โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

7 เช็คลิสต์ คุณเป็นผู้ฟังที่ดีหรือไม่

LINE TODAY

เผยแพร่ 04 ก.ค. 2560 เวลา 10.10 น.

รู้หรือไม่?? การฟังสร้างความสำเร็จได้ดีกว่าการพูด คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะฟังมากกว่าพูด และเมื่อสำเร็จแล้วเขาจึงค่อยพูดเพื่อสร้างความสำเร็จให้กับคนอื่นอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเห็นได้เลยว่าการฟังมีความสำคัญกว่าการพูด เพราะการฟังทำให้เกิดพลังได้อย่าง โดยเฉพาะการฟังที่ดีที่ไม่ใช่แค่ได้ยินแล้วผ่านไป แต่ยังทำให้เข้าถึงคนพูดได้มากขึ้นด้วย

1. มีสมาธิในการฟัง  

การเป็นผู้ฟังที่ดี คือต้องฟังอย่างมีสมาธิ ถ้าคุณเริ่มที่จะฟังใครสักคนขอให้ใส่ใจในเรื่องที่เขาจะพูด ไม่ใช่ฟังโดยไม่หือ ไม่อือ ได้แต่พยักหน้ารับฟังไปเรื่อย ๆ แบบนี้นอกจากจะไม่ใช่ผู้ฟังที่ดีแล้ว ยังเป็นคนไม่มีมารยาทด้วย

2. ใช้ความเข้าใจมากกว่าความตั้งใจ

การฟังอย่างมีสมาธิไม่จำเป็นต้องใช้ความตั้งใจในการฟัง แต่ต้องใช้ความเข้าใจ ซึ่งความเข้าใจในที่นี้คือเข้าใจในตัวคนพูดและเข้าใจในเรื่องที่เขากำลังพูด อย่าคิดไปเองหรือคิดนอกเหนือจากสิ่งที่เขาจะพูด ในฐานะผู้ฟังเราควรฟังโดยไม่คิดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

3. ผู้ฟังไม่ใช่ผู้พูด

ผู้ฟังที่ดีคือฟังอย่างเดียว ไม่ต้องพูดใด ๆ ทั้งสิ้น คือต้องฟังทุกเรื่อง ทุกอย่างที่อีกคนอยากจะพูด อยากจะระบายโดยไม่ขัดจังหวะ เสริมแทรก หรือถามคำถาม ฟังอย่างเดียวไปก่อน ให้เวลาคนพูดได้คิดและไตร่ตรองในสิ่งที่เขากำลังพูดบ้าง จากนั้นเมื่อมีโอกาสจึงค่อยถามหรือพูดออกไป

4. ฟังอย่างเดียว ไม่ต้องตัดสิน

จุดประสงค์ของคนพูดบางคนอาจจะไม่ได้อยากได้รับคำแนะนำปรึกษา บางคนก็รู้ปัญหา รู้วิธีแก้ และทางแก้ที่ดีที่สุดอยู่แก่ใจอยู่แล้ว แต่ที่พูดก็เพื่อหาที่ระบายหรืออยากบอกให้ใครสักคนได้รับรู้เท่านั้น กรณีแบบนี้คุณจะรู้ได้เองจากวิธีการพูด เพราะฉะนั้นฟังอย่างเดียว อย่าเพิ่งตัดสินใจหรือคำปรึกษาใด ๆ รอดูท่าทีของอีกฝ่ายก่อนก็ยังไม่สาย

5. อย่ามัวแต่คิดถึงวิธีแก้ปัญหา

ในขณะที่ฟังอย่าเพิ่งมัวแต่คิดว่าจะช่วยแก้ปัญหาของคนพูดแบบไหน อย่างไร จะใช้วิธีไหนดี อย่างที่บอกว่าเวลาฟังให้ฟังอย่างเดียว เพราะบางทีคนพูดก็ไม่ได้ต้องการคำปรึกษาเสมอไป เค้าอาจจะแค่อยากระบายหรือต้องการใครสักคนมาร่วมรับรู้ปัญหาก็ได้ ฉะนั้นอย่ามัวแต่คิดว่าจะช่วยอย่างไรจนลืมไปว่าตอนนี้เราอยู่ในสถานะของผู้ฟังเท่านั้นไม่ใช่ผู้ให้คำปรึกษา

6. ศึกษาภาษากายของผู้พูดไว้ด้วย

บ่อยครั้งที่การสนทนามักจะมีท่าทางประกอบด้วย และท่าทางเหล่านี้เองที่เป็นภาษากายให้คนฟังสามารถรับรู้ได้ว่าคนพูดต้องการสื่อสารอะไร ซึ่งการสังเกตท่าทางเหล่านี้ไว้บ้างก็ทำให้คุณกลายเป็นผู้ฟังที่ดียิ่งขึ้น

7. อย่าเดาว่าเขาจะพูดอะไร

แน่นอนว่าผู้ฟังและผู้พูดต้องมีความสนิทสนมกันพอสมควร ฉะนั้นในฐานะของผู้ฟังก็น่าจะรู้จักนิสัยใจคอของผู้พูดพอสมควร รู้ว่าเขาต้องการสื่อสารอะไร ต้องการอะไร เรียกว่ารู้ทางกันพอสมควร แต่การเป็นผู้ฟังที่ดีไม่ควรเดาว่าอีกคนจะพูดอะไร เพราะการทำแบบนั้นมักทำให้คิดไปเองว่าคนพูดต้องการสื่อสารไปในทิศทางนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจไม่ใช่เลยก็ได้ ถ้ามัวแต่เดาไปเองว่าคนพูดจะต้องการแบบนั้นแบบนี้ก็ไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ฟังที่ดีเลย

ถ้าสังเกตดี ๆ เดี๋ยวนี้หลายคนมักสนใจแต่จะพูด ไม่ค่อยมีใครอยากรับฟัง ยิ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยแล้ว ยิ่งทำได้ยากเข้าไปอีก แต่รู้หรือไม่ ผู้ฟังที่ดีนี่แหละคือคนที่จะช่วยไขปัญหาและปมในจิตใจได้ มาเริ่มเป็นผู้ฟังคุณภาพกันเลยดีกว่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0