โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

BTSลุ้นครม.เคาะขยายสัมปทานสายสีเขียวเพิ่ม30 ปี

ไทยโพสต์

อัพเดต 12 ส.ค. 2563 เวลา 10.46 น. • เผยแพร่ 12 ส.ค. 2563 เวลา 10.46 น. • ไทยโพสต์

 

12 ส.ค. 2563 รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ส.ค. 2563จะมีการพิจารณาต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี จากปัจจุบันที่บริษัท บีทีเอส กรุ๊ปโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีอายุสัมปทานเหลืออยู่ประมาณ 8 ปีครึ่ง หรือครบในปี 2572 ซึ่งหากรัฐบาลอนุมัติการต่อสัมปทานจะทำให้ระยะเวลาเดินรถของ BTS เพิ่มเป็น 38 ปี และมีระยะทาง 66.4 กิโลเมตร (กม.) จากสัญญาสัมปทานเดิมที่มีอยู่ 23.5 กม.

ทั้งนี้ จากการประชุมคณะกรรมการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในช่วงก่อนหน้านี้นั้น ได้มีการประชุมเพื่อให้เป็นไปตามกรอบแนวทางและประเด็นการเจรจา โดยคณะกรรมการฯ ได้ประชุมร่วมกับเอกชนผู้รับสัมปทานรายเดิม เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และการแบ่งบันผลประโยชน์ และที่ประชุมมติเห็นชอบตามสรุปผลการเจราจา การกำหนดหลักเกณฑ์ การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสาร รวมถึงหลักเกณฑ์อื่น เพื่อประโยชน์ในการรวมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

สำหรับผลการเจจาต่อรองกับผู้รับสัมปทาน สามารถสรุปได้ ดังนี้ ระยะเวลาร่วมลงทุนเพิ่มเติม โดยจะมีการขยายระยะเวลาร่วมลงทุนเพิ่มเติมจากเดิมสิ้นสุดปี 2572 เป็นสิ้นสุดปี 2602 ในส่วนภาระค่าใช้จ่ายที่สำคัญและเกี่ยวข้องของโครงการ โดยผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในค่าติดตั้งงานระบบ ไฟฟ้า และเครื่องกล (E&M) สำหรับส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งหมด โดยนับเป็นทุนของโครงการ นอกจากนี้ ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่กรุงเทพมหานครมีต่อกระทรวงการคลังเป็นจำนวนไม่เกิน 44,429 ล้านบาท สำหรับช่วงระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม โดยนับเป็นทุนของโครงการ

ทั้งนี้ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระส่วนต่างของค่าจ้างการให้บริการเดินรถ (0&M) และรายได้ค่าโดยสารของส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 และค่าตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับช่วงระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม โดยนับเป็นทุนของโครงการ แต่ทั้งนี้ การคำนวณผลตอบแทนของผู้รับสัมปทาน (EIRR)จะปรับลดค่าจ้างการให้บริการเดินรถลง 16%

อย่างไรก็ตามในส่วนของหลักเกณฑ์การปรับเพดานค่าโดยสารนั้น หลักเกณฑ์การปรับเพดานค่าโดยสารใช้ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป สำหรับเขตกรุงเทพมหานคร ตามที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศ (CPI) เพียงอย่างเดียว ซึ่งโครงสร้างอัตราค่าโดยสารเส้นทางหลัก ระหว่างปี 2562 - วันที่ 4 ธันวาคม 2572 สูงสุดไม่เกิน 44 บาท (ราคา ณ ปี 2562) โดยจะปรับอัตราค่าโดยสารทุก24 เดือน นับจากวันที่เริ่มใช้อัตราค่าโดยสารตารางเดียว ซึ่งโครงสร้างอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยาย ระหว่างปี 2562-2602 และเส้นทางหลัก ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2572-2602 (ราคา ณ ปี 2562) โดยอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท โดยจะปรับอัตราค่าโดยสารทุกๆ 24 เดือน นับจากวันที่เริ่มใช้อัตราค่าโดยสารตารางเดียว

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงมาตรการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดลงในเดือนมิ.ย.63 นี้ ซึ่งจะมีผลให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ยังคงได้รับสิทธิ์ตามโปรโมชั่นค่าโดยสารเริ่มต้น(แรกเข้า)ที่ 14 บาท และจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย จากอัตราปกติคือ จ่ายสูงสุด 42 บาท ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 30 ก.ย.63

สำหรับผู้ที่เดินทางเชื่อมต่อ 2 สาย ระหว่างรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน จะจ่ายค่าโดยสารร่วมสูงสุดเพียง 48 บาท (เดินทางได้ถึง 53 สถานี) จากอัตราค่าโดยสารร่วมปกติคือ จ่ายสูงสุด 70 บาท ตลอดการขยายระยะเวลาโปรโมชั่นดังกล่าวด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากสิ้นสุดในเวลาที่กำหนด รฟม.จะมีการแจ้งมาใช้อัตราต่าโดยสารแบบปกติต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0