โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

การคุมหญ้าในนาข้าวแบบเกษตรอินทรีย์

รักบ้านเกิด

อัพเดต 15 พ.ย. 2562 เวลา 01.20 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2562 เวลา 01.20 น. • รักบ้านเกิด.คอม

หญ้าวัชพืชที่เกิดขึ้นในนาข้าวเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรชาวนาที่อาจจะปฏิเสธไม่ได้กับความจำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัด แต่การทำนาแบบอินทรีย์จะมีรูปแบบการควบคุมหญ้าวัชพืชที่แตกต่างกันออกไปโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ

เกษตรกรชานาหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมีหรือการทำนาแบบอินทรีย์จะมีวิธีคุมหญ้าในนาข้าวได้อย่างไร มีคำตอบจากคุณทวี ประสานพันธ์ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาอาชีพทำนา ปี พ.ศ.2557 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ต.นาเยีย อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี ได้ให้สัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กล่าวถึงการทำนาอินทรีย์โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีใดๆ โดยวิธีคุมหญ้าแบบผสมผสาน กล่าวคือ จะทำการไถกลบควบคู่ไปกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม :

  1. น้ำหมักชีวภาพเข้มข้น(สูตรใดก็ได้) 20 ซี.ซี.
  2. กากน้ำตาล 20 ซี.ซี.
  3. น้ำสะอาด 20 ลิตร
  4. ถังฉีดพ่น

ขั้นตอน/วิธีการคุมหญ้าในนาข้าวแบบอินทรีย์ :

  1. ช่วงระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ทำการไถกลบตอซังข้าวพร้อมกับหญ้าวัชพืช แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ
  2. ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ภายหลังจากที่ทำการไถกลบตอซังข้าวและหญ้าวัชพืชในรอบแรกไปแล้ว จะพบว่ามีหญ้าวัชพืชเกิดขึ้นมาใหม่อีก ให้ใช้น้ำหมักชีวภาพ 20 ซี.ซี.(2 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับกากน้ำตาล 20 ซี.ซี.(2 ช้อนโต๊ะ) และน้ำสะอาด 20 ลิตร คนละลายให้เข้ากัน จากนั้นนำไปฉีดพ่นต้นหญ้าให้เปียกชุ่มแล้วทำการไถกลบ น้ำหมักชีวภาพจะช่วยย่อยสลายเศษซากวัชพืช ซึ่งเป็นการกำจัดหญ้าครั้งที่ 2
  3. ช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ภายหลังจากเข้าสู่ฤดูฝนแบบเต็มที่ให้ทำการตีปั่นเศษซากวัชพืชและทำการตีดินให้ละเอียดอีกครั้ง จะเป็นการกำจัดวัชพืชเป็นครั้งที่ 3 จากนั้นทำการไถคราดดิน แล้วทำการปักดำต่อไป
  4. ช่วงระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นช่วงที่ฝนเริ่มตกชุก มีน้ำขังในนาข้าว ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี จะสามารถคุมหญ้าในนาข้าวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีแต่อย่างใด
    หมายเหตุ : เกษตรกรอาจจะต้องใช้พื้นที่บางส่วนในการกักเก็บน้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0