โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กรมอนามัย แนะ “กินน้ำอุ่น” อากาศหนาวทำสุขภาพแย่ คอแห้งบ่อยเสี่ยงเป็นหวัด

TODAY

อัพเดต 06 ธ.ค. 2562 เวลา 10.58 น. • เผยแพร่ 06 ธ.ค. 2562 เวลา 10.15 น. • Workpoint News
กรมอนามัย แนะ “กินน้ำอุ่น” อากาศหนาวทำสุขภาพแย่ คอแห้งบ่อยเสี่ยงเป็นหวัด

กรมอนามัย เผย อากาศหนาว ทำสุขภาพแย่ คอแห้งบ่อย เสี่ยงป่วยเป็นหวัดง่าย แนะดื่มน้ำอุ่น กินอาหารที่มีประโยชน์ และปรุงสุกใหม่ สร้างภูมิคุ้มกัน

(6 พ.ย.62) นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ปัญหาสุขภาพที่มากับหน้าหนาวมักมีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนังและริมฝีปากแห้ง แตก คัน เป็นไข้หวัด เกิดอาการไอและคอแห้งบ่อย ประชาชนจึงควรเลือกกินอาหารที่เพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย เป็นอาหารที่ร้อนและปรุงสุกใหม่ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด มันจัด และเค็มจัด เลือกปรุงประกอบอาหารจากผักพื้นบ้านตามฤดูกาลและหาได้ง่ายในช่วงหน้าหนาว เช่น กระเจี๊ยบ ดอกขี้เหล็ก ยอดมะขาม เพราะมีวิตามินซีช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต้านโรคหวัด และเน้นเมนูอาหารที่มีเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นได้ เช่น แกงเลียง แกงส้มดอกแค แกงป่า แกงขี้เหล็ก แกงเผ็ด แกงคั่ว เป็นต้น หรืออาหารที่ปรุงด้วยสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ข่า ขิง กระเทียม และขมิ้น   กินผลไม้สดที่มีวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ เกรปฟรุต สตรอเบอร์รี่ ลูกพลับ จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และป้องกันโรคหวัด

“ประชาชนควรดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำเพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ปรับสมดุลร่างกาย ชะลอความแก่ เพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิว ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น และช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย โดยใน 1 วันควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว แต่น้ำที่นำมาดื่มก็ต้องมั่นใจในเรื่องความสะอาดปลอดภัยด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงหน้าหนาว ประชาชนจึงควรเอาใจใส่ดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย กินอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายพร้อมรับกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0