณ 40 กิโลกรัม ใช้หว่านสองเที่ยว เกือบลูกต่อไร่ เขาพยายามลดต้นทุนแล้ว เพราะถ้าลดกว่านี้ก็ไม่ได้ มันจะไม่ได้ผลผลิตตามต้องการ หลังจากเอาปุ๋ยใส่ ก็เอาน้ำเข้า จะทำงานสบายตอนหว่าน เพราะดินมันแห้ง เดินสบาย จะปล่อยน้ำเข้าประมาณ 5 เซนติเมตร สูงจากดิน 5 - 10 เซนติเมตร แค่นั้นพอ แล้วก็ปล่อยไว้ยาวเลย ให้น้ำครั้งหนึ่งก็ปล่อยทิ้งได้ไว้ประมาณ 10 ? 15 วัน ก็ปล่อยให้แห้ง แล้วก็เอาน้ำเข้าอีก ทำแบบนี้สลับกันไปเป็นเปียกสลับแห้ง แมลงมันจะไม่อยู่ เชื้อราจะไม่เกิด เราจะลดต้นทุนตรงนั้นไปไม่ต้องใช้ยากันเชื้อรามาก แมลงก็มีเฉพาะตัวที่เป็นประโยชน์เค้าเรียกว่าตัวฮั่งตัวเบียนที่กินตัวแมลงที่มาทำลาย เป็นศัตรูต่อศัตรูทำลายกันเอง นอกจากนั้นช่วยให้รากแกร่ง ต้นก็แกร่ง พอให้น้ำใหม่รากมันก็จะแทงขึ้นใหม่ ข้าวจะเขียวดี การให้ปุ๋ย จะใส่ประมาณ 45 วันในช่วงแรก และ 25 วันในช่วงที่สอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0