โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กรมศิลปากร แจงการถอดแนวอิฐกำแพงวัดไชยวัฒนาราม เป็นการวางไฟประดับ ไม่ส่งผลกระทบโบราณสถาน

THE STANDARD

อัพเดต 21 ส.ค. 2562 เวลา 09.39 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 09.39 น. • thestandard.co
กรมศิลปากร แจงการถอดแนวอิฐกำแพงวัดไชยวัฒนาราม เป็นการวางไฟประดับ ไม่ส่งผลกระทบโบราณสถาน
กรมศิลปากร แจงการถอดแนวอิฐกำแพงวัดไชยวัฒนาราม เป็นการวางไฟประดับ ไม่ส่งผลกระทบโบราณสถาน

วันนี้ (21 ส.ค. 2562) อนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร แถลงข่าวยืนยันการดำเนินโครงการประดับไฟโบราณสถานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวในค่ำคืน ณ โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม โดยมีเจ้าหน้าที่และนักโบราณคดี ทั้งฝ่ายผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้าง และผู้ควบคุมงาน คอยดูแลตลอดการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความดั้งเดิมของโบราณสถาน โดยระบุว่า 

 

ตามที่มีกระแสข่าวความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินโครงการประดับไฟโบราณสถานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวในค่ำคืน ณ โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ที่มีการขุดตัดแนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือเพื่อวางระบบสายไฟ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความแท้และดั้งเดิมของโบราณสถานนั้น จากการชี้แจงของสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ก่อนการดำเนินงานผู้รับจ้างได้เสนอแผนและแนวทางการทำงานต่อคณะกรรมการตรวจการจ้างแล้ว 

 

อีกทั้ง ผู้ควบคุมงานได้ลงพื้นที่เพื่อวางแนวสายไฟและการวางตำแหน่งต่างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบต่อความแท้และดั้งเดิมของโบราณสถานให้น้อยที่สุด จากกรณีภาพที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์ เนื้องานวางสายไฟจำเป็นต้องวางแนวสายไฟเข้าพื้นที่โบราณสถานหลักด้านใน จึงจำเป็นต้องถอดแนวอิฐบริเวณกำแพงที่มีการบูรณะในช่วงปี พ.ศ. 2535 

 

นอกจากนี้ ยังปรากฏร่องรอยขอบปูนซีเมนต์ เพื่อวางแนวสายไฟบนร่องรอยอิฐดังกล่าว และจะเร่งดำเนินการประกอบอิฐกลับโดยเร็วที่สุด โดยไม่กระทบหลักฐานเดิมโครงการประดับไฟโบราณสถานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท่องเที่ยวในค่ำคืน ณ โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระยะเวลาการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 ถึง 27 มิถุนายน 2562 ขยายสัญญาต่อถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 พื้นที่ดำเนินการจำนวน 9 แห่ง ได้แก่  

  • โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม  
  • โบราณสถานวัดพระศรีสรรเพชญ์ 
  • โบราณสถานวัดพระราม 
  • โบราณสถานวัดมหาธาตุ 
  • โบราณสถานวัดราชบูรณะ 
  • โบราณสถานวัดภูเขาทอง 
  • โบราณสถานวัดเกตุ 
  • คุ้มขุนแผน 
  • ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า) 

 

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ได้กำชับให้สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาติดตามดูแลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่ เนื่องจากโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความสำคัญ และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ 

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0