โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

5 นวัตกรรมจากพระอัจฉริยภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย

LINE TODAY

เผยแพร่ 01 ก.พ. 2563 เวลา 17.00 น.

เป็นที่รับรู้กันมาอย่างต่อเนื่องเรื่องของพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ทรงจัดตั้งโครงการในพระราชดำริขึ้นหลายโครงการ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับวิถีชีวิตของปวงชนชาวไทย รวมถึงนวัตกรรมอันน่าทึ่งที่ทรงคิดค้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก จนได้รับการยกย่องเป็น 'พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย'  

และเมื่อ 25 ปีก่อนคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นได้กำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น 'วันนักประดิษฐ์โลก' LINE TODAY จึงรวบรวม 5 นวัตกรรมจากพระอัจฉริยภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 มาให้ได้ชื่นชมกันค่ะ

1.โครงการแกล้งดิน

เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยที่ประสบกับปัญหาดินเปรี้ยว ทำให้เพาะปลูกพืชไม่ได้ หรือไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะเป็น โดยคำว่า 'แกล้งดิน' เกิดขึ้นจากกระบวนการที่ต้องเลียนแบบธรรมชาติเพื่อแกล้งให้ดินมีความเป็นกรดสูง หรือเปรี้ยวจัดก่อนที่จะชะล้างความเปรี้ยวนั้นออกจนกลายเป็นดินที่พร้อมสำหรับการทำการเกษตรต่อไป

โดยนวัตกรรมนี้ได้จดเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่ 22637 เรื่อง กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน) ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2560 เป็นต้นมา ถือเป็นโครงการทางเกษตรกรรมที่ช่วยเหลือด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยเลขที่ 22637 กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยวเพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก (โครงการแกล้งดิน)

โพสต์โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อ วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2016

2.เรือใบตระกูลมด

อย่างที่เราทราบกันดีว่า กีฬาเรือใบเป็นกีฬาโปรดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งหนึ่งท่านเคยล่องเรือใบด้วยพระองค์เอง ข้ามอ่าวไทยจากหัวหินไปยังสัตหีบ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยพระอัจฉริยภาพส่วนพระองค์ ท่านจึงได้ศึกษาคิดค้น ‘เรือใบมด’ และต่อเรือลำนี้ขึ้นมาเพื่อให้เหมาะกับคนไทย โดยภายหลังมีการพัฒนาขึ้นเป็นเรือใบซุปเปอร์มด และเรือใบไมโครมด ด้วยคุณสมบัติที่แล่นได้คล่องตัว ว่องไว จึงได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นเรือใบมาตรฐานสากล ประเภท International Moth Class ไว้ที่ประเทศอังกฤษอีกด้วย ส่วนเหตุผลที่ชื่อว่า ‘มด’ นั้น พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า 'ที่ชื่อมดนั้นเพราะมันกัดเจ็บ ๆ คัน ๆ ดี'

3.น้ำมันปาล์มดีเซล

‘รถยนต์คันนี้ใช้น้ำมันปาล์ม 100%’ สติกเกอร์ท้ายรถยนต์พระที่นั่ง แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อพ.ศ. 2526 ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ศึกษาวิจัยการใช้พลังงานเชื้อเพลงจากน้ำมันปาล์มจนประสบความสำเร็จ นำน้ำมันปาล์ม 100% มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 'การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล' เป็นที่เรียบร้อย นับเป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยทุกคนอย่างยิ่งจวบจนปัจจุบัน

สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยเลขที่ 10764 การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล

โพสต์โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อ วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2016

4.ฝนหลวง

ไม่กล่าวถึงคงไม่ได้สำหรับโครงการพระราชดำริฝนเทียม หรือฝนหลวงที่คนไทยรู้จักกันดี อีกหนึ่งพระปรีชาสามารถของพระองค์ที่ช่วยบรรเทาทุกข์ในกับพสกนิกรยามที่ต้องเผชิญกับภัยแล้ง โดยเริ่มต้นจาก 'หลักการแรก คือให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัวและรวมตัวเป็นเมฆ' จนกลายเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน จนกระทั่งปัจจุบันยังคงใช้ประโยชน์จากโครงการนี้อยู่บ่อยครั้ง นำมาซึ่งความสุขของพสกนิกรไทยทั่วทั้งแผ่นดิน

สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยเลขที่ 13898 การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน “ฝนหลวง”

โพสต์โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อ วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2016

5.วุ้นชุ่มปาก

'น้ำลายเทียมชนิดเจล' อีกหนึ่งโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบภาวะปากแห้ง น้ำลายไม่เพียงพอ จากภาวะโรคต่าง ๆ จึงเกิดเป็นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมน้ำลายเทียมชนิดเจลขึ้น โดยมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้วุ้นชุ่มปากเกิดการปรับสมดุลในช่องปาก ทำให้ผลิตน้ำลายได้อย่างเพียงพอ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยอย่างมาก

.

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 / 5

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0