โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

5 วิธี กระตุ้นกระแสเงินสด”Cash Flow ช่วยธุรกิจไม่สะดุด ในทุกวิกฤต

ทันข่าว Today

อัพเดต 26 ส.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 26 ส.ค. 2563 เวลา 00.00 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

ธุรกิจขาดทุนยังอยู่ได้ แต่ธุรกิจขาดเงินสดอยู่ไม่ได้
  • ถ้าไม่มีเงินสดจ่ายเงินเจ้าหนี้ช้า ความน่าเชื่อถือ จะลดลงอย่างมหาศาล
  • ถ้าไม่มีเงินสดจ่ายเงินเดือนพนักงาน อันนี้ขวัญกำลังใจ กระเจิงแน่นอนครับ
  • ถ้าไม่มีเงินสดจ่ายธนาคาร เครดิตเสีย อาจจะถึงขั้นทำให้เกิดการฟ้องร้องกันได้

ความน่าเชื่อ เครดิต และขวัญกำลังใจ เป็นของที่ใช้เวลานานมากกว่าจะสร้างได้ แต่สามารถถูกทำลายได้ภายในพริบตา “ ธุรกิจขาดทุนยังอยู่ได้ แต่ธุรกิจขาดเงินสดอยู่ไม่ได้ ” นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กระแสเงินสดจึงมีความสำคัญมาก …ข้อคิดของ คุณ รวิศ หาญอุตสาหะ ทายาทรุ่นที่ 3 และ CEO ของบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด

ทุกกิจกรรมตั้งแต่การสั่งซื้ออุปกรณ์สำนักงาน จ่ายค่าจ้างพนักงาน ไปจนถึงการนำเงินกลับไปลงทุนใหม่ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับเงินสดของบริษัททั้งสิ้น และยิ่งในช่วงผลกระทบโควิด19 ที่เกือบแทบธุรกิจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

5 วิธีกระตุ้นกระแสเงินสด ที่เจ้าของธุรกิจ ควรทำเร็วที่สุด

  • ติดตามดูกระแสเงินสดให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

โฟกัสปัญหาของฝ่ายวัตถุดิบมากขึ้น ปรับเวลาสั่งซื้อให้เหมาะสม และควรทำข้อตกลงเรื่องการจ่ายเงินให้ฝั่ง Supplier ก็ต่อเมื่อสินค้ามาส่งแล้วเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงเงินสดขาดมือ

2. แปลงทรัพย์เป็นเงินให้เร็วที่สุด (กระตุ้นลูกค้าจ่ายเงินให้เร็วขึ้น)

จัดโปรโมชั่นขายพิเศษ นำสินค้าที่ขายไม่ค่อยดี ไปขายรวมกับสินค้าขายดีแล้วจัดโปรโมชั่นพิเศษ เพราะในช่วงนี้ลูกค้าจะระมัดระวังการใช้เงินมากเป็นพิเศษ การขายสินค้าประเภทนี้จึงยากพิเศษตามไปด้วย

กลยุทธ์นี้ก็ต้องบาลานซ์ระหว่างโอกาสใหม่กับ Brand Positioning ของแบรนด์หรือธุรกิจด้วย

3. ลด/ ควบคุมต้นทุน (อย่างระมัดระวัง)

ตรวจสอบดูว่า ธุรกิจสามารถลดจำนวนสินค้าคงคลังลงได้บ้างหรือไม่ และควรสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

และตรวจสอบลูกหนี้การค้าอย่างรอบคอบ “หนี้การค้า” ก็คือ เงินที่ลูกค้าของกิจการค้างชำระ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่ได้ส่งมอบไปแล้ว ซึ่งหากตัวเลขของลูกหนี้การค้าสูงเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการเงินและสภาพคล่องของธุรกิจได้ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเช่นนี้ที่ลูกค้าบางรายอาจจ่ายเงินล่าช้า หรือลูกค้าที่ชำระผ่านบัตรเครดิตอาจจะชะลอการจ่ายออกไป ดังนั้น ต้องตรวจสอบสิ่งเหล่านี้อย่างใกล้ชิด

4. เตรียมแหล่งเงินสำรองไว้เสมอ

คนทำธุรกิจควรที่จะเตรียมไว้ตั้งแต่ที่ยังไม่ต้องใช้ เหมือนแผนสำรองฉุกเฉินดีที่สุด เช่น ปรึกษาธนาคารเพื่อเตรียมวงเงินสินเชื่อ หรือเลือกธนาคารมีทั้งบริการทางการเงินและบริการ ด้านข้อมูล ความรู้ และเครือข่ายธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น

ผลกระทบจากโควิด19 ทำให้สถาบันการเงินของรัฐและเอกชนต่างออกโครงการช่วยเหลือด้านการเงินให้กับประชาชนและภาคธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ปัจจุบันหรือคนที่กำลังมองหาเงินช่วงโควิด เพื่อรักษาสภาพคล่อง

ลองเลือกหยิบแผนไหนเหมาะสมกับธุรกิจของเรา แผนการเงินแผนไหนดีกับธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาวหรือมีโอกาสสามารถช่วยต่อยอดธุรกิจในช่วงนี้ได้ด้วย

5. แยกเงินส่วนตัวกับเงินของกิจการอย่างเด็ดขาด

เรื่องใหญ่ที่มักพบบ่อยๆ ถ้ามีการใช้เงินปนกัน หยิบเงินของกิจการไปใช้ก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยเอามาเคลียร์ทีหลัง การทำแบบนี้ทำให้มีแนวโน้มที่จะขาดกระแสเงินสดในวันข้างหน้าได้ง่ายๆ เลยทีเดียว

Credit ข้อมูล
https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/cash-is-king.html
https://www.smethailandclub.com/money-5802-id.html

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0