โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กรมการค้าภายใน ย้ำ ค่ายา-รักษาต้องโปร่งใส

TNN ช่อง16

อัพเดต 18 มิ.ย. 2562 เวลา 05.21 น. • เผยแพร่ 18 มิ.ย. 2562 เวลา 05.21 น. • TNN Thailand
กรมการค้าภายใน ย้ำ ค่ายา-รักษาต้องโปร่งใส
กระทรวงพาณิชย์  เรียกโรงพยาบาลเอกชน 353 ราย ชี้แจงหลักเกณฑ์การจำหน่ายยา-ค่ารักษา ให้ประชาชนตรวจสอบได้ก่อนใช้บริการ  ย้ำต้องมีความโปร่งใสเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือก 

วันนี้ (18 มิ.ย. ) นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญโรงพยาบาลเอกชน 353 ราย มาชี้แจงทำความเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ฉบับที่ 52 พ.ศ.2562 เรื่องการแจ้งราคา การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายยารักษาโรค เวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล ที่มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค.62  ที่ผ่านมา

ทั้งนี้อธิบดีกรมการค้าภายใน  ชี้แจงว่า   กรมมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า โรงพยาบาลต้องแยกราคาออกมาให้ชัดเจน ระหว่าง ยา , เวชภัณฑ์ ,และบริการทางการแพทย์ ไม่ใช่นำค่าบริการไปบวกไว้กับราคายา ซึ่งกระแสสังคมกดดันให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแลความโปร่งใสของราคาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ให้ผู้บริโภคได้รู้ค่าคายาที่แท้จริง และมีทางเลือก ซึ่งบางแห่งมีส่วนต่างของราคายาสูงจากค่าเฉลี่ยระหว่าง 8,000 - 16,000 เปอร์เซ็นต์ แนวทางดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และที่ผ่านมามีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า 20 ประชุมร่วมกันมากกว่า 22 ครั้ง  จึงได้ออกมาเป็นมาตรการให้โรงพยาบาลต้องเปิดเผยราคาอย่างโปร่งใส   โดยย้ำว่าไม่ใช่การคุมราคา เพียงเป็นการเผยแพร่ราคาเท่านั้น

 ซึ่งหลังจากแจ้งราคาซื้อและราคาจำหน่าย ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562 มาที่กรมการค้าภายในแล้ว ขอให้แจ้งมาก่อนวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 จากนั้นกรมจะจัดทำ QR Code ให้โรงพยาบาลนำไปเผยแพร่เฉพาะราคาจำหน่าย และการเปลี่ยนแปลงราคาจะต้องแจ้งให้กรมรับทราบก่อนปรับราคา 15 วัน เพื่อจะได้ทำการแก้ไขข้อมูลทั้งในเว็บไซต์และคิวอาร์โค้ด หากไม่แจ้งตามที่ประกาศกำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะแจ้ง 

สำหรับ เงื่อนไขใน ประกาศ กกร. ดังกล่าว ที่กำหนดให้โรงพยาบาลเอกชน ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายส่ง ต้องแจ้งราคาซื้อ-ราคาจำหน่ายยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการ ตามรายการที่อยู่ในบัญชีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ (UCEP) เบื้องต้นอยู่ที่ 3,992 รายการ   รายการยาตามรหัสบัญชีข้อมูลยาและรหัสยามาตรฐานไทย (TMT) โดยบัญชียามี 32,000 รายการ บัญชีเวชภัณฑ์ 868 รายการ ค่าบริการทางการแพทย์ 5,286 รายการ   

นอกจากนี้ กรมฯยังได้กำชับโรงพยาบาลให้มีการรักษาตามความเป็นจริง เพื่อให้ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลสอดคล้องกับความเป็นจริงและให้เกิดความโปร่งใสที่สุด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0