โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘เราไม่ทิ้งกัน’ คลังเพิ่มปุ่มสีเขียวเข้มตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5 พัน!

The Bangkok Insight

อัพเดต 11 ส.ค. 2563 เวลา 11.57 น. • เผยแพร่ 11 ส.ค. 2563 เวลา 11.39 น. • The Bangkok Insight
‘เราไม่ทิ้งกัน’ คลังเพิ่มปุ่มสีเขียวเข้มตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5 พัน!

เราไม่ทิ้งกัน 7 หมื่นคนฟังทางนี้! "กระทรวงการคลัง" เพิ่มปุ่มสีเขียวเข้ม สำหรับตรวจสอบผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ คลิกได้พรุ่งนี้

กระทรวงการคลังได้ดำเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จำนวนประมาณ 70,000 คน

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (มาตรการเราไม่ทิ้งกัน) เสร็จสิ้นแล้วและผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาทั้งหมด 15.3 ล้านคน แต่ปัจจุบันคงเหลือผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาแต่กระทรวงการคลังไม่สามารถโอนเงินให้ได้ จำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับบัญชีรับเงิน เช่น ยังไม่มีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน หรือบัญชีปิด เป็นต้น

เราไม่ทิ้งกัน
เราไม่ทิ้งกัน

กระทรวงการคลัง ได้พยายามโอนเงินซ้ำ (Retry) อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งส่งข้อความ SMS แจ้งไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ใช้ลงทะเบียน แต่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เพิ่มช่องทางให้ตรวจสอบว่า ท่านอยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่กระทรวงการคลังโอนเงินไม่สำเร็จหรือไม่ ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้ม “ผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ” และกรอกเลขบัตรประชาชน หากตรวจแล้วพบว่าท่านมีชื่ออยู่ในกลุ่มผู้มีสิทธิ์ที่ยังโอนเงินไม่สำเร็จ ขอให้รีบไปติดต่อธนาคารใดก็ได้ที่ท่านมีบัญชีอยู่ และดำเนินการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชนโดยเร็ว โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาปิดโครงการและยุติการโอนเงินในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

โฆษกกระทรวงการคลัง ย้ำเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลัง ไม่ได้เปิดลงทะเบียนเพิ่มเติม หรือไม่ได้แจ้งชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใด การเปิดให้ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ปุ่มสีเขียวเข้มนั้น เป็นการตรวจสอบว่าท่านมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มที่โอนเงินไม่สำเร็จหรือไม่เท่านั้น เพื่อให้สามารถโอนเงินถึงมือผู้มีสิทธิ์ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ สามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

เราไม่ทิ้งกัน
เราไม่ทิ้งกัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ Anti-Fake News Center Thailand รายงานว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่างๆ ถึงประเด็นเรื่อง ศบค. แจ้งเพิ่มเงินเยียวยา 5,000 บาท ต่ออีก 1 เดือน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีข้อความที่การกล่าวถึง ศบค. ว่าได้ออกมาแจ้งเรื่องมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ที่มีการต่ออีก 1 เดือนนั้น ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจากทาง ศบค. ไม่เคยกล่าวว่า มีการต่อมาตรการเยียวยาอีก 1 เดือน ตามที่กล่าวอ้าง

อีกทั้งปัจจุบันมาตรการ "เราไม่ทิ้งกัน" หรือ มาตรการเยียวยา 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือนนั้น ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาถึงเรื่องการต่อมาตรการเยียวยาออกไปอีก 1 เดือน

สำหรับกลุ่มผู้ที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการฯ แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาเนื่องจากประสบปัญหาโอนเงินไม่สำเร็จเพราะชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อ และนามสกุลที่ลงทะเบียนไว้ กระทรวงการคลังยังดำเนินการโอนเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ โดยขอให้ผู้ได้รับสิทธิ์ไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์ ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งจะมีการโอนเงินให้ผู้ได้รับสิทธิ์ต่อไป (ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2563)

ดังนั้น ขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือ แชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชน ได้รับข้อมูลข่าวสารจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊ก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) หรือโทร GCC1111

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ศบค. ไม่เคยกล่าวว่ามีการต่อมาตรการเยียวยาอีก 1 เดือน ซึ่งปัจจุบันมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาถึง เรื่องการต่อมาตรการเยียวยาออกไปอีก 1 เดือน

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0