โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

'กรณ์'ช่วยชี้แจงภาษีดบ.เงินฝากไม่กระทบชาวบ้าน

[invalid]

อัพเดต 20 เม.ย. 2562 เวลา 06.41 น. • เผยแพร่ 20 เม.ย. 2562 เวลา 06.21 น. • tnnthailand.com
'กรณ์'ช่วยชี้แจงภาษีดบ.เงินฝากไม่กระทบชาวบ้าน
'กรณ์' อดีตรมว.คลังโพสต์เฟสบุ๊คเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝากไม่กระทบชาวบ้านทั่วไป ยกเว้นเศรษฐีเลี่ยงได้ยาก แนะ กรมสรรพากรปรับวิธีการทำงาน

วันนี้ ( 20 เม.ย. 62 )จากกรณีกรมสรรพากรออกประกาศเข้มตรวจสอบรายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เกิน 2 หมื่นบาท ต้องเสียภาษีทุกรายเริ่ม 15 พ.ค.นี้ หลังพบมีการกระจายบัญชีหลบเลี่ยงภาษีจำนวนมาก ล่าสุด กรมสรรพากร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรมสรรพากร ( Revenue Department ) ระบุว่า อย่าตกใจ !!! ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท ไม่เสียภาษี โดยในภาพอธิบายว่า สรรพากรยังใข้เกณฑ์เดิม ดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ไม่เสียภาษี แค่แจ้งความประสงค์ให้ธนาคาร ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งไม่ต้องเสียเวลารวบรวมดอกเบี้ยที่ได้รับจากหลายๆ ธนาคารแล้ว

ทั้งนี้กรมสรรพากรชี้แจงกรณีนี้ว่าเป็นการเปลี่ยนให้ผู้ฝากเงินแจ้งความประสงค์ต่อธนาคารที่ตนเองมีเงินฝากอยู่ ว่ายินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ให้แก่กรมสรรพากร ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้กรมสรรพากรทราบจำนวนดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของผู้ฝากเงินในทุกบัญชีของทุกธนาคาร ที่เกินกว่า 20,000 บาท เพื่อให้ธนาคารหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายต่อไป

ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.กระทรวงการคลัง ได้ออกมาโพสต์เฟสบุ๊คชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและแนะนำให้กรมสรรพากรปรับวิธีการทำงานเล็กน้อยโดยระบุข้อความไว้ดังนี้

'วันนี้มีกระแสข่าวประเด็นเรื่องภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ผมเลยสอบถามที่มาที่ไปจากเจ้าหน้าที่ในกรมสรรพากร จึงขอนำเสนอข้อมูลเผื่อเป็นประโยชน์ครับ

1. ประเด็นสำคัญที่สุดคือยังคงมีการยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่ายรายรับดอกเบี้ยเงินฝาก 20,000 บาทแรกตามเดิมนะครับ

จริงๆเรื่องนี้แก้ไขได้หากกรมสรรพากรและแบงก์ชาติสามารถประสานการทำงานร่วมกันได้ เพราะแบงค์ชาติเข้าถึงข้อมูลข้ามธนาคารได้อยู่แล้วแน่นอน แต่เนื่องจากสองหน่วยงานมีกฎหมายกำกับต่างกัน จึงไม่สามารถแชร์ข้อมูลกันได้

ผมเลยได้แสดงความเห็นกับทางสรรพากรว่า แทนที่จะให้เป็นภาระของเจ้าของบัญชีต้องแจ้ง ควรให้เป็นหน้าที่ของธนาคารที่จะแจ้งกับเจ้าของบัญชีและสรรพากรควรมีมาตรการเด็ดขาดในการเอาผิดธนาคารใดที่มีพฤติกรรมชัดเจนในการช่วยลูกค้ารายใหญ่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี เช่นการแนะนำให้ ‘ปิดบัญชี’ เมื่อรายรับดอกเบี้ยใกล้จะถึง 20,000 บาท เพื่อเปิดใหม่เมื่อพ้นรอบการเสียภาษี

หากกรมสรรพากรปรับวิธีการเล็กน้อยตามที่ผมเสนอ (ซึ่งเข้าใจว่าหลังจากรับทราบกระแสความสับสนของประชาชน กรมสรรพากรก็ได้ไปปรึกษากับสมาคมธนาคารแล้ว) โดยสรุป ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ แต่การหลีกเลี่ยงภาษีโดยเศรษฐีเงินฝากจะทำได้ยากขึ้นครับ และธนาคารพาณิชย์จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้อีกต่อไป'

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0