โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘นกแอร์’ แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ขาดทุนรวม 4.3 พันล้าน เพิ่มขึ้นเกิน 1000%

The Bangkok Insight

อัพเดต 14 ส.ค. 2563 เวลา 04.26 น. • เผยแพร่ 14 ส.ค. 2563 เวลา 04.25 น. • The Bangkok Insight
‘นกแอร์’ แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ขาดทุนรวม 4.3 พันล้าน เพิ่มขึ้นเกิน 1000%

เจ็บหนัก! “นกแอร์” แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 รวม ขาดทุน 4.3 พันล้าน เพิ่มขึ้น 1,454.40%แจงเกิดจากผลกระทบโควิด-ปิดนกสกู๊ต-มาตรฐานการเงินใหม่

วันนี้ (14 ส.ค. 63) บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2563 ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 ต่อ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นกแอร์ ขาดทุน
นกแอร์ ขาดทุน

"โควิด-19" พ่นพิษหนัก

งบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสำหรับไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 2,963.40 ล้านบาท เปลี่ยนแปลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีผลขาดทุนจำนวน 391.29 ล้านบาท แบ่งเป็นผลขาดทุนของบริษัทใหญ่จำนวน 2,330.05 ล้านบาท และผลขาดทุนจากส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 633.35 ล้านบาท

เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเดินทางทางอากาศและสถานการณ์ของสายการบินทั่วโลก อีกทั้งการจำกัดการเดินทางทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารทางอากาศโดยรวมลดลง ทำให้สายการบินนกแอร์ได้ทยอยยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเส้นทางที่เดินทางไปยังประเทศจีนทั้งหมดเป็นการชั่วคราว

นอกจากนั้น ยังได้ทยอยยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศเพิ่มเติมในเส้นทางเวียดนาม พม่า และญี่ปุ่น รวมถึงลดจำนวนเที่ยวบินภายในประเทศบางเส้นทางตามจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง โดยอัตราการใช้เครื่องบินต่อลำเฉลี่ยลดลงจาก 9.71 ชั่วโมงปฏิบัติการต่อวัน เป็น 8.35 ชั่วโมงปฏิบัติการต่อวันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลง 14.01% ส่งผลให้รายได้ของบริษัทลดลงค่อนข้างมาก ในขณะที่บริษัทยังคงต้องแบกรับภาระต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดำเนินงาน โดยเฉพาะต้นทุนคงที่ที่ค่อนข้างสูงในอัตราเท่าเดิม

นกแอร์
นกแอร์

"นกแอร์" ขาดทุน รวม 4,372 ล้าน

สำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับไตรมาส 1 ปี 2563 บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 2,614.21 ล้านบาท ลดลง 24.64% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19

ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทมีจำนวน 6,986.28 ล้านบาทเปรียบเทียบกับช่วงเดียกวันของปีก่อน ที่มีค่าใช้จ่ายรวม 3,750 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากการรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากการเลิกกิจการของบริษัท สายการบินนกสกู๊ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เป็นยอดเงิน 2,402.10 ล้านบาท และรับรู้ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน

จากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่ามาใช้ เป็นยอดเงิน 1,054 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิรวมสำหรับไตรมาสนี้จำนวน 4,372.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,454.40% จากปีก่อน ซึ่งมีผลขาดทุนจำนวน 281.27 ล้านบาท

หลังจากนกแอร์ได้ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1 แล้ว ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้ขึ้นเครื่องหมาย SP และ NP สำหรับหุ้นนกแอร์ NOK กรณีผู้สอบบัญชีไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินไตรมาสที่ 1

โดยเครื่องหมาย SP แสดงการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว และเครื่องหมาย NP แสดงว่าบริษัทจดทะเบียนมีข้อมูลที่ต้องรายงานและตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท

นกแอร์ สายการบิน ขาดทุน
นกแอร์ สายการบิน ขาดทุน

“นกแอร์” ชิงยื่นฟื้นฟูกิจการ ก่อนประกาศงบ

ทั้งนี้ นกแอร์ได้ขอเลื่อนการประกาศงบไตรมาส 1 ปี 2563 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาเป็นวันนี้ โดยก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) นกแอร์ วาระพิเศษครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ได้มีมติอนุมัติให้นกแอร์ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการฯ ต่อศาลล้มละลายกลางภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการฯ ดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วในวันเดียวกัน เป็นคดีดำ ฟฟ 21/2563 และนัดไต่สวนคำร้องฯ ในวันที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น. ส่งผลให้สายการบินนกแอร์อยู่ในสภาวะ พักการชําระหนี้ (Automatic Stay) โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 นกแอร์มีหนี้สินต่อเจ้าหนี้หลายรายรวมกันเป็นจำนวน 26,522,203,418 บาท

นอกจากนี้ บริษัทได้เสนอให้บริษัท แกรนท์ ธอนตัน สเปเชียลิสท์ แอ็ดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับ นายปริญญา ไววัฒนา, นายไต้ ชอง อี, นายเกษมสันต์ วีระกุล, นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร และนายชวลิต อัตถศาสตร์ กรรมการของบริษัทเป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0