โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กทม. ยังไม่เปิดให้หาบเร่-แผงลอยกลับมาขายบนทางเท้า อยู่ระหว่างเร่งหาจุดเหมาะสม

BLT BANGKOK

อัพเดต 11 ธ.ค. 2562 เวลา 06.13 น. • เผยแพร่ 11 ธ.ค. 2562 เวลา 06.06 น.
7d46887abfb00ccc1763ab57ad3ee453.jpg

กทม. ชี้แจงประเด็นการเปิดให้หาบเร่แผงลอยกลับมาขายบนทางเท้า เผยยังอยู่ระหว่างหาจุดที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์พิจารณา 3 ข้อ คือ ไม่กระทบคนเดินเท้า ไม่มีหักหัวคิว ต้องสะอาดและสวยงาม หากได้ 3 ผ่าน จึงจะเปิดพื้นที่ให้ขายได้ ทั้งนี้คาดว่าจะสำรวจพื้นที่จบ และเริ่มขายได้หลังปีใหม่ 2563
จากที่มีกระแสข่าวว่า กทม. จะให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยกลับมาขายบนทางเท้าทั้งหมดได้อีกนั้น ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชี้แจงว่า มีการเข้าใจผิด ซึ่งต้องชี้แจงก่อนว่า กทม. มีแนวคิดในการจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า โดยจะดำเนินการบนแนวคิดที่ทำให้ทางเท้าเป็นพื้นที่ที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ คือประชาชนทั่วไป เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ สามารถเดินได้อย่างสะดวกและปลอดภัย และไม่ใช่การห้ามผู้ค้าทำการค้าขาย แต่เป็นการพิจารณาย้ายผู้ค้าบนทางเท้าไปขายยังพื้นที่ที่ กทม. จัดให้
โดย กทม. จะยึดหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ 1. ต้องไม่กระทบสิทธิในการใช้ทางเท้าของประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้พิการ 2.ต้องไม่มีการเรียกเก็บหัวคิว และ 3.ต้องมีความสะอาดและสวยงาม ดังนั้น ในการพิจารณาคัดเลือกจุดที่จะให้มีการค้าขาย จำเป็นต้องเป็นจุดที่มีความกว้างเพียงพอ ไม่กระทบกับคนเดินทางเท้า และเมื่อมีร้านค้าแล้วยังคงต้องมีทางเดินที่กว้างขวางพอสมควร โดยคาดว่าจะสำรวจพื้นที่เสร็จภายในสัปดาห์นี้
หลังจากสำรวจจุดที่ไม่กระทบกับคนเดินทางเท้าเสร็จ กทม. จะจัดระเบียบจุดที่อนุญาตให้ผู้ค้าเริ่มขาย ในรูปแบบ Street Food เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะเริ่มขายได้หลังปีใหม่ ซึ่งจะให้สิทธิแก่ผู้ค้ารายเก่าที่ได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบก่อน แล้วจึงจะให้สิทธิผู้ค้ารายใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาวิธีการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดความเท่าเทียมและยุติธรรมกับผู้ค้าทุกราย
สำหรับการป้องกันการเรียกเก็บหัวคิว กทม.จะพิจารณาจากผู้ค้าที่มีรายได้น้อยจริงๆ และอาจจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้าให้ แต่จะไม่อนุญาตให้มีการครอบครองแผงค้าตลอดไป คือ อาจจะใช้วิธีการจับฉลากเพื่อหมุนเวียนแผงค้าทุกๆ 3 หรือ 6 เดือน
นอกจากนั้น จะมีข้อตกลงในการบริหารจัดการ และการรักษาความสะอาดที่ชัดเจน เช่น ห้ามเทคราบไขมันลงท่อระบายน้ำ ห้ามล้างจานบนทางเท้า รวมถึงมีการวางผัง และรูปแบบในการตกแต่งร้านให้สวยงามเหมาะสมกับถนนแต่ละเส้น เพื่อให้ทางเท้าเป็นพื้นที่สำหรับคนกรุงเทพฯ ทุกคนอย่างแท้จริง อีกทั้งจะเน้นย้ำให้ผู้ค้ารักษากฎระเบียบที่ กทม. ตั้งไว้ หากผู้ค้าฝ่าฝืนกฎระเบียบ ไม่รักษาความสะอาด และเกิดผลกระทบกับคนเดินทางเท้า กทม. อาจมีการยกเลิกการอนุญาตค้าขายในพื้นที่นั้นได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0